ประมุขแห่งรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประมุขแห่งรัฐ (Head of state) หมายถึง ศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นผู้ปกครองรัฐ โดยเป็นผู้มีสิทธิในอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ประการสูงสุด ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทั้งนี้ประมุขของรัฐจะมีอำนาจอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ โดยตำแหน่งประมุขของรัฐส่วนใหญ่จะเป็น พระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี

เนื้อหา

[แก้] รูปแบบ

แต่ละประเทศมีรูปแบบของประมุขแห่งรัฐที่แตกต่างกัน ขึ้นกับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศได้ระบุไว้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

[แก้] ประมุขแห่งรัฐที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง

ประมุขแห่งรัฐประเภทนี้จะไม่มีอำนาจในการปกครองต่อรัฐบาล เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมือง และศูนย์รวมจิตใจของประชาชน มีบทบาทในทางพิธีการเท่านั้น

ตัวอย่าง

[แก้] ระบอบรัฐสภา

ตามระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐอาจมีบทบาทเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศเฉพาะในนาม (ตัวอย่างเช่น รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ถูกเรียกว่าเป็นรัฐบาลของสมเด็จพระราชินี ไม่ใช่รัฐสภา) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นคือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของสภานิติบัญญัติ แทนที่จะเป็นประมุขแห่งรัฐ

ระบอบรัฐสภามีความแตกต่างในรายละเอียดตามแต่ละประเทศ ในบางประเทศ ประมุขแห่งรัฐสามารถให้คำแนะนำ (โดยไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ) ให้กับคณะรัฐบาลได้

[แก้] ระบอบประธานาธิบดี

ระบอบประธานาธิบดีคือระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบอบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา

ประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น

[แก้] ระบอบกึ่งประธานาธิบดี

ระบอบกึ่งประธานาธิบดีเป็นการผสมผสานระหว่างระบอบประธานาธิบดีกับระบอบรัฐสภาเข้าด้วยกัน รัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของทั้งประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศส (ในยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ประธานาธิบดีมีสิทธิ์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีเองต้องได้รับเสียงข้างมากจากสภานิติบัญญัติด้วยเช่นกัน

[แก้] บทบาท

บทบาทของประมุขแห่งรัฐแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ แต่สามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ที่พบบ่อยดังนี้

  • เป็นสัญลักษณ์ ศูนย์รวมจิตใจของประเทศ งานด้านพิธีกรรม เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
  • บทบาทด้านการทูต เช่น การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และรับทราบการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของประเทศอื่น
  • อำนาจการบริหารสูงสุด
  • อำนาจในการแต่งตั้งรัฐบาล รัฐสภา
  • อำนาจในการออกกฎหมาย เช่น ประมุขแห่งรัฐต้องลงนามก่อน กฎหมายจึงจะมีผลบังคับใช้
  • อำนาจในการให้อภัยโทษ
  • เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • อำนาจในการเรียกประชุม หรือยุบสภานิติบัญญัติ
  • อื่นๆ เช่น อำนาจในการแต่งตั้งขุนนางตามบรรดาศักดิ์ เป็นต้น

[แก้] ดูเพิ่ม

Scale of justice.svg ประมุขแห่งรัฐ เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประมุขแห่งรัฐ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ