จังหวัดมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดมหาสารคาม
ตราประจำจังหวัดมหาสารคาม ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดมหาสารคาม
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม
ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย มหาสารคาม
ชื่ออักษรโรมัน Maha Sarakham
ชื่อไทยอื่นๆ สารคาม
ผู้ว่าราชการ นายทองทวี พิมเสน
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-44
ต้นไม้ประจำจังหวัด พฤกษ์ (มะรุมป่า)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 5,291.683 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 42)
ประชากร 939,090 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 24)
ความหนาแน่น 177.47 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 15)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ถนนเลี่ยงเมืองมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์ (+66) 0 4377 7356
โทรสาร (+66) 0 4377 7460
เว็บไซต์ จังหวัดมหาสารคาม
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดมหาสารคาม

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่งนา
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลั่นทมขาว (Plumeria alba)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะรุมป่า (Albizia lebbeck)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ประวัติศาสตร์

เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม

มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยย้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก "บ้านลาดกุดยางใหญ่" ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด

ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง

ต่อมาสร้างวัดดอนเมืองแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดรวม 41 คน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 133 ตำบล 1804 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองมหาสารคาม
  2. อำเภอแกดำ
  3. อำเภอโกสุมพิสัย
  4. อำเภอกันทรวิชัย
  5. อำเภอเชียงยืน
  6. อำเภอบรบือ
  7. อำเภอนาเชือก
  8. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
  9. อำเภอวาปีปทุม
  10. อำเภอนาดูน
  11. อำเภอยางสีสุราช
  12. อำเภอกุดรัง
  13. อำเภอชื่นชม
 แผนที่

[แก้] ระยะทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ

  • อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
  • อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
  • อำเภอโกสุมพิสัย 28 กิโลเมตร
  • อำเภอแกดำ 28 กิโลเมตร
  • อำเภอวาปีปทุม 40 กิโลเมตร
  • อำเภอชื่นชม 55 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียงยืน 44 กิโลเมตร
  • อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
  • อำเภอนาดูน 64 กิโลเมตร
  • อำเภอยางสีสุราช 70 กิโลเมตร
  • อำเภอกุดรัง 70 กิโลเมตร
  • อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 82 กิโลเมตร

[แก้] การคมนาคม

  • ทางรถยนต์: ทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางกรุงเทพฯ ผ่านสระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม
  • ทางรถโดยสารประจำทาง: บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการวันละหลายเที่ยว

รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดมหาสารคามคือ มงคลทัวร์ โทร. 0 4371 1072 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3638-9 www.transport.co.th

  • ทางรถไฟและทางเครื่องบิน: จะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคามอีกประมาณ 72 กิโลเมตร

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

  • พุทธมณฑลอีสาน พระบรมธาตุนาดูน
  • พระพุทธรูปยืนมงคล
  • พระพุทธรูปมิ่งเมือง
  • ปรางค์กู่มหาธาตุ
  • ปรางค์กู่สันตรัตน์
  • วนอุทยานโกสัมพี
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
  • วนอุทยานชีหลง
  • แก่งเลิงจาน

[แก้] สถานศึกษา

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

  • เอ็กซ์โป พลาซ่า มหาสารคาม
  • บิ๊กซี สาขามหาสารคาม
  • ฟาร์มมาร์ท สาขามหาสารคาม
  • เสริมไทยพลาซ่า & ตลาดโลตัส มหาสารคาม

[แก้] หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  • ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4372 1396
  • เทศบาลเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4374 0825
  • ประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4371 1231
  • โรงพยาบาลมหาสารคาม โทร. 0 4374 0993-6
  • สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4377 7356
  • สถานีตำรวจภูธรเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4371 1250

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงชาวจังหวัดมหาสารคาม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม เว็บไซต์สารคามไกด์ เว็บไซต์ข้อมูล ที่พัก อาหาร ท่องเที่ยว จังหวัดมหาสารคาม เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เว็บไซต์ clinic center องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พิกัดภูมิศาสตร์: 16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E / 16.18; 103.29


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดมหาสารคาม เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดมหาสารคาม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย