มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ”

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์หนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย1 ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "มหาธาตุวิทยาลัย" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เมื่อคราวทรงสถาปนาอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2439 โดยทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นวิทยาลัยการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์[1][2] แต่การดำเนินงานของวิทยาลัยได้เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) และมีการดำเนินงานมาตามลำดับจนได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2540 ตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540[3] อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ศ.ดร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์กลางการศึกษาด้านพุทธศาสตร์ที่สำคัญของคณะสงฆ์ไทย มีการตั้งวิทยาเขต, วิทยาลัยสงฆ์, ศูนย์วิทยบริการและห้องเรียน กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 4 คณะ ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจนถึงปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 33 สาขาวิชา[4] นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการวิจัยในด้านพุทธศาสตร์ประยุกต์ด้วย[5]

ในอดีต นักบวชและคฤหัสถ์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะได้เข้ารับประทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากปัญหาอาการพระประชวรของพระองค์ ทำให้ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะได้เข้ารับประสาทปริญญาบัตรจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น จะจัดขึ้นที่ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นประจำทุกปี[6]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร)


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงโรงเรียนสอนภาษาบาลี ภายในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารซึ่งทรงตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 ในชื่อว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" มาใช้นามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อปรับปรุงการศึกษาให้เป็นระดับวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439 โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป [7] หลังจากก่อตั้งมาแล้ว ก็เลิกกิจการไปเป็นระยะเวลาช้านาน ต่อมาเมื่อ สุชีพ ปุญญานุภาพ พยายามรื้อฟื้นกิจการ มหามกุฏราชวิทยาลัย จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ทางฝ่ายคณะสงฆ์มหานิกายก็รื้อฟื้นกิจการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในอดีตให้เป็นระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2490

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตรงฐานของพระเกี้ยวมีอักษรย่อว่า ม จ ร และมีรูปธรรมจักรวางเป็นฉากเบื้องหลัง
  • เป็นรูปวงกลมครอบธรรมจักรส่วนกลางเป็นพระเกี้ยว เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รอบกรอบด้านบนมีอักษรภาษาบาลีว่า ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต รอบกรอบด้านล่างมีอักษรว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

[แก้] รายนามผู้บริหารและอธิการบดี

[แก้] การศึกษา

[แก้] คณะในมหาวิทยาลัย

[แก้] วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน

วิทยาเขต

วิทยาลัยสงฆ์

ห้องเรียน

หน่วยวิทยบริการ


[แก้] หน่วยงานในมหาวิทยาลัย

สำนักงานอธิการบดี

สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม

หน่วยงานอื่นๆ

[แก้] การวิจัย

[แก้] การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

[แก้] ระดับปริญญาตรี

[แก้] ระดับปริญญาโท

[แก้] ระดับปริญญาเอก

[แก้] พื้นที่มหาวิทยาลัย

[แก้] ส่วนกลาง

[แก้] ส่วนกลาง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

[แก้] ส่วนกลาง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] ส่วนภูมิภาค

[แก้] วิทยาเขต

[แก้] วิทยาลัยสงฆ์

[แก้] ห้องเรียน

[แก้] ศูนย์วิทยบริการ

[แก้] สถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัย

[แก้] พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้] พิธีประสาทปริญญาบัตร

[แก้] การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย

[แก้] เชิงอรรถ

หมายเหตุ 1: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ราชกิจจานุเบกษา, การก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย. เล่มที่ ๑๓, ตอนที่ ๒๕, วันที่ ๒๐ กันยายน ร.ศ.๑๑๕, หน้า ๒๖๓
  2. ^ ประวัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [ออน-ไลน์]. (2550). แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/history.php
  3. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐. เล่มที่ ๑๑๔, ตอนที่ ๕๑ ก, วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐, หน้า ๒๔
  4. ^ หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [ออน-ไลน์]. (2552). แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/curriculum.php
  5. ^ ประวัติความเป็นมา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . [ออน-ไลน์]. (2552). แหล่งข้อมูล :http://www.mcu.ac.th/site/office/coll_index.php?Data_type=1
  6. ^ สมเด็จพระพุฒาจารย์ มอบหนังสือแต่งตั้งพระธรรมโกศาจาราย์ เป็นราชบัณฑิต. [ออน-ไลน์]. (2552). แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=4242
  7. ^ ประวัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′18″N 100°29′25″E / 13.754982°N 100.49014°E / 13.754982; 100.49014

Dharma wheel.svg มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา
ภาษาอื่น