สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
The Royal Thai Army
Television Channel 7
สัญลักษณ์ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
เริ่มออกอากาศ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (อายุ 42 ปี)
(ทดลองออกอากาศ: 27 พฤศจิกายน)
เครือข่าย สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ
เจ้าของ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ
ก่อตั้ง: 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
(อายุ 42 ปี)
บุคลากรหลัก ชายชาญ กรรณสูต ผู้ก่อตั้ง (เสียชีวิต)
กฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการ
สุรางค์ เปรมปรีดิ์ กรรมการผู้จัดการ
คำขวัญ ช่องเจ็ดสี ทีวีเพื่อคุณ
ประเทศ Flag of ไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพ Flag of ไทย ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่ 998/1 ถนนพหลโยธิน (หมอชิตเก่า)
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สถานีพี่น้อง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 103.5 เมกะเฮิร์ตซ์
เว็บไซต์ www.ch7.com
ช่องรายการที่แพร่ภาพ
ภาคพื้นดิน
แอนะล็อก
(วีเอชเอฟ)
ช่อง 7
โทรทัศน์ดาวเทียม
ไทยคม 5 V-3764 SR.5900
ทรูวิชั่นส์ ช่อง 3
ดีทีวี ช่อง 3
โทรทัศน์เคเบิล
ทรูวิชั่นส์ ช่อง 3

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี) เป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [ต้องการอ้างอิง] ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เป็นผู้นำด้านรายการละคร และรายการกีฬา ในประเทศไทย มีคำขวัญว่า “ช่องเจ็ดสี ทีวีเพื่อคุณ”

ช่องนี้เป็นช่องแรกในประเทศไทยที่ออกอากาศเป็นระบบสี ออกอากาศสีตั้งแต่ พ.ศ. 2510 โดยที่ช่อง 3 และ 5 เริ่มออกอากาศสีตั้งแต่ 2515

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่จะร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์สีตามมติและนโยบายของคณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ในสมัยที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียรดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ CCIR 625 เส้น ในระบบ PAL เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ด้วยการ ถ่ายทอดสด การประกวดนางสาวไทย ที่จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จากพระราชวังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อว่า “สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7”

จากนั้น จึงได้เปิดสถานีออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2511 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้ทำสัญญา มอบ เครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ ให้แก่กองทัพบก พร้อมทั้ง ทำสัญญาเช่า เพื่อดำเนินการบริหาร สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ได้ใช้ห้องส่งร่วมกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ชั่วคราวก่อน ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็นำไปติดตั้งในรถเมล์ จำนวน 3 คัน โดยรื้อที่นั่งออกทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงได้ย้ายเข้าไปยัง อาคารที่ทำการถาวร บริเวณด้านหลัง สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) แห่งเก่า (ปัจจุบันคืออาคารศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถของสถานีสวนจตุจักร) และด้านข้างอาคารสำนักงานใหญ่ของบีทีเอส ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2521 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมปาลาปา ของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณ จากกรุงเทพมหานคร ไปสู่ สถานีเครือข่ายของทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้เช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย

ในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้ริเริ่ม การใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียม ใช้ย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และ รถถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว ถ่ายทอดสด งานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และ เหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

[แก้] รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

[แก้] ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง

ปัจจุบัน รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า ข่าวเด็ดเจ็ดสี นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ รายการเด็ดข่าวดึก รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชิวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวช่วยชาวบ้าน สกู๊ปชีวิต ด้วยลำแข้ง รายงานของนายคำรณ หว่างหวังศรี ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม

ตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ เก็บรักษาและรวบรวมแฟ้มข่าวในประเทศ และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บที่รัดกุม จนมีการก่อตั้ง "ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์" ของสถานีฯ ขึ้นเพื่อให้บริการแฟ้มข่าว และแฟ้มภาพข่าวดังกล่าว แก่สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวต่างประเทศด้วย

[แก้] ละครโทรทัศน์

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละคร เพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพร์มไทม์ 20.25 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.45 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.15 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.15 น. และเวลา 13.00 น.

[แก้] สถานีถ่ายทอดสัญญาณส่วนภูมิภาค

เมื่อปี พ.ศ. 2516 สถานีฯ ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณในส่วนภูมิภาค จนถึงปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

[แก้] นักแสดงในสังกัด

[แก้] ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553)

[แก้] ในอดีต

[แก้] พิธีกรสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น