ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
Souththailandmap.GIF
แผนที่แสดงจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของ สงขลา
วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
สถานที่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาสของประเทศไทย
ผลลัพธ์ ยังคงดำเนินอยู่
ผู้ร่วมสงคราม
Flag of Thailand.svg ไทย Flag of Jihad.svg กลุ่มมูจาฮีดินปัตตานี (บีเอ็นพี)

Flag of Pattani.svg องค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี (PULO)
Flag of Jihad.svg กลุ่มมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี
Flag of Jihad.svg ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี
Flag of Jihad.svg ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ
Flag of Jihad.svg ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี
Flag of Jihad.svg ญะมาอะห์ อิสลามียะห์
Flag of Jihad.svg Runda Kumpulan Kecil (RKK)

ผู้บัญชาการ
Flag of Thailand.svg อนุพงษ์ เผ่าจินดา
Flag of Thailand.svg พิเชษฐ์ วิสัยจร
Flag of Thailand.svg อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
Flag of Jihad.svg Flag of Pattani.svg Wan Kadir Che Wan
ความสูญเสีย
ทหารเสียชีวิต 155 นาย[1][2] เสียชีวิต 1,600 คน
ถูกจับเป็นเชลย 1,500 คน
ประชาชนเสียชีวิตกว่า 1,200 คน
ได้รับบาดเจ็บ 2,729 คน

สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้าย และจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการแพร่ภาพเป็นข่าวไปทั่วโลก และมีการติดตามเหตุการณ์จากนานาชาติอย่างใกล้ชิด แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวก็เริ่มเบาบางลง แต่ยังคงต่อเนื่อง เพราะรัฐให้ความสนใจในเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในกรุงเทพมหานคร ระหว่างมีการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า

เนื้อหา

[แก้] เบื้องหลัง

[แก้] เหตุการณ์ทั้งหมด

[แก้] พ.ศ. 2545

[แก้] พ.ศ. 2547

  • 4 มกราคม - เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง ใน จ.นราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส อันมีปืนไรเฟิล 400 กระบอก ปืนพก 20 กระบอก ปืนกล 2 กระบอก การจู่โจมครั้งนี้มีทหารตาย 4 นาย และทำให้รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่พอใจเป็นอย่างมาก กล่าวตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง และถึงกับพูดว่า "ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"[3]
  • เหตุระเบิดกลางตลาดจังหวัดปัตตานี โดยมีระเบิดทิ้งไว้ที่จักรยานยนต์
  • พ.ต.ท. ทักษิณ ยืนยันจะแก้ปัญหาภาคใต้แบบถอนรากถอนโคน
  • 12 มีนาคม - สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
  • 28 เมษายน - เกิดกรณีกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด คนร้ายเสียชีวิต 107 ศพ บาดเจ็บ 6 คนถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย
  • 25 ตุลาคม - เกิดกรณีตากใบ เจ้าหน้าที่สลายผู้ชุมนุมมีผู้เสียชีวิต 84 ศพ แบ่งเป็นในที่เกิดเหตุ 6 ศพ ระหว่างขนย้าย 78 คน
  • 5 ธันวาคม - โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากประชาชนไทยทั่วประเทศ
  • โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่เก็บนกกระดาษ

[แก้] พ.ศ. 2548

  • 8 มกราคม - ระเบิดสถานีรถไฟจังหวัดยะลา
  • 23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบ
  • 17 มีนาคม - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส รับฟังปัญหาภาคใต้ ก่อนสรุปข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
  • 28 มีนาคม - นายกฯ พร้อมเผยผลสอบสวน กรณีกรือเซะและตากใบ ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์เสนอ
  • 17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน
  • 3 เมษายน เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา
  • 24 มิถุนายน กอบกุล รัญเสวะ ผอ.ร.ร.บ้านตือกอ อำเภอจะแนะ นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต
  • 14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง
  • 15 กรกฎาคม - จังหวัดยะลา เกิดเหตุระเบิด มีผู้บาดเจ็บ 4 คน และจังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ยิงกัน ครูเสียชีวิต 2 คน
  • 16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่าง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[4]
  • 18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[5]
  • 19 กรกฎาคม - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสื่อหลายแขนงออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[6]
  • 21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.นราธิวาส, จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา[7][8]
  • สิงหาคม มีคำขู่ฆ่าผู้เปิดร้านและทำงานในวันศุกร์
  • 21 กันยายน- ทหารนาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังจากมีการจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาใน อ.ระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย
  • 26 ตุลาคม คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน
  • 2 พฤศจิกายน คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด

[แก้] พ.ศ. 2549

  • 1 สิงหาคม เวลาประมาณ 20.20 น. คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[9]
  • 31 สิงหาคม เวลา 11.20 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่ว จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[10]
  • 4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[11]
  • 16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 1,000 คน ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิดมากกว่า 10 แห่ง ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนทำให้เกิดความโกลาหล[12]
  • 21 กันยายน คนร้ายใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่ชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บ 1 รายและเสียชีวิต 1 ราย[13]
  • 23 กันยายน ตำรวจ 4 นาย ได้รับบาดจากระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ที่จุดจอดรถ[14]
  • 25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่ จ.ยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย[15]
  • 28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ[16]
  • 27 ตุลาคม คนร้ายยิงพนักงานเก็บค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา อาการสาหัส[17]
  • 28 ตุลาคม คนร้ายลงมือก่อเหตุยิง ชาวบ้านขณะกำลังออกไปกรีดยาง เสียชีวิต 1 ราย ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี[18]
  • 2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[19]
  • 3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส ในเวลาไล่เลี่ยกัน คนร้ายก่อเหตุยิงลูกจ้าง 3 คนของ กอ.สสส.จชต ที่บริเวณริมถนนสาย 410 ยะลา–เบตง หมู่ที่ 5 บ้านบันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส[20]
  • 3 พฤศจิกายน คนร้ายประมาณ 5 คน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ถล่มยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนคีรีบูรณ์วัฒนา ม.5 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[21]
  • 4 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้ายิง รองนายกฯ อบต.บาโงสะโต เสียชีวิต[22]
  • 4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนอีก 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา คือ โรงเรียนบ้านเตาปูน ม.3 ต.บันนังสตา โรงเรียนบ้านบางลาง ม.3 ต.บาเจาะ และโรงเรียนบ้านสาคู ม.4 ต.บาเจาะ[23]
  • 5 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้าน อ.บันนังสตา เสียชีวิต 1 ราย[24]
  • 5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และได้ปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[25]
  • 5 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม หลังการเจรจาเสร็จสิ้นในช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดเสียชีวิตทันที 2 นาย ระหว่างทางกลับจากหมู่บ้าน บริเวณถนนยะลา-เบตง ต.บันนังสาเรง อ.เมือง[26]
  • 7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี บ้านบาลอบาตะ หมู่ที่ 13 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา[27]
  • 9 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ก่อเหตุยิงผู้รับเหมาก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนรัก หมู่ 2 บ้านดอนรัก ต.ดอนรัก จ.ปัตตานี เสียชีวิตคาที่[28]
  • 9 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ เลขที่ 83/1 ม.7 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน[29]
  • 9 พฤศจิกายน โชว์รูมรถยนต์ถูกลอบวางระเบิดพร้อมกัน 8 แห่ง ที่ อ.เมืองยะลา[30]
  • 10 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถตามประกบยิงชาวบ้านขณะกำลังขับรถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงบนถนนหน้าโรงเรียนบ้านกระโด ม.1 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[31]
  • 10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา[32]
  • 11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกสะตอ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต[33]
  • 11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงชาวบ้านปัตตานีหน้ามัสยิดอูแตกอแล ม.3 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต[34]
  • 11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย[35]
  • 12 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คนบุกเข้าบ้านพักพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง จ.ยะลา แล้วชักปืนพกสั้นประกบยิงจนเสียชีวิต[36]
  • 13 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขณะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นปัญหาไปถึงชาวไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่ จนเกรงกันว่าปัญหาจะบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม พร้อมยินดีกราบเท้าขอโทษ หากทำให้เหตุการณ์ยุติ[37]
  • 13 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่พ่อ-แม่-ลูกชาวยะลาได้รับบาดเจ็บ บริเวณบนถนนสาย 410 ยะลา-เบตง หน้าสถานีอนามัย บ้านแหร ม.1 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา[38]
  • 13 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงอุซตาชโรงเรียนปอเนาะใน ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตคาที่[39]
  • 17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ใกล้ตลาดบางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[40]
  • 17 พฤศจิกายน คนร้ายใช้ จยย.ประกบยิงพ่อค้าขายไอศกรีมวอลล์วัย 52 ปีระหว่างทางเข้าหมู่บ้านที่ยะลา เสียชีวิตคาที่[41]
  • 17 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 6 คน สวมชุดดาวะห์ เข้าปล้นอาวุธปืนลูกซองจำนวน 1 กระบอก ของชุด ชรบ. ในบ้านเลขที่ 118 หมู่ 5 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[42]
  • 18 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายนำ ศรีพลอย อายุ 73 ปีที่ออกไปเลี้ยงวัวกลางทุ่งใกล้บ้าน เสียชีวิตแล้วเผาศพจนไหม้เกรียมทิ้งไว้ก่อนหลบหนี[43]
  • 18 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงตำรวจ ตชด. กก.ที่ 44 ค่ายพยาลิไท อ.เมืองยะลา ระหว่างเดินทางกลับบ้านเพียงลำพัง อาการสาหัส[44]
  • 18 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ไม่มีชื่อ หมู่ที่ 1 ต.ธารโต จ.ยะลา[45]
  • 19 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงใส่ชาวบ้านจำนวน 4 นัด ก่อนที่จะใช้ของมีคมฟันเข้าบริเวณลำคอ ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที[46]
  • 20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[47]
  • 21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[48]
  • 22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก[49]
  • 23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ[50]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส[51]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี[52]
  • 23 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา[53]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงลูกจ้างชั่วคราวชลประทานเขื่อน จ.ปัตตานี เสียชีวิต[54]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าดักซุ่มยิงใส่ชาวบ้าน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เสียชีวิต[55]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงครูโรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต[56]
  • 24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[57]
  • 24 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน[58]
  • 24 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดร้านขายของชำกลางตลาดอำเภอยะหา จ.ยะลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน[59]
  • 24 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มาที่บริเวณปากทางเข้า มสธ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส[60]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Roadside bomb kills 7 Thai soldiers - Asia-Pacific - MSNBC.com
  2. ^ The Long War Journal
  3. ^ รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, กรุงเทพฯ : โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549, หน้า 42-43
  4. ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/DATA/PDF/2548/00166932.PDF
  5. ^ ผู้จัดการออนไลน์, http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000095596
  6. ^ ผู้จัดการออนไลน์, http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000096400
  7. ^ ผู้จัดการออนไลน์, http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000097593
  8. ^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/DATA/PDF/2548/00167639.PDF
  9. ^ กรุงเทพธุรกิจ, คนร้ายป่วนในพื้นที่ 3 จังหวัดพร้อมกันหลายจุด
  10. ^ กรุงเทพธุรกิจ, ลอบบึ้มแบงก์ 22 จุดทั่วยะลา ตาย 1 สาหัส 4 เจ็บกว่า 20 คน
  11. ^ The Nation, Suspect was 'paid to put bomb in Yala bank'
  12. ^ กรุงเทพธุรกิจ, บึ้ม 4 จุดกลางหาดใหญ่ ตาย 5 เจ็บครึ่งร้อย
  13. ^ ไทยรัฐ, โจรฉวยโอกาสช่วงรัฐประหาร ยิงชาวบ้านยะลาตาย1เจ็บ1
  14. ^ The Nation, 4 policemen injured in bus stop explosion in Pattani
  15. ^ The Nation, Two die as police, military outposts attacked in Yala
  16. ^ The Nation, Five soldiers injured in Narathiwat bomb attack
  17. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงคนเก็บค่าไฟ สาหัสอีกรายที่ยะลา
  18. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงชาวสวนยางปัตตานีดับอีก 1 – ส่งศพทหารหาญกลับยโสธรวันนี้
  19. ^ ผู้จัดการออนไลน์, “สุรยุทธ์” ซื้อใจมุสลิมใต้เอ่ยขอโทษต่อเหตุรุนแรง “กรือเซะ-ตากใบ”
  20. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงรถนักเรียนโชเฟอร์รับเละ ก่อนซัลโว 3 สาวลูกจ้าง กอ.สสส.จชต.สาหัส
  21. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน! โจรใต้ยิงถล่ม ชรบ.โรงเรียนที่ยะลา-จนท.ระดม ตร.-ตชด.-ทหารออกไล่ล่าแล้ว
  22. ^ ผู้จัดการออนไลน์, กราดอาก้าถล่ม “รองนายกฯอบต.” ดับคาที่ “นัจมุดดีน” รุดเยี่ยมศพทันที
  23. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ป่วนใต้! ยิงชาวบ้านยะลาเจ็บ 3 -เผาร.ร.วอด 4 แห่ง
  24. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน! ทหารปะทะเดือดโจรใต้ – ยิงชาวบ้านดับอีก 1 ราย
  25. ^ ผู้จัดการออนไลน์, เหตุชาวบ้านประท้วงไล่ ตชด.บันนังสตา ยังไม่มีข้อยุติ – จนท.ระดับสูงเร่งเจรจา
  26. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ยอมถอนกำลัง ตชด.3201 ออกจากบ้านบาเจาะ
  27. ^ ผู้จัดการออนไลน์, คนร้ายลอบเผา ร.ร.ตะบิงติงงี เบื้องต้นคาดเสียหาย 5 แสน
  28. ^ ผู้จัดการออนไลน์, 2 โจรใต้ประกบยิงผู้รับเหมาก่อสร้างดับค่าที่
  29. ^ ผู้จัดการออนไลน์, คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ แคล้วคลาดระเบิดไม่ทำงาน
  30. ^ ผู้จัดการออนไลน์, เผยปมบึ้มโชว์รูมรถยนต์ยะลาตอบโต้ จนท.รัฐ
  31. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ยิงชาวบ้านปัตตานีกระสุนเจาะขมับอาการสาหัส
  32. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน!! โจรใต้ปาระเบิดและยิงถล่ม ฉก.11 ที่ยะลาปะทะกว่า 10 นาทียังไม่ทราบความสูยเสีย
  33. ^ ผู้จัดการออนไลน์, จ่อยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรือเสาะดับอีก 1
  34. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ยิงชาวบ้านปัตตานีดับหน้ามัสยิดอีก 1 ศพ
  35. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้บุกถล่ม ตชด.33 ยะลา จนท.ดับ 2 นาย
  36. ^ ผู้จัดการออนไลน์, จ่อยิงพ่อค้าไม้ยางพารายะลาดับต่อหน้าลูกเมีย
  37. ^ ผู้จัดการออนไลน์, “นายกฯ” ยินดีกราบเท้า ขอเพียงชาติสงบ
  38. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิง 3 พ่อ-แม่-ลูกวัย 7 ขวบ ปางตายที่ยะลา
  39. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงอุสตาซปอเนาะรามัน เสียชีวิตคาที่
  40. ^ กปส., มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเป็น 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดร้านน้ำชา ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
  41. ^ ผู้จัดการออนไลน์, พ่อค้าไอศกรีมวอลล์ตกเป็นเหยื่อยิงรายวันที่ยะลาดับคาที่
  42. ^ ผู้จัดการออนไลน์, 6 โจรใต้ สวมชุดดาวะห์ บุกปล้นอาวุธปืน ชรบ. อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
  43. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ใจโฉดยิงพ่อเฒ่าเลี้ยงวัววัย 73 ดับ จุดไฟเผาศพเกรียม
  44. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิง ตชด.ยะลา บาดเจ็บสาหัส พร้อมยิงโต้คนร้ายเจ็บ1
  45. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยังกวนระเบิดรถยนต์ซ้ำที่ยะลาอีกรอบ
  46. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงแล้วฟันคอไทยพุทธ จ.ยะลา เสียชีวิต 1 ราย
  47. ^ ผู้จัดการออนไลน์, วางบึ้ม-ยิงถล่มที่ราชการดับ2 "สุรยุทธ์"ชี้ตอบโต้แนวทางสันติ
  48. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ชาวยะหากว่า 200 ชุมนุมจี้ถอนกำลังทหารพราน - ตชด.ออกนอกพื้นที่
  49. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้เหิมหนัก ไล่ครูออกจากโรงเรียนลงมือเผาอาคารวอดทั้งหลังที่บันนังสตา
  50. ^ รัฐบาลไทย, รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
  51. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ป่วนวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ
  52. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้เผาโรงเรียนพื้นที่ปัตตานีเสียหายร่วม 2 ล้านบาท
  53. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน!! โจรใต้ลักพาตัว 3 ตชด.ที่ยะลา “ทัพภาค 4” ส่ง ฮ.ร่วมค้นหาแล้ว
  54. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรป่วนใต้ ลอบยิงลูกจ้างชลประทานดับคาที่ 1 ศพ
  55. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ใช้อาก้ากราดยิงชาวบ้านเสียชีวิตกลางสวนยาง ที่นราธิวาส
  56. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงครูปัตตานีเสียชีวิตอีก 1 ศพ
  57. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรชั่ว! เผา ร.ร.นราฯ-กฟภ.บันนังสตา เสียหายทั้งหลัง
  58. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ประกบยิง ผอ.โรงเรียนปัตตานีดับ
  59. ^ ผู้จัดการออนไลน์, เหตุระเบิดที่ยะหาระบุคนร้ายหวังสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ
  60. ^ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ป่วนฆ่ารายวันยิงพนักงานดับเพลิงเทศบาลยะลาเจ็บสาหัส

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น