จังหวัดฉะเชิงเทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายอื่นของ ฉะเชิงเทรา ดูได้ที่ ฉะเชิงเทรา (แก้ความกำกวม)

จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตราประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดฉะเชิงเทราด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดฉะเชิงเทราด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
Cquote1.png แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต
พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร
พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย
อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ฉะเชิงเทรา
ชื่ออักษรโรมัน Chachoengsao
ชื่อไทยอื่นๆ แปดริ้ว
ผู้ว่าราชการ นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-24
สีประจำกลุ่มจังหวัด เลือดหมู ███
ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 5,351.0 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 41)
ประชากร 668,983 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 37)
ความหนาแน่น 125.02 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 36)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ถนนเรืองวุฒิ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
โทรศัพท์ (+66) 0 3851 2520
เว็บไซต์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดฉะเชิงเทรา

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกและเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้อยู่ในเขตปริมณฑล จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นมีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดชลบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดจันทบุรี

เนื้อหา

[แก้] ที่มาของคำว่าฉะเชิงเทรา

มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ

  • คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สตรึง และ เตรา ซึ่ง สตรึง แปลว่า คลอง และ เตรา แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า คลองลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
  • คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
  2. อำเภอบางคล้า
  3. อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
  4. อำเภอบางปะกง
  5. อำเภอบ้านโพธิ์
  6. อำเภอพนมสารคาม
  7. อำเภอราชสาส์น
  8. อำเภอสนามชัยเขต
  9. อำเภอแปลงยาว
  10. อำเภอท่าตะเกียบ
  11. อำเภอคลองเขื่อน
 แผนที่

[แก้] การศึกษา

มหาวิทยาลัย

โรงเรียน

[แก้] สัญลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงจากฉะเชิงเทรา

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′N 101°04′E / 13.69°N 101.07°E / 13.69; 101.07