จังหวัดลพบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดลพบุรี
ตราประจำจังหวัดลพบุรี ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดลพบุรี
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์ Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ลพบุรี
ชื่ออักษรโรมัน Lop Buri
ผู้ว่าราชการ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-16
ต้นไม้ประจำจังหวัด พิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัด พิกุล
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 6,199.753 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 37)
ประชากร 754,452 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 33)
ความหนาแน่น 121.69 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 39)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทรศัพท์ (+66) 0 3642 0310
โทรสาร (+66) 0 3642 0310
เว็บไซต์ จังหวัดลพบุรี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดลพบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลาง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองกำลังทั้งทหารบกและทหารอากาศหลายหน่วย เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร กองกำลังทางการรบ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนั้นมีภูมิประเทศที่เหมาะสมคืออยู่ในเขตตอนกลางของประเทศจึงทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหารซึ่งสามารถที่กระจายหรือแจกจ่ายกำลังพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ไปยังภูมิภาคต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนอกจากนั้นได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี ดังนั้นเมืองลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารที่สำคัญตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็น "เมืองเศรษฐกิจ เมืองท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษาของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองทหารอีกด้วย" และนอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ พระปรางค์สามยอด เขาสนามแจง และทุ่งทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (มีพื้นที่ถึง 200,000-300,000 ไร่) และได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีลิงอาศัยอยู่มาก และนับว่าเป็นจังหวัดที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดลพบุรีเป็นจำนวนมาก

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้ง

จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ประมาณ 155 กิโลเมตร หรือทางรถไฟสายเหนือประมาณ 133 กิโลเมตร มีพื้นที่ 6,586.67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,116,668 ไร่

[แก้] อาณาเขต

จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ 8 จังหวัดดังนี้ คือ

[แก้] ประวัติศาสตร์

(วงเวียนสระแก้ว) ตัวเมืองลพบุรีในปัจจุบัน

พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน

ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดา ให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง

ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมรทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรี น่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วลพบุรีขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าเมืองลพบุรีมีความสำคัญติดต่อกันมายาวนานนับพันปี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้สร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

[แก้] ตำนานเมืองลพบุรี

ลพบุรี เป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยละโว้ ได้มีตำนานที่กล่าวถึงไว้อยู่มาก และมีชื่อสถานที่ที่ตั้งตามตำนานด้วย

  • เมืองลิง เล่ากันว่า จากเรื่อง รามเกียรติ์ สมัยที่พระรามไปรบกับทศกัณฐ์จนชนะแล้ว เนื่องจากการช่วยเหลือหลายครั้งของหนุมาน พระรามจึงคิดจะให้รางวัลกับหนุมาน จึงให้มาดูแลเมืองละโว้ธานี หนุมานก็นำทหารลิงมาด้วยจำนวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ที่ลพบุรีมีลิง ซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานทหารของหนุมาน และนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ในสมัยก่อนลพบุรีมักถูกไฟไหม้ต่อกันเป็นแนวยาวๆ เนื่องจากหนุมานได้เหาะมาตรวจเมืองของตนเอง แต่ด้วยความเร็วในการบินที่เร็วมาก และหางอันยาวของหนุมานก็ได้ลากที่พื้นจนเกิดไฟไหม้ดังกล่าว
  • เรื่องของควายทรพี และทรพา ที่ลพบุรีจะมีภูเขาที่ชื่อว่าเขาทับควาย ซึ่งจะมีแร่เหล็กจำนวนมาก และแร่เหล็กนี้จะทำให้ดินเป็นสีออกแดงคล้ายกับเลือด จึงมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนมีฝูงควายฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ หัวหน้าฝูงชื่อ ทรพา เป็นควายที่แข็งแรงมาก และควายในฝูงก็จะเป็นตัวเมียเท่านั้น ทรพาจะฆ่าลูกที่เป็นตัวผู้ทิ้งหมด เพื่อกันไม่ให้มาแย่งตำแหน่งหัวหน้าของตน จนมีแม่ควายตัวหนึ่งตกลูก เป็นตัวผู้ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าจึงนำลูกไปซ่อนไว้ และตั้งชื่อลูกว่า ทรพี ให้คล้ายกับชื่อพ่อ ลูกควายรู้ว่าทำไมแม่ต้องซ่อนตนไว้ จึงเกิดความแค้นพ่ออย่างมาก และพยายามวัดเท้าตนกับรอยเท้าของพ่อตลอดมา จนทรพีโตเป็นหนุ่ม พอได้วัดรอยเท้าแล้วเท่ากับพ่อ จึงออกไปท้าสู้กับพ่อ และด้วยความที่ยังหนุ่มกว่า เรี่ยวแรงมากกว่า จึงเอาชนะพ่อที่แก่ชราได้ และฆ่าพ่อตาย ต่อมาทรพีจึงเป็นหัวหน้าฝูงแทน
วงเวียนเทพสตรีหรือวงเวียนสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี

[แก้] ภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  • ที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 1,170 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของอำเภอท่าวุ้งทั้งหมด ตอนกลาง และตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี ตอนกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโคกสำโรง และส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ พื้นที่ราบตอนกลางของอำเภอเมืองลพบุรี บริเวณหมู่บ้านสะพานอิฐ และหมู่บ้านหินสองก้อนจะมีดินสีขาวที่สามารถนำมาทำดินสอพองได้ และดินสอพองของจังหวัดลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นดินสอพองที่ดีที่สุดของเมืองไทย
  • ที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีเนื้อที่ 4,816.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่บางส่วน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของอำเภอโคกสำโรงและอำเภอท่าหลวง
ลิงลพบุรี ที่มีจำนวนมากบริเวณพระปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ และอาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง ลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองลิง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา อำเภอลำสนธิ

มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน นั่นคือ แม่น้ำป่าสัก โดยมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมี แม่น้ำลพบุรีผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดด้วย รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมอีกด้วย

[แก้] ทรัพยากร

[แก้] ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดลพบุรีเคยปกคลุมด้วยป่าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นป่าดิบแล้งผืนใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ป่าเบญจพรรณ และป่าแดง หรือป่าเต็งรังในเขตเชิงเขา ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลพบุรีนับว่ามีสภาพเสื่อมโทรม และปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ของจังหวัด มีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมปี พ.ศ. 2525 พบว่าสภาพป่าไม้มีเนื้อที่ร้อยละ 4.69 ของเนื้อที่จังหวัด ต่างกับภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมีเนื้อที่ป่าร้อยละ 33.95 จะเห็นว่าในช่วงเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ลดลงร้อยละ 29.26 และมีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายใน 2528 จังหวัดลพบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ 174,375 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่จังหวัด และในปี 2540 มีการสำรวจพบว่าพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลายไป จนเหลือป่าที่สมบูรณ์เพียง 123,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.18 ของพื้นที่จังหวัดจากการที่ป่าไม้ในจังหวัดมีสภาพลดลง กรมป่าไม้จึงได้อนุรักษ์ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ไว้ ปัจจุบันมีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 4 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,110,108.25 ไร่ (1,776.17 ตร.กม.) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ได้แก่

  • ป่าซับลังกา
  • ป่าวังเพลิง
  • ป่าชัยบาดา
  • ป่าเขาเพนียด

[แก้] ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี

  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าซับลังกา มีพื้นที่ (248,987.50 ไร่)
  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังเพลิงม่วงค่อมลำนารายณ์ มีพื้นที่ (447,081.25 ไร่)
  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยบาดาล มีพื้นที่ (396,562.50 ไร่)
  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเพนียด มีพื้นที่ (17,477 ไร่)

[แก้] เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจังหวัดลพบุรี

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
  • เขตห้ามล่าสัตวืป่าเขาสมโภชน์

[แก้] ทรัพยากรน้ำ

จังหวัดลพบุรีนับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประสิธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรน้ำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชท่านทรงเป็นผู้สร้างเมืองลพบุรีและได้มีการนำท่อดินเผาสูบน้ำจาก อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก มาใช้ในกิจการต่างๆภายในวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และในปัจจุบันได้มีการสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนและได้สำนึกในคุณค่าของทรัพยากรน้ำอย่างเห็นคุณค่า เช่น การพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีการปล่อยน้ำไปสู่แหล่งการเกษตรและอุสาหกรรม การอนุรักษ์น้ำของคลองชลประธาน เป็นตัน

[แก้] แม่น้ำที่สำคัญ

[แก้] ภูมิอากาศ

สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1,147.6 มิลลิเมตร สำหรับมีฤดูกาลต่าง ๆ มี 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะร้อน และแห้งแล้ง
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 124 ตำบล 1110 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองลพบุรี
  2. อำเภอพัฒนานิคม
  3. อำเภอโคกสำโรง
  4. อำเภอชัยบาดาล
  5. อำเภอท่าวุ้ง
  6. อำเภอบ้านหมี่
  1. อำเภอท่าหลวง
  2. อำเภอสระโบสถ์
  3. อำเภอโคกเจริญ
  4. อำเภอลำสนธิ
  5. อำเภอหนองม่วง
 แผนที่

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกพิกุล (Mimusops elengi)

[แก้] ต้นไม้ประจำจังหวัด

พิกุล (Mimusops elengi)

[แก้] คำขวัญประจำจังหวัด

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

[แก้] ระบำลพบุรี

ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา พระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร

[แก้] เพลงประจำจังหวัดลพบุรี

ลพบุรีแดนทองของไทย
เมืองละโว้ใคร ๆ ก็รู้
ประวัติศาสตร์จารึกตรึกตรองดู
โบราณสถานยังอยู่นามกระจาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ท่านเปรื่องปราชญ์เชิงกวีเหลือหลาย
ปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ วังนารายณ์
ท่ากระยางมากมายดินสอพอง
สาวงามบ้านหมี่ศรีสวัสดิ์
งามเด่นชัดอ่างซับเหล็กไม่มีสอง
ทั้งน้ำตกวังก้านเหลืองน้ำเนืองนอง
แผ่นดินทองของไทยคือลพบุรี
ขอเชิญชวนให้ไทยทุกคน
ได้ไปยลทิวทัศน์จะสุขศรี
ชมอดีตเมืองละโว้โอ้ธานี
เมืองลพบุรีรับรองลืมไม่ลง
(**ซ้ำ)

[แก้] เพลงเกี่ยวกับจังหวัดลพบุรี

ความหนาวที่ลพบุรี เข็ดแล้วลพบุรี

[แก้] ประชากร

ประชากรของจังหวัดลพบุรีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาวแต่ปัจจุบันมีหลายกลุ่มที่รู้สึกมีความเป็นไทย ชาวไทยภาคกลางนั้นจะหนาแน่นแถบอำเภอเมืองใกล้รอยต่อระหว่างลพบุรี-อยุธยา-อ่างทอง รอบนอกเมืองลพบุรีส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายลาวทุกอำเภอ ซึ่งแต่เดิมปรากฏว่ามีการใช้ภาษาลาวด้วย แต่ปัจจุบันหลายชุมชนในอำเภอเมืองมีแนวโน้มในการใช้ภาษาลาวลดลง และมีชนเชื้อสายจีนปะปนอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีชนเชื้อสายลาวพวนส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ มีบ้างในตำบลถนนใหญ่ และโคกกระเทียมในอำเภอเมือง ชนเชื้อสายมอญอาศัยอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางขันหมากส่วนล่าง (ส่วนบนส่วนใหญ่เป็นชาวไทย) อำเภอเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทเบิ้ง ซึ่งเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช ที่ส่วนใหญ่อาศัยในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนชาวอีสานนั้นเข้ามาทางตะวันออกซึ่งติดกับจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดชัยภูมิ และอาศัยทางโคกเจริญ ชัยบาดาล ฯลฯ ชาวไทยเชื้อสายปากีสถานและอินเดียก็อาศัยในอำเภอเมืองและชัยบาดาล ซึ่งชนเชื้อสายต่าง ๆ นี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะนิสัยต่างๆจึงแตกต่างกัน แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับประชากรส่วนใหญ่ได้ดี

การแต่งกายสมัยลพบุรี
บ้านเรือนของชาวลพบุรีในอดีต

[แก้] อัตราเฉลี่ยของประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี จากรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 มีประชากรนับถึงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 787,768 คน แยกเป็นเพศชาย 410,775 คน เพศหญิง 376,993 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 127 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากจังหวัดลพบุรีเป็นเมืองยุทธศาสตร์การทหารจึงทำให้มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย แนวโน้มจำนวนประชากรในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2540-2550) คาดว่าในปี พ.ศ. 2550 ประชากรจังหวัดลพบุรีจะมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 906,149 คน

[แก้] อาชีพของประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อยน้ำตาล ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ประชากรในจังหวัดลพบุรีมีด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น ไทยภาคกลาง ไทยพวน (เดิมเรียก ลาวพวน) และไทยเบิ้ง (หรือไทยเดิ้ง) ไทยอีสาน (พูดภาษาอีสาน) ไทยมอญ นอกจากนี้ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายอินเดียจำนวนไม่น้อยอีกด้วย

[แก้] รายได้ของประชากร

รายได้เฉลี่ยของประชากรในปี พ.ศ. 2537 คือ 34,301 บาท/คน/ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 47,335 บาท/คน/ปี และคาดว่าในปี พ.ศ. 2550 จะเท่ากับ 76,446 บาท/คน/ปี

[แก้] การคมนาคม

ลพบุรีอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก สามารถเดินทางสู่ตัวจังหวัดได้หลายวิธี

  • ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายเหนือในระบบรางคู่ถึงตัวตัวจังหวัด และผ่านไปสู่ภาคเหนือ และในอนาคตอันใกล้กำลังจะมีการดำเนินการสร้างทางรถไฟรางคู่ต่อจากลพบุรีขึ้นไปทางเหนือ
  • ทางรถยนต์ก็มีเส้นทางหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ตัดผ่าน หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (สายเอเซีย) แยกเข้าลพบุรีได้ทาง อำเภอมหาราช และอำเภอท่าวุ้ง

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางคมนาคมสายสำคัญซึ่งตัดผ่านจังหวัดข้างเคียง คือ เส้นทางรถไฟสายอีสาน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดที่มีเขตติดต่อกันคือจังหวัดสระบุรี และยังมีถนนสายเอเชียตัดผ่านจังหวัดที่มีเขตติดต่อกันคือจังหวัดสิงห์บุรี

[แก้] ถนนสายสำคัญในจังหวัดลพบุรี

[แก้] ถนนสายสำคัญในตัวเมืองลพบุรี

  • ถนนปรางค์สามยอด
  • ถนนฝรั่งเศส
  • ถนนราชมนู
  • ถนนราชดำเนิน
  • ถนนประตูชัย
  • ถนนพระปิยะ
  • ถนนบนเมือง
  • ถนนวิชาเยนทร์
  • ถนนศรีปราชญ์
  • ถนนพระศรีมโหศถ
  • ถนนพระยากำจัด
  • ถนนเพทราชา
  • ถนนกาญจนาคม
  • ถนนสรศักดิ์
  • ถนนพิชัยดาบหัก
  • ถนนโกษาปาน
  • ถนนพระลักษณ์
  • ถนนสีหราชเดโชชัย
  • ถนนสราญรมย์
  • ถนนสีดา
  • ถนนพระยาอนุชิต
  • ถนนสีดา
  • ถนนชนะสงคราม
  • ถนนขุนเทพกวี
  • ถนนนารายณ์มหาราช
  • ถนนโกษาเหล็ก
  • ถนนรามเดโช
  • ถนนนเรศวร
  • ถนนพระโหราธิบดี
  • ถนนพระราม

[แก้] สถานีรถไฟในจังหวัดลพบุรี

[แก้] สนามบิน

ไม่มีสนามบินเชิงพาณิชย์

[แก้] ส่วนราชการในจังหวัดลพบุรี

  • สำนักงานจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี
  • ที่ทำการปกครองจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลพบุรี
  • สำนักงานประมงจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานชลประทานที่ 10
  • สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานก่อสร้าง 5 (ป่าสัก)
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรี
  • สถานีพัฒนาที่ดินลพบุรี ด่านกักกันสัตว์ลพบุรี
  • สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี
  • ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตฯ
  • สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดลพบุรี
  • ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 5
  • ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธ์ผสมเทียมลำพญากลาง
  • นิคมสหกรณ์ชัยบาดาล
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2
  • ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคกลาง
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6
  • ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานประกันภัยจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานการค้าภายในจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
  • ศูนย์มะเร็งแห่งชาติลพบุรี
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี แขวงการทางลพบุรีที่ 2 (ลำนารายณ์)
  • สำนักงานทางหลวงที่ 9 สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 2 (สาขาลพบุรี)
  • สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดลพบุรี สถานีรถไฟลพบุรี
  • แขวงการทางลพบุรีที่ 1
  • สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาล
  • เรือนจำกลางลพบุรี สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
  • สำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลพบุรี
  • สถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี
  • นิคมสร้างตนเองลพบุรี
  • ศูนย์บริการสวัสดิการสังคมเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ
  • สำนักงานแรงงานจังหวัด
  • ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานจัดหางานจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
  • สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี สำนักงานไปรษณีย์ลพบุรี
  • สถานีอุตุนิยมวิทยาบัวชุม
  • สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี
  • ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดลพบุรี
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 7
  • ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี
  • วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สำนักงานศิลปากรที่ 4 ลพบุรี
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจพลังงานจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานเจ้าคณะตำบลโคกสำโรง เขต 1
  • มูลนิธิธรรมรักษ์ วัดพระบาทน้ำพุ เป็นสถานบำบัดผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ศาลจังหวัดลพบุรี
  • สำนักงานอัยการจังหวัด
  • สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรี
ศาลากลางจังหวัดลพบุรี

[แก้] ของดีจังหวัดลพบุรี

ลพบุรีมีสินค้าหัตถกรรมมากมาย เช่น ปลาส้มฟัก ดินสอพอง (มีการทำไข่เค็มจากดินสอพองด้วย) ผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวัน ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้าลายไส้ปลาไหล เป็นต้น

[แก้] ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดลพบุรี

[แก้] ตลาดที่สำคัญของจังหวัด

  1. ห้างภิญญาดีพาร์ตเม้นสโตร์ อำเภอเมืองลพบุรี
  2. ตลาดโลตัส อำเภอเมืองลพบุรี
  3. ตลาดเทศบาลเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี
  4. ตลาดเสาธง บริเวณหน้าศูนย์การทหารปืนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี
  5. ตลาดท่าขุนนาง อำเภอเมืองลพบุรี
  6. ตลาดบนเมือง อำเภอเมืองลพบุรี
  7. ตลาดสดสระแก้ว อำเภอเมืองลพบุรี
  8. ตลาดเทศบาลอำเภอท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง
  9. ตลาดปิยะสุวรรณ อำเภอบ้านหมี่
  10. ตลาดเทศบาลอำเภอบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่
  11. ตลาดเทศบาลอำเภอท่าหลวง อำเภอท่าหลวง
  12. ตลาดสดชาญชัย อำเภอชัยบาดาล
  1. ตลาดสดศรีเจริญ อำเภอชัยบาดาล
  2. ตลาดสดเทศบาลอำเภอโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง
  3. ตลาดสดสหวัฒนา อำเภอโคกสำโรง
  4. ตลาดสดเทศบาลอำเภอพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม
  5. ตลาดสดเทศบาลอำเภอสระโบสถ์ อำเภอสระโบสถ์
  6. ตลาดสมบูรณ์ อำเภอหนองม่วง
  7. ตลาดพึ่งเพียร อำเภอหนองม่วง
  8. ตลาดนัด พระยากำจัด อำเภอเมืองลพบุรี
  9. ตลาดนัดกล้วยกล้วย (Banana Square) ข้างห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส อำเภอเมืองลพบุรี
  10. ตลาดคลองถม อำเภอเมืองลพบุรี

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง

เมืองลพบุรีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีโบราณสถานมากมาย และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

  1. พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ หรือ วังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ถนนสรศักดิ์ เป็นวังที่สร้างในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี
  2. พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี
  3. พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท อำเภอเมืองลพบุรี
  4. พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) อำเภอเมืองลพบุรี
  5. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  6. บ้านหลวงรับราชทูตหรือ บ้านวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี
  7. พระปรางค์สามยอด อำเภอเมืองลพบุรี
  8. ศาลพระกาฬ อำเภอเมืองลพบุรี
  9. ศาลหลักเมืองหรือศาลลูกศร อำเภอเมืองลพบุรี
  10. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี มี พระปรางค์ที่องค์ใหญ่ที่สุดในลพบุรี ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี
  11. วัดตองปุ อำเภอเมืองลพบุรี
  12. วัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง
  13. วัดยาง ณ รังสี (และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน) ต้นยางใหญ่ที่สุดในลพบุรี อายุกว่า 400 ปี อำเภอเมืองลพบุรี
  14. แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ภายในวัดโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม
  15. แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้ ภายใน วัดพรหมทินใต้ อำเภอโคกสำโรง
  16. เขาสนามแจง เขาวงกต ถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในลพบุรี อำเภอบ้านหมี่
  17. เขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง
  18. เขาวงพระจันทร์ ภูเขาที่สูงที่สุดในลพบุรี มีบันใดทางขึ้นถึง 3,790 ขั้น อำเภอโคกสำโรง
  19. เขาจีนแล อำเภอเมืองลพบุรี
  20. พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า อำเภอเมืองลพบุรี
  21. วัดมณีชลขันธ์ อำเภอเมืองลพบุรี
  22. เทวสถานปรางค์แขก เทวสถานที่เก่าแก่ที่สุด ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี
  23. พระปรางค์นางผมหอม อำเภอลำสนธิ
  24. วัดนครโกษา อำเภอเมืองลพบุรี
  25. วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล
  26. วัดพานิชธรรมิการาม (วัดหนองเต่า) อำเภอบ้านหมี่
  27. วัดสันเปาโล หอดูดาวแห่งแรกของลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี
  28. วัดชีป่าสิตาราม (เจดีย์ทรงระฆังศิลปะสมัยอยุธยา) อำเภอเมืองลพบุรี
  29. อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภาคกลาง เขต 7 อำเภอเมืองลพบุรี
  30. หอไตรวัดท่าแค อำเภอเมืองลพบุรี
  31. วัดพรหมรังษี อำเภอพัฒนานิคม

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

  1. ศูนย์ศิลปาชีพประชาสุขสรรค์ อำเภอบ้านหมี่
  2. หมู่บ้านดินสอพอง แหล่งผลิตดินสอพองที่ดีที่สุดของประเทศ อำเภอเมืองลพบุรี
  3. บ้านท่ากระยาง แหล่งหล่อทองเหลือง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อำเภอเมืองลพบุรี
  4. หมู่บ้านหินสองก้อน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวเที่ยวทางธรรมชาติ

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา อำเภอลำสนธิ
  2. เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล
  3. สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง อำเภอชัยบาดาล
  4. ทุ่งทานตะวัน มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ส่วนมากอยู่ที่ อำเภอชัยบาดาล และ อำเภอพัฒนานิคม
  5. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ เป็นเขื่อนที่ได้รับการยอมรับว่า มีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุด
  6. อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล
  7. อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก อำเภอเมืองลพบุรี
  8. ถ้ำพรหมโลก อำเภอชัยบาดาล
  9. น้ำตกสวนมะเดื่อ อำเภอชัยบาดาล
  10. สวนจำปีสิรินธร ชื่อพระราชทาน อำเภอท่าหลวง
  11. อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

  1. ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม
  2. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม
  3. ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์ แห่งใหญ่ที่สุดของลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี
  4. โอเอซิสฟาร์ม อำเภอพัฒนานิคม
  5. สวนองุ่นเพ็ญธวัช สวนองุ่นแห่งแรกในเขตเทศบาล อำเภอเมืองลพบุรี
  6. สวนเหรียญทอง มีชื่อเสียงด้านการฝากท้องกิ่งมะม่วง อำเภอเมืองลพบุรี

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ

  1. ตลาดน้ำลพบุรี ตั้งอยู่ที่แม่น้ำลพบุรี หน้าวัดเชิงท่า (ลพบุรี)อำเภอเมืองลพบุรี
  2. สวนสัตว์ลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี
  3. นารายณ์ฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ คันทรี คลับ รีสอร์ทกลางหุบเขา สวยที่สุดในลพบุรี อำเภอโคกสำโรง
  4. สนามกอล์ฟ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายในในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 13

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ

  1. เรือนไม้ไทยสปา อำเภอเมืองลพบุรี

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวในวัดพระอารามหลวง

  1. วัดกวิศรารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดราชวิหาร อันดับที่ 1 อำเภอเมืองลพบุรี
  2. วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือวัดเขาพระงาม พระอารามหลวง ชั้นตรี วัดตั้งอยู่เชิงเขา และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีสีขาวทั้งองค์แลเห็นแต่ไกล อำเภอเมืองลพบุรี
  3. วัดเสาธงทอง พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี
  4. วัดมณีชลขันธ์ พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตำบลพรหมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี มีความพิเศษคือ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำลพบุรีและมีเจดีย์หลวงพ่อแสงที่ตั้งตระหง่าน ชาวลพบุรีให้สมญานามว่า หอเอนแห่งเมืองลพบุรี

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป

  1. วัดเกริ่นกฐิน พระครูวิมลสมณวัตร (เพี้ยน อคฺคธมฺโม) อำเภอบ้านหมี่

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวในเขตทหาร

จังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และในปัจจุบันยังเป็นแหล่งที่ตั้งของหน่วยทหารต่างๆ มีความสำคัญมากเป็นอันดับสองของประเทศ และในปัจจุบันแต่ละสถานที่จึงจัดให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นในเขตทหาร อาทิเช่น

  1. กิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี
  2. แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี
  3. แหล่งท่องเที่ยวภายในโรงพยาบาลอานันมหิดล อำเภอเมืองลพบุรี
  4. แหล่งท่องเที่ยวภายใน พิพิธภัณฑ์สถานอากาศยานกองทัพบกไทย ศูนย์การบินทหารบก ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา
  5. แหล่งท่องเที่ยวภายใน (กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่)
  6. งานวันเด็กแห่งชาติ ที่ กองบิน 2 ลพบุรี
  7. ศูนย์ฝึกยุทธวิธีกองทัพบก

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] เทศกาลงานประจำปีลพบุรี

[แก้] การศึกษา

[แก้] สถานศึกษาในระดับระดับอุดมศึกษา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาลพบุรี

[แก้] สถานศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

[แก้] โรงเรียนมัธยม สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

[แก้] โรงเรียนสาธิต

[แก้] โรงเรียนเอกชน

[แก้] การสาธารณสุข

ในปี 2552 จังหวัดลพบุรี มีจำนวนโรงพยาบาล ของรัฐไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน ทั้งสิ้น 11 แห่ง มีจำนวนเตียง 1,156 เตียงส่วนบุคลากรทางสาธารณสุขที่สำคัญ คือ แพทย์ มีจำนวน 97 คน ทันตแพทย์ มีจำนวน 34 คน เภสัชกร มีจำนวน 45 คนและพยาบาล มีจำนวน 1,022 คน ซึ่งมีโรงพยาบาลดังต่อไปนี้

[แก้] โรงพยาบาลในตัวจังหวัดลพบุรี

[แก้] โรงพยาบาลทหารจังหวัดลพบุรี

[แก้] โรงพยาบาลต่างๆในจังหวัดลพบุรี

[แก้] การพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม

จังหวัดลพบุรี เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นจึงถูกเลือกให้เป็นที่มั่นแห่งที่ ๒ ของประเทศมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การพัฒนาด้านการทหารของจังหวัดลพบุรี ปรากฏว่าเด่นชัดในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่อจริงคือ แปลก พิบูลสงคราม ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทำให้กิจการด้านการทหารของลพบุรีมีความสำคัญมากเป็นอันดับ ๒ รองจากกรุงเทพมหานคร ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ราว พ.ศ. 2480 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พัฒนาเมืองลพบุรี ให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยแยกชุมชนและสถานที่ราชการออกจากเมืองเก่า ทำให้ดูสง่างามกว่าเดิมและได้สร้างสิ่งก่อสร้างศิลปะแบบอาร์ตเดโด ขึ้นหลายแห่ง เช่น ตึกชาโต้ ตึกเอราวัณ โรงภาพยนตร์ ทหารบก เป็นต้น ลพบุรีจึงเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ที่อุดมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและมีความเป็นอมตะนคร ไม่หายไปจากความทรงจำของทุกยุคทุกสมัย และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยย้ายศาลากลางจังหวัดจากบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์มายังสถานที่ตั้งในปัจจุบัน

[แก้] ค่ายทหารในจังหวัดลพบุรี

[แก้] สังกัดกองทัพบก

[แก้] สังกัดกองทัพอากาศ

[แก้] ชาวลพบุรีที่มีชื่อเสียง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°48′N 100°37′E / 14.8°N 100.62°E / 14.8; 100.62