โทรทัศน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์ [1]

เนื้อหา

[แก้] ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำ จาก วังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หรือช่อง 7 สี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของไทยนั้น ก็คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั้งชื่อ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ เอ็นบีที เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับสถานีโทรทัศน์สาธารณะของไทยนั้น ก็คือ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

[แก้] การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย

[แก้] คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

  • VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
  • UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

[แก้] ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

[แก้] คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

[แก้] ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

[แก้] ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

[แก้] ประเภทอื่น

[แก้] ประเภทของโทรทัศน์

ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ชื่อสามัญ
Low Definition Television 480 × 320 3 : 2 LDTV (320p) โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) โทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐาน (ใช้กันในบางประเทศ)
Enhanced Definition Television 640 × 480 4 : 3 EDTV (480p) โทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐาน (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) โทรทัศน์ความละเอียดสูง (ใช้กันในบางประเทศ)
Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก (รูปแบบโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
Super Hi-Vision Television 7680 × 4320 16 : 9 SHVTV (4320p) โทรทัศน์ความละเอียดสูงสุด (รูปแบบโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
  • Enhanced Definition Television กับ Standard Definition Television เป็นโทรทัศน์ที่มีความละเอียดเท่ากันแต่ Enhanced Definition Television จะมีจำนวนเส้นในความคมชัดมากกว่าเล็กน้อย
  • ปัจจุบ้นมีการแพร่ภาพและใช้อยู่ 2 ประเภทคือ Standard Definition Television และ High Definition Television

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ หนังสือครั้งแรกของโลก เล่ม 1
Crystal kppp.png โทรทัศน์ เป็นบทความเกี่ยวกับ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โทรทัศน์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น