เขตพระนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก จังหวัดพระนคร)
เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพระนคร
Cquote1.png กรุงรัตนโกสินทร์วังวัดกษัตริย์สร้าง
ศูนย์กลางสนามหลวงกระทรวงศาล
ป้อมประตูคูคลองของโบราณ
แหล่งสถาบันการศึกษาประชาธิปไตย
รวมดวงใจไทยทั้งประเทศ… เขตพระนคร
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย เขตพระนคร
อักษรโรมัน Khet Phra Nakhon
รหัสทางภูมิศาสตร์ 1001
รหัสไปรษณีย์ 10200
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 5.536 ตร.กม.
ประชากร 61,374 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 11,086.34 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
พิกัด 13°45′52″N, 100°29′57″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2628 9068
หมายเลขโทรสาร 0 2281 5579
เว็บไซต์ เว็บไซต์สำนักงานเขตพระนคร
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบริเวณตะวันตกสุดของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้

[แก้] ประวัติศาสตร์

เขตพระนคร เดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ

ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอสามแยก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอพญาไท อำเภอประแจจีน อำเภอประทุมวัน อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทะวาย อำเภอบางพลัด อำเภออมรินทร์ อำเภอหงสาราม อำเภอราชคฤห์ อำเภอบุปผาราม และอำเภอบุคคโล

ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพระราชวัง และอำเภอชนะสงครามเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี (ภายหลังได้ยุบอำเภอสามยอดและอำเภอบางขุนพรหมเข้ามารวมด้วย) และในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตพระนครแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. พระบรมมหาราชวัง (Phra Borom Maha Ratchawang) 7. บวรนิเวศ (Bowon Niwet)
2. วังบูรพาภิรมย์ (Wang Burapha Phirom) 8. ตลาดยอด (Talat Yot)
3. วัดราชบพิธ (Wat Ratchabophit) 9. ชนะสงคราม (Chana Songkhram)
4. สำราญราษฎร์ (Samran Rat) 10. บ้านพานถม (Ban Phan Thom)
5. ศาลเจ้าพ่อเสือ (San Chaopho Suea) 11. บางขุนพรหม (Bang Khun Phrom)
6. เสาชิงช้า (Sao Chingcha) 12. วัดสามพระยา (Wat Sam Phraya)

[แก้] สถานที่สำคัญ

ศาลหลักเมือง

เขตพระนครอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

[แก้] ที่ทำการรัฐบาล

มีจำนวน 19 แห่ง ได้แก่

[แก้] วัด

มีจำนวน 24 แห่ง ได้แก่

[แก้] มัสยิด

มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่

[แก้] ศาลเจ้า

มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่

[แก้] พระราชวัง และ วัง

[แก้] อนุสาวรีย์ และ พระบรมราชานุสาวรีย์

[แก้] โบราณสถาน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ

ในตอนเริ่มแรกนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง 14 ป้อมปราการ เพื่อรักษาพระนคร แต่ถูกรื้อลงเกือบหมดในสมัยต่อมา ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 2 ป้อม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ แต่เดิมนั้น บริเวณรอบ ๆ ป้อมพระสุเมรุ เป็นแค่ถนนธรรมดา แต่ในปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างสวนสาธารณะสวนสันติชัยปราการ

เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางรัฐบาลได้อภิปราย พื้นที่บริเวณตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงท่าวาสุกรี ส่งไปให้องค์การยูเนสโกเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต

[แก้] โรงเรียน มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐ

[แก้] ศูนย์การค้า

มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่

[แก้] การคมนาคม

มีถนนสายหลักในเขตพระนคร ได้แก่

และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง ได้แก่

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

BlankMap Thailand icon.png เขตพระนคร เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตพระนคร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย