จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด
สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ประจวบคีรีขันธ์
ชื่ออักษรโรมัน Prachuap Khiri Khan
ชื่อไทยอื่นๆ ประจวบ
ผู้ว่าราชการ วีระ ศรีวัฒนตระกูล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ส.ส. เฉลิมชัย ศรีอ่อน (ปชป.)
มนตรี ปาน้อยนนท์ (ปชป.)
ประมวล พงศ์ถาวราเดช (ปชป.)
ส.ว. ธันว์ ออสุวรรณ
ISO 3166-2 TH-77
ต้นไม้ประจำจังหวัด เกด
ดอกไม้ประจำจังหวัด เกด
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 6,367.620 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 33)
ประชากร 504,063 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 50)
ความหนาแน่น 79.16 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 57)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถนนสละชีพ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
โทรศัพท์ (+66) 0 3260 3991-5
โทรสาร (+66) 0 3260 3991-5
เว็บไซต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งการปกครองของประเทศไทย การแบ่งทางภูมิศาสตร์จัดเป็นจังหวัดในภาคตะวันตก การแบ่งทางภูมิอากาศจัดเป็นจังหวัดภาคใต้ตอนบน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬ แต่สภาพที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงได้มีการย้ายเมืองไปยังเมืองกุยบุรีที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า แต่ยังเรียกเมืองบางนางรมตามเดิม

จวบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องกับชื่อของเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราดคือ "เมืองประจันตคีรีเขต" จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงถูกยุบรวมเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองเพชรบุรี และต่อมาได้มีการย้ายเมืองประจวบคีรีขันธ์มาตั้งที่ตำบลเกาะหลัก ในช่วงนี้เมืองประจวบคีรีขันธ์และเมืองปราณบุรีขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณ ไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองประจวบคีรีขันธ์ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลักเป็นเมืองปราณบุรี รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี [3]หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

[แก้] ภูมิศาสตร์

มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขตตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 323 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
  2. อำเภอกุยบุรี
  3. อำเภอทับสะแก
  4. อำเภอบางสะพาน
  5. อำเภอบางสะพานน้อย
  6. อำเภอปราณบุรี
  7. อำเภอหัวหิน
  8. อำเภอสามร้อยยอด
 แผนที่

[แก้] อุทยาน

Phraya Nakhon.jpg

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเกด (Manilkara hexandra)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: เกด (Manilkara hexandra)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ


[แก้] การศึกษา

อุดมศึกษา

โรงเรียน

[แก้] แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอ เมือง http://www.citypilaprachuap.bmt19.com/ ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ วัดเขาถ้ำคั่นกระได อ่าวประจวบคีรีขันธ์ เขาช่องกระจกhttp://www.mountrainglass.bmt19.com/ อ่าวมะนาว ธนาคารปู http://www.crab.bmt19.com/ ศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกhttp://www.lomuag.bmt19.com/ อุทยานเขาหินเทิน อุทยานวิทยาศาสตร์หว้ากอ http://www.wakor.bmt19.com/ ราชการที่4 http://www.wakorrama.bmt19.com/ พิพิธพัฑธ์หว้ากอ สวนหินไดโน http://www.iloveprachuap.com/rockdino.bmt19.com สวนหิน http://www.iloveprachuap.com/www.rock.bmt19.com จำหน่ายสินค้าหว้ากอ http://www.shopwakor.bmt19.com/ สะพานปลา http://www.fishpier.bmt19.com/ ถนนประจวบ http://www.roadprachuap.bmt19.com/ เจ้าพ่อล้อมมวก http://www.lomuag.bmt19.com/ ทางไปเจ้าพ่อล้อมมวก http://www.53lomuag.bmt19.com/ หมู่บ้านชาวประมง http://www.fisherman.bmt19.com/ วัดอ่าวน้อย http://www.aownoi.bmt19.com/ วัดเกาะหลัก http://www.kohlak.bmt19.com/ วัดธรรมิการาม http://www.tamigaram.bmt19.com/ วัดคลองวาฬ http://www.wadklongwan.bmt19.com/ ข้อมูลจาก http://www.iloveprachuap.com

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  3. ^ สุรินทร์ บัวงาม."บันทึกตำนานเมืองปราณบุรี", ประจวบคีรีขันธ์ : สภาวัฒนธรรมอำเภอปราณบุรี, 2544. หน้า 87-88 อ้างใน http://gold.rajabhat.edu/rLocal/stories.php?story=03/11/18/8802034

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 11°49′N 99°48′E / 11.82°N 99.8°E / 11.82; 99.8


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย