ฟุตบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟุตบอล
Football iu 1996.jpg
ผู้เล่นฝ่ายรุก (หมายเลข 10) พยายามจะเตะลูกฟุตบอลให้ผ่านผู้รักษาประตู และ เข้าไประหว่างเสาประตูเพื่อทำคะแนน
สมาพันธ์สูงสุด ฟีฟ่า
ชื่อเล่น Football, soccer, futbol, footy/footie, "the beautiful game"
เล่นครั้งแรก กลางศตวรรษที่ 19 ในประเทศังกฤษ
ลักษณะเฉพาะ
สัญญา ใช่
ผู้เล่นในทีม 11 คน ต่อฝั่ง
ผสม มีการแข่งขันแยกชาย-หญิง
หมวดหมู่ กีฬาที่เล่นเป็นทีม, กีฬาที่ใช้ลูกบอล
อุปกรณ์ ลูกฟุตบอล
สถานที่ สนามฟุตบอล
กีฬาโอลิมปิก 1900

ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกฟุตบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก[1][2][3]

โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอบยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่ประตูได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ

โดยกฎกติการการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2406 ได้กำเนิดLaws of the Gameเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี[4]

เนื้อหา

[แก้] กติกาการเล่นฟุตบอล

ในฟุตบอลมีกติกาสากลทั้งหมด 17 ข้อหลักที่มีการใช้ในฟุตบอลทั่วโลก โดยกติกาอาจมีการดัดแปลงบ้างสำหรับฟุตบอลเด็ก และฟุตบอลหญิง

[แก้] ผู้เล่น อุปกรณ์ และกรรมการ

ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คนที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมี ผู้รักษาประตูหนึ่งคน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้

อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 – 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่า อัญมณีหรือนาฬิกา และผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน [5] จากฟีฟ่า

ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยนตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกในนัดนั้น

กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน

[แก้] สนามฟุตบอล

สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน

สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวระหว่าง 100-110 เมตร และความกว้างระหว่าง64-75. เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล

ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษ ซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ

[แก้] ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน

ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ

ไอเอฟเอบีได้ทดลองการกำหนดรูปแบบการทำคะแนนในช่วงต่อเวลาที่เรียกว่า โกลเดนโกล โดยทีมที่ทำประตูได้ก่อนในช่วงต่อเวลาจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน และ ซิลเวอร์โกล โดยทีมที่ทำประตูนำเมื่อจบครึ่งเวลาแรกจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน โดยโกลเดนโกลได้ถูกนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2002 โดยมีการใช้ครั้งแรกในการแข่งขันทีมชาติฝรั่งเศส ชนะ ปารากวัย ในปี 1998 ขณะที่ซิลเวอร์โกลได้มีการใช้ครั้งแรกในฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งปัจจุบันโกลเดนโกล และซิลเวอร์โกลไม่มีการใช้แล้ว

[แก้] การแข่งขันระหว่างประเทศ

[แก้] ทีมชาติ

การแข่งขันฟุตบอลในระดับโลกนั้น มีการแข่งขันสูงสุดคือ ฟุตบอลโลก ที่จัดขึ้นทุก 4 ปี ซึ่งทีมที่ร่วมเล่นจะเป็นทีมชาติจากแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า โดยแต่ละทีมจำเป็นต้องผ่านรอบคัดเลือก ของทางสมาพันธ์ เพื่อมีสิทธิเข้าร่วมเล่น โดยในแต่ละสมาพันธ์จะมีจำกัดจำนวนทีมที่ร่วมเล่นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลงานของแต่ละทีมในอดีต โดยทางฟีฟ่าจะเป็นทางกำหนด และนอกจากฟุตบอลโลกแล้ว ในแต่ละสมาพันธ์จะมีการแข่งขันสูงสุดของแต่ละสมาพันธ์เอง ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปี โดยผู้ชนะจากแต่ละสมาพันธ์จะทำการแข่งขันกันในคอนเฟเดอเรชันส์คัพพร้อมกับทีมที่ชนะเลิศในฟุตบอลโลกครั้งล่าสุด

นอกเหนือจากการแข่งขันที่จัดโดยฟีฟ่า การแข่งขันฟุตบอลทีมชาติที่เป็นที่จับตามองได้แก่การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาระหว่างประเทศ เช่น โอลิมปิก (ทั่วโลก) เอเชียนเกมส์ (ทวีปเอเชีย) หรือ ซีเกมส์ (เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ภูมิภาค เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและกลาง อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย ยุโรป
สมาพันธ์ เอเอฟซี ซีเอเอฟ คอนแคแคฟ คอนเมบอล โอเอฟซี ยูฟ่า
AFC CAF CONCACAF CONMEBOL OFC UEFA
การแข่งขันสูงสุด เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา เนชันส์คัพ ฟุตบอลยูโร
ระดับโลก คอนเฟเดอเรชันส์คัพ

[แก้] ทีมสโมสร

สำหรับทีมสโมสรนั้น ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันในประเทศ มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันในระดับสมาพันธ์ที่มีการจัดขึ้นทุกปี (บางสมาพันธ์จะให้ทีมรองชนะเลิศร่วมด้วย) โดยทีมที่ชนะเลิศในแต่ละสมาพันธ์ จะมาแข่งขันกันในระดับโลก ในการแข่งขัน ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ ซึ่งจัดขึ้นทุกปี

ภูมิภาค เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและกลาง อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย ยุโรป
สมาพันธ์ เอเอฟซี ซีเอเอฟ คอนแคแคฟ คอนเมบอล โอเอฟซี ยูฟ่า
AFC CAF CONCACAF CONMEBOL OFC UEFA
การแข่งขัน
ระดับสมาพันธ์
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก คอนแคแคฟแชมเปียนส์คัพ โคปาลิเบอร์ตาโดเรส โอเชียเนียคลับแชมเปียนชิพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ระดับโลก ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ

[แก้] ฟุตบอลในประเทศไทย

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลในประเทศไทย

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย แต่ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จได้แค่ในระดับอาเชียน และจะเป็นร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในขณะเดียวกันในปัจจุบันมีการจัดลีกฟุตบอลอยู่สองลีกคือ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และโปรลีกบริหารโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย และลีกรองดิวิชัน 1 ของแต่ละส่วน ประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า

ฟุตบอลเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และไทยร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า

[แก้] ทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในระดับโลก

[แก้] การแข่งขันฟุตบอลที่เป็นที่สนใจ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Guttman, Allen. "The Diffusion of Sports and the Problem of Cultural Imperialism". in Eric Dunning, Joseph A. Maguire, Robert E. Pearton. The Sports Process: A Comparative and Developmental Approach. Champaign: Human Kinetics. p. 129. ISBN 0880116242. "the game is complex enough not to be invented independently by many preliterate cultures and yet simple enough to become the world's most popular team sport" 
  2. ^ Dunning, Eric. "The development of soccer as a world game". Sport Matters: Sociological Studies of Sport, Violence and Civilisation. London: Routledge. p. 103. ISBN 0415064139. "During the twentieth century, soccer emerged as the world's most popular team sport" 
  3. ^ "Team Sports". Catastrophic Injuries in High School and College Sports. Champaign: Human Kinetics. p. 57. ISBN 0873226747. "Soccer is the most popular sport in the world and is an industry worth over US$400 billion world wide. 80% of this is generated in Europe, though its popularity is growing in the United States. It has been estimated that there were 22 million soccer players in the world in the early 1980s, and that number is increasing. In the United States soccer is now a major sport at both the high school and college levels" 
  4. ^ 2002 FIFA World Cup TV Coverage. FIFA official website (2006-12-05). สืบค้นจาก the original วันที่ 2006-12-30 สืบค้นวันที่ 2008-01-06 (webarchive)
  5. ^ กติกาข้อ 4 อุปกรณ์

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น