วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโยบายและแนวปฏิบัติ
ในวิกิพีเดีย
นโยบายสากล
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
หลักการมาตรฐาน
มุมมองที่เป็นกลาง
การพิสูจน์ยืนยันได้
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การลบบทความ
การทำงานในวิกิพีเดีย
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
ความเป็นเจ้าของบทความ
หุ่นเชิด
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ข้อมูลทั้งหมดในวิกิพีเดียอนุญาตให้เผยแพร่และแจกจ่ายโดยเสรี ซึ่งผู้นำไปใช้ไม่จำเป็นต้องติดต่อจากทางวิกิพีเดียแต่อย่างใด โดยผู้นำไปใช้สามารถนำไปใช้บนเว็บไซต์ จัดใช้ในสื่อ หรือจัดทำเป็นสิ่งพิมพ์ได้โดยเสรี ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดของ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC-BY-SA 3.0) (คำแปลภาษาไทย ข้อสรุป) และ สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL 1.3) กล่าวคือ ผู้นำไปใช้ต้องกำหนดข้อความของตนให้เป็นลักษณะสัญญาอนุญาตเช่นเดียวกันและอ้างอิงแหล่งที่มา

สัญญาอนุญาตที่วิกิพีเดียใช้นั้น อนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้อย่างเสรี ในลักษณะเดียวกันกับที่ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้ใช้งานได้ หลักการนี้เรียกว่าลิขสิทธิ์เสรี (copyleft) ซึ่งหมายถึง เนื้อหาของวิกิพีเดียสามารถทำซ้ำ ดัดแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด หรือแจกจ่ายตราบเท่าที่เนื้อหานั้นยังคงให้ความเสรีในลักษณะเดิมแก่ผู้อื่น และยังคงรับรู้ถึงความเป็นผู้ประพันธ์ของบทความที่นำไปใช้ (การโยงกลับมาที่บทความของวิกิพีเดียโดยตรง ถือว่าเพียงพอสำหรับการให้เครดิตแก่ผู้ประพันธ์) บทความของวิกิพีเดียจะยังคงความเสรีตลอดไป และไม่ว่าใครก็ตามจะสามารถนำบทความไปใช้ได้ภายใต้ข้อกำหนดบางประการ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้ส่วนใหญ่มีขึ้นเพื่อรักษาเสรีภาพเช่นนี้ไว้

อย่างไรก็ตามรูปภาพที่ใช้ในวิกิพีเดียอาจไม่เป็นไปตามสัญญาเสรี กรุณาตรวจสอบแต่ละภาพก่อนนำไปใช้

เนื้อหา

[แก้] คำถามที่ถามบ่อย

[แก้] เราเพิ่มเนื้อหาที่มาจากที่อื่นลงในวิกิพีเดียได้หรือไม่

โดยปกติแล้ว ไม่ได้ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ที่อยู่ตามเว็บไซต์ หรือหนังสือต่างๆมักเป็นเนื้อหาที่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งแม้ว่าไม่มีประกาศแจ้งลิขสิทธิ์ ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหานั้นเป็นสาธารณสมบัติ โดยมีบางกรณีที่สามารถนำมาใช้ได้ หากผู้เขียนอนุญาตให้ใช้เนื้อหาภายใต้สัญญาอนุญาตที่เหมาะสม โดยหากยังต้องการเขียนเนื้อหาที่สงวนลิขสิทธิ์นั้น ให้ศึกษาวิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

[แก้] ต้องทำอะไรบ้างหากนำเนื้อหาในวิกิพีเดียไปใช้

เนื้อหาในวิกิพีเดีย ยกเว้นข้อความที่อ้างอิงมานั้น อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL ซึ่งนำไปใช้ได้หากเนื้องานของคุณนั้นอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งหมายความว่าคุณควรระบุถึงผู้เขียน รวมถึงอนุญาตให้ผู้อื่นนำเนื้อหาของคุณไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากงานของคุณนั้นไม่สามารถอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตดังกล่าว การอ้างอิงจากบทความวิกิพีเดียนั้นสามารถทำได้ ภายใต้การใช้งานโดยชอบธรรม อย่างไรก็ตามภาพในวิกิพีเดียนั้น มีลิขสิทธิ์ที่แตกต่างจากเนื้อหาในวิกิพีเดีย โดยคุณสามารถคลิกที่ภาพ และดูคำอธิบายลิขสิทธิ์ของแต่ละภาพได้

[แก้] การคัดลอกข้อความไปลงในบล็อกส่วนตัว เว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์อื่น

วิกิพีเดียเปิดเสรีให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำเรื่องขอ อย่างไรก็ตามตามสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL แล้วหากคุณนำไปใช้ในบล็อกส่วนตัวหรือเว็บบอร์ด คุณต้องเขียนข้อความและทำลิงก์ดังต่อไปนี้

  1. บอกที่มา และทำลิงก์กลับมาที่วิกิพีเดียในหน้าที่มีการนำไปใช้ โดยลิงก์กลับมาที่ตัวบทความที่คุณคัดลอกไป ไม่ใช่ลิงก์กลับมาเฉพาะเว็บ
  2. เขียนอธิบายเพิ่มเติมในลักษณะว่า ข้อมูลนี้อนุญาตให้ผู้อื่นนำไปคัดลอกต่อโดยเสรีเช่นกันตามสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL

[แก้] สังเกตอย่างไรว่าบทความใดอาจละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ที่พบบ่อย มักจะมีจุดที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

  • ผู้ให้ข้อมูลไม่ได้สมัครสมาชิก ซึ่งแสดงเป็นหมายเลขไอพี หรือผู้ใช้ที่เพิ่งสมัครใหม่ไม่นาน ผู้ใช้กลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นผู้เยี่ยมชมขาจรซึ่งอาจยังไม่ทราบถึงนโยบายวิกิพีเดีย
  • การจัดรูปแบบภายในไม่เป็นแบบวิกิ บ่อยครั้งที่ผู้ให้ข้อมูลใช้วิธี copy-paste ซึ่งจะทำให้เนื้อหาไม่อยู่ในรูปแบบที่ควรจะเป็น
  • การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอกโดยเชื่อว่าเป็นการให้เครดิต กรณีนี้สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าข้อความเหมือนกันทุกประการหรือไม่ ถ้าแหล่งข้อมูลนั้นไม่ได้เป็น CC-BY-SA และ GFDL หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็อาจเป็นการละเมิดได้
  • พบเนื้อหาที่เหมือนกันบนเสิร์ชเอนจิน แสดงว่ามีเว็บไซต์อื่นที่มีข้อมูลเดียวกันนี้จึงอาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กรุณาพิจารณาด้วยว่าเว็บไซต์นั้นไม่ได้คัดลอกมาจากวิกิพีเดียอีกต่อหนึ่ง (ดูจากวันที่สร้างถ้ามี)

หากไม่แน่ใจว่าบทความนั้นละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ให้ติดป้าย {{ตรวจลิขสิทธิ์}} ไว้ที่ส่วนหัวของบทความ เพื่อแจ้งให้คนอื่นๆ ทราบและช่วยกันตรวจสอบ บทความที่แจ้งจะมีรายชื่อรวมกันอยู่ที่ หมวดหมู่:บทความที่รอการตรวจลิขสิทธิ์

[แก้] ควรทำอย่างไรหากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดีย

เราเคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยพยายามย้ายเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากวิกิพีเดีย แต่อาจไม่พบเจอทุกครั้ง คุณสามารถช่วยเราได้ และแจ้งได้ที่โต๊ะเลขา พร้อมระบุแหล่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือแจ้งด้วยการใช้ แม่แบบ:ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่หน้าบทความ บทความที่ถูกแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกรวบรวมไว้ที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์

สำหรับข้อความที่แทรกหรือเพิ่มใหม่เข้าไปในบทความที่มีอยู่แล้ว ถ้าหากละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถลบส่วนนั้นออกได้ทันที หรือย้ายไปไว้ที่หน้าพูดคุยแล้วอธิบายว่าละเมิดจากแหล่งใด เนื่องจากเนื้อหาที่มีอยู่เดิมนั้นไม่ได้ละเมิด

[แก้] ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานเขียนในวิกิพีเดีย

ทุกคนที่นำงานเขียนมาลงไว้ในวิกิพีเดีย เป็นการตกลงยินยอมที่จะเผยแพร่ผลงานนั้น ภายใต้สัญญาอนุญาต (การให้ใช้สิทธิในผลงานอันมีลิขสิทธิ์) แบบ CC-BY-SA และ GFDL ซึ่งหมายความว่าใครสามารถนำไปใช้ก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า คนที่เอาไปใช้ต้องให้สิทธิภายใต้ CC-BY-SA และ GFDL ต่อคนอื่นต่อไป ซึ่งทำให้คนใช้ต่อไป ต้องแบ่งปันให้คนอื่นต่อๆ ไป ซึ่งสัญญาอนุญาตรูปแบบนี้จะทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างสมบูรณ์ โดยอาจกล่าวได้ว่าทุกคนจะได้รับสิทธิภายใต้ CC-BY-SA และ GFDL โดยเท่าเทียมกัน.

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ต่างๆ ของผลงานในวิกิพีเดีย (เฉพาะในส่วนที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง) ยังคงตกเป็นของผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์. การประกาศให้ใช้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL นี้, จะไม่มีผลทำให้ ผู้สร้างสรรค์สูญเสียความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานของตนเองแต่อย่างใด, โดย เจ้าของผลงาน จะยังคงมีสิทธิที่จะนำงานในส่วนของตนไปเผยแพร่ ภายใต้สัญญาอนุญาต แบบอื่นๆ ในรูปแบบใดก็ได้ เท่าที่ กฎหมายรับรอง การประกาศสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL นี้, เป็นเพียงการที่เจ้าของผลงาน อนุญาต ให้ผู้อื่น ใช้สอย/ดัดแปลงแก้ไข/เผยแพร่ ผลงานนี้ได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CC-BY-SA และ GFDL เท่านั้น (ทั้งนี้ เจ้าของผลงาน ไม่สามารถที่จะเรียกคืนหรือ ยกเลิก สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL ในผลงานที่ประกาศออกไปแล้วได้)

[แก้] ลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดียไทย

ในวิกิพีเดียไทยนั้น เนื้อหาทั้งหมดที่เป็นตัวอักษรในวิกิพีเดียอยู่ในลิขสิทธิ์ GFDL และ CC-BY-SA โดยทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องขออนุญาต โดยมีเงื่อนไขเดียวคือผู้นำไปใช้ต้องทำตามที่เขียนไว้ในลิขสิทธิ์แบบ GFDL และ CC-BY-SA สำหรับภาพ เสียง หรือผลงานอื่นมีลิขสิทธิ์ดังนี้

ลิขสิทธิ์ การอนุญาตจากเจ้าของผลงาน การนำไปใช้
สาธารณสมบัติ (PD) อนุญาตให้ทุกคนใช้ได้ทันที เจ้าของผลงานยกผลงานให้เป็นสาธารณสมบัติของทุกคน

หรือ
ผลงานที่ลิขสิทธิ์เกิน 50 ปี และไม่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งถูกจัดให้เป็นสาธารณสมบัติของทุกคน

ใช้ได้ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
GFDL เจ้าของผลงานมอบงานให้เป็นลิขสิทธิ์ตาม GFDL ผู้นำไปใช้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีหากเผยแพร่ผลงานของตนเป็นแบบ GFDL เช่นกัน หรือหากไม่สามารถใช้อ้างอิงภายใต้การใช้งานโดยชอบธรรม
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC) เจ้าของผลงานมอบงานให้เป็นลิขสิทธิ์ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ผู้นำไปใช้สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยต้องทำตามเงื่อนไขของสัญญาอนุญาตประเภทนั้นๆ เช่น การแสดงที่มา การอ้างถึงเจ้าของเดิม การห้ามปรับปรุงแก้ไข การห้ามใช้เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
ลิขสิทธิ์ (C) เจ้าของผลงานถือลิขสิทธิ์ของผลงานนั้น ผู้นำไปใช้ต้องติดต่อกับทางเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนนำไปใช้

[แก้] ปัญหาบทความละเมิดลิขสิทธิ์

[แก้] ดูเพิ่ม