จังหวัดชุมพร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดชุมพร
ตราประจำจังหวัดชุมพร ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดชุมพร
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม
ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี
ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ชุมพร
ชื่ออักษรโรมัน Chumphon
ผู้ว่าราชการ นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-86
ต้นไม้ประจำจังหวัด มะเดื่ออุทุมพร
ดอกไม้ประจำจังหวัด พุทธรักษา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 6,010.849 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 38)
ประชากร 487,744 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 52)
ความหนาแน่น 81.14 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 55)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ถนนไตรรัตน์ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
โทรศัพท์ (+66) 0 7751 1551
เว็บไซต์ จังหวัดชุมพร
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดชุมพร

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด

คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน

แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร

เนื้อหา

[แก้] ภูมิประเทศ

จังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้ (เมื่อลงจากภาคกลาง) มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางตะวันตกติดต่อกับจังหวัดระนอง และส่วนหนึ่งติดกับประเทศสหภาพพม่า

สภาพพื้นที่ทั่วไปไม่มีภูเขาสูง เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภาในอำเภอเมืองชุมพร มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวีในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และแม่น้ำหลังสวนในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ

[แก้] ภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรคล้ายกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ กล่าวคือ มีฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่น นั่นคือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมมรสุมพัดผ่าน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 674 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองชุมพร
  2. อำเภอท่าแซะ
  3. อำเภอปะทิว
  4. อำเภอหลังสวน
  5. อำเภอละแม
  6. อำเภอพะโต๊ะ
  7. อำเภอสวี
  8. อำเภอทุ่งตะโก
 แผนที่

[แก้] อุทยาน

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

โรงเรียน

[แก้] ธนาคาร

ธนาคาร (อำเภอเมือง) จำนวนสาขา
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารเกียรตินาคิน
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารไทยธนาคาร
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารธนชาต
  • ธนาคารนครหลวงไทย
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  • ธนาคารพัฒนวิสาหกิจ
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • 4
  • 2
  • 2
  • 2
  • 1
  • 1
  • 1
  • 2
  • 1
  • 1
  • 2
  • 1
  • 3
  • 1
  • 1
รวม 25

[แก้] ศูนย์การค้า

  • โอเชี่ยน ชอปปิ้งมอลล์
  • ทวีโชค สรรพสินค้า
  • ศิลปฟ้า สรรพสินค้า
  • เทสโก โลตัส หลังสวน
  • เทสโก โลตัส ชุมพร (กำลังก่อสร้าง)
  • แมคโคร
  • คาร์ฟู
  • ศูนย์รวมความบันเทิงครบวงจร (กำลังก่อสร้าง)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 10°31′N 99°11′E / 10.51°N 99.19°E / 10.51; 99.19