วิธีใช้:แม่แบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เขียนให้เป็นกลาง
วิธีใช้
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การใส่ลิงก์
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
การแทรกสูตรคณิตศาสตร์
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
ชื่อทะเล
ชื่อประเทศ-เมืองหลวง
ชื่อธาตุ
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ศัพท์บัญญัติ
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
บทความเฉพาะทาง
บทความฝรั่งเศส
บทความพฤกษา
บทความการ์ตูนญี่ปุ่น
บทความการทหาร
บทความเพลง

แม่แบบ หรือ เทมเพลต (template) คือชื่อเรียกของหน้าวิกิพีเดียที่มีการใช้ซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป ดูเพิ่มเติมที่ แม่แบบ

หน้าวิกิพีเดีย:วิธีการสร้างแม่แบบ อธิบายวิธีการสร้างแม่แบบและการใช้ตัวแปร

เนื้อหา

[แก้] วิธีการสร้างแม่แบบ

การสร้างแม่แบบใช้วิธีการสร้างเหมือนกับการสร้างบทความทั่วไป โดยใส่คำว่า "แม่แบบ:" (คำว่าแม่แบบ กับเครื่องหมายโคลอน) ไว้หน้าชื่อแม่แบบ เช่น แม่แบบ:เสียรส หรือ แม่แบบ:โครงความรู้ โดยสามารถใส่ลงในกล่องสร้างด้านล่างนี้


[แก้] รูปแบบของแม่แบบ

รูปแบบของแม่แบบ ไม่มีหลักตายตัวในการสร้าง หรือกำหนดลักษณะของขนาดและสี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างแม่แบบ

  • แม่แบบไม่ควรใหญ่เกินไป เมื่อนำไปใช้ในหน้าบทความ จะทำให้บทความนั้นมีขนาดใหญ่ตาม
  • สีที่ใช้ในแม่แบบ ไม่ควรใช้สีที่ตัดกันมาก เช่น สีเขียวกับสีแดง จะทำให้อ่านยาก

[แก้] ใส่คำว่า "แก้ไข" ที่ท้ายแม่แบบ

การใส่คำว่า แก้ไข หรือ แก้ไข ไว้ที่ท้ายแม่แบบ ให้ใส่ประโยคคำสั่งว่า โดยใส่ชื่อแม่แบบให้เหมาะสม

<div align="right" style="font-size:xx-small">
   [{{SERVER}}{{localurl:Template:___ชื่อแม่แบบ___|action=edit}} แก้ไข]
</div>


[แก้] วิธีการใช้ตัวแปรต่างๆ

เพิ่มความสามารถของแม่แบบด้วยตัวแปร โดยการแสดงผลของแม่แบบแต่ละแม่แบบ จะเปลี่ยนตามค่าตัวแปรที่ใส่ให้กับแม่แบบ

[แก้] ตัวแปรแบบกำหนดค่า

การกำหนดตัวแปรในแม่แบบ ใช้ชื่อตัวแปรภายในเครื่องหมายปีกกา 3 ชั้น ในลักษณะ {{{__ชื่อตัวแปร__}}} เช่นถ้าต้องการกำหนดตัวแปร ชื่อ ชื่อหนังสือ และ ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ {{{ชื่อหนังสือ}}} และ {{{ชื่อผู้แต่ง}}} ในตำแหน่งที่ต้องการให้ตัวแปรนั้นปรากฏออกมา เวลาเรียกใช้ให้แทนค่า ตัวแปร ด้วยข้อความนั้นๆ ตามด้วยเครื่องหมายเท่ากับ = และแบ่งแยกตัวแปรแต่ละตัวด้วย เครื่องหมายขีดตั้ง |


ตัวอย่างเช่น แม่แบบสมมุติ ชื่อ Template:ป้ายผู้แต่ง1 โดยมีข้อความภายในแม่แบบนั้นว่า

{{{ชื่อหนังสือ}}}เล่มนี้ แต่งโดย {{{ชื่อผู้แต่ง}}} สำหรับใช้ในการเรียนการสอน

เมื่อทำการเรียกใช้ ใช้คำสั่งว่า

{{ป้ายผู้แต่ง1|ชื่อหนังสือ=คลินิกหมอบ้าน|ชื่อผู้แต่ง=ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์}}

ข้อความแสดง

คลินิกหมอบ้านเล่มนี้ แต่งโดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอน

หรือ ใช้คำสั่งว่า

{{ป้ายผู้แต่ง1|ชื่อหนังสือ=สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัด|ชื่อผู้แต่ง=ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์}}

ข้อความแสดง

สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัดเล่มนี้ แต่งโดย ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอน

[แก้] ตัวแปรอัตโนมัติ

นอกจากกำหนดตัวแปรให้กับแม่แบบ โปรแกรมมีเดียวิกิ มีตัวแปรที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่เรียกค่าต่างๆ มาใช้ ดังตารางด้านล่าง

รหัส แสดงผล ความหมาย
{{{1}}} {{{1}}} แสดงค่าตัวแปรอับดับ 1 ถ้าไม่ได้กำหนดตัวแปรเฉพาะ
{{{2}}} {{{2}}} แสดงค่าตัวแปรอันดับ 2 ถ้าไม่ได้กำหนดตัวแปรเฉพาะ
{{PAGENAME}} แม่แบบ แสดงชื่อหน้านั้นๆ
{{NAMESPACE}} วิธีใช้ แสดงชื่อเนมสเปส
{{SERVER}} http://th.wikipedia.org แสดงชื่อเซิร์ฟเวอร์
{{SITENAME}} วิกิพีเดีย แสดงชื่อไซท์
{{CURRENTYEAR}} 2010 แสดงปีปัจจุบัน

ดูตัวแปรทั้งหมดที่ วิกิพีเดีย:การแก้ไขหน้า#ตัวแปร วิธีการเรียกใช้ทำเช่นเดียวกับการเรียกใช้ปกติ โดยใส่ชื่อตัวแปรนั้น เช่น {{PAGENAME}} โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด และสำหรับ ตัวแปรตามลำดับเรียกใช้โดย ใส่ตัวแปรนั้นตามหลังชื่อแม่แบบ โดยแบ่งตามเครื่องหมายขีดตั้ง ในรูปแบบ {{__ชื่อแม่แบบ__|__ตัวแปรอันดับ1__|__ตัวแปรอันดับ2__}


ตัวอย่างเช่น แม่แบบสมมุติ ชื่อ Template:ป้ายผู้แต่ง2 โดยมีข้อความภายในแม่แบบนั้นว่า

{{{1}}}เล่มนี้ แต่งโดย {{{2}}} สำหรับใช้ในการเรียนการสอนในปี {{CURRENTYEAR}} 

เมื่อทำการเรียกใช้ ใช้คำสั่งว่า

{{ป้ายผู้แต่ง2|คลินิกหมอบ้าน|ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์}}

ข้อความแสดง

คลินิกหมอบ้านเล่มนี้ แต่งโดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอนในปี 2010

หรือ ใช้คำสั่งว่า

{{ป้ายผู้แต่ง2|สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัด|ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์}}

ข้อความแสดง

สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัดเล่มนี้ แต่งโดย ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอนในปี 2010

ถ้าใช้คำสั่งสลับเป็น หรือ ใช้คำสั่งว่า

{{ป้ายผู้แต่ง2|ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์|สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัด}}

ข้อความจะแสดงสลับเป็น

ร.ศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์เล่มนี้ แต่งโดย สถาปัตยกรรม กัมปนาทแห่งความสงัดสำหรับใช้ในการเรียนการสอนในปี 2010

จะเห็นได้ว่า การเรียกใช้ตัวแปรแบบไม่กำหนดค่า จะสะดวกในการเรียกใช้ แต่ในขณะเดียวกันทำให้เกิดความสับสนในเรื่องลำดับของการเรียกใช้ โดยถ้ามีหลายตัวแปร ควรทำการเรียกใช้ตัวแปรแบบกำหนดค่า