สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ราชวงศ์ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ครองราชย์ พ.ศ. 1991
ระยะครองราชย์ 40 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
พระพุทธปฏิมา
ประจำรัชกาล
พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวกหอราชกรมานุสรณ์

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 1974 ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1991 ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ. 2014 พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือก ซี่งนับเป็นช้างเผือกเชือกแรกของกรุงศรีอยุธยา

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก พระองค์ทรงครองราชเป็นเวลานานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา โดยเป็นพระโอรสในพระเจ้าสามพระยา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร" มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษฐิระ" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์ อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2031 เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 40 ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา และเป็นลำดับ 3 ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20 ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล

[แก้] พระราชกรณียกิจ

[แก้] ด้านการปกครอง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี

การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง[ต้องการอ้างอิง] แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้

  • หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
  • หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เวียง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
  • เมืองประเทศราช คงให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด และเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สินเพื่อช่วยราชการสงคราม

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า

มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

[แก้] กฎมณเฑียรบาล

ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผน คือ[1]

  1. พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง ๆ
  2. พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ
  3. พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก

[แก้] ด้านวรรณกรรม

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 340.

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยถัดไป
พระรามราชา
ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1931 - 1938)
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหาอุปราชแห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
2rightarrow.png สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2011 - 2031)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1967 - 1989)
2leftarrow.png Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.png
พระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย)
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
2rightarrow.png พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 2011 - 2017)
ผู้รั้งเมืองสองแคว
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
2rightarrow.png พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1991 - 2017)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1967 - 1991)
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหากษัตริย์ แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1991 - 2031))
2rightarrow.png สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2031 - 2034)
พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 2011 - 2017)
2leftarrow.png Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.png
พระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) (ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2017 - 2028))
2rightarrow.png สมเด็จพระเชษฐาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2028 - 2034)
พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1991 - 2017)
2leftarrow.png ผู้รั้งเมืองพระพิษณุโลกสองแคว
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2017 - 2028))


ภาษาอื่น