จังหวัดนราธิวาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดนราธิวาส
ตราประจำจังหวัดนราธิวาส ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดนราธิวาส
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา
นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ
แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย นราธิวาส
ชื่ออักษรโรมัน Narathiwat
ผู้ว่าราชการ นายธนน เวชกรกานนท์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-96
ต้นไม้ประจำจังหวัด ตะเคียนชันตาแมว
ดอกไม้ประจำจังหวัด บานบุรีเหลือง
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 4,475.430 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 50)
ประชากร 728,071 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 34)
ความหนาแน่น 162.68 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 20)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 96000
โทรศัพท์ (+66) 0 7535 6531
เว็บไซต์ จังหวัดนราธิวาส
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดนราธิวาส

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 717,366 คน แยกเป็นชาย 356,229 คน หญิง 361,137 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก

เนื้อหา

[แก้] ที่มาของชื่อ

ชื่อนราธิวาสเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในปีพ.ศ. 2458 ชื่อเดิมของพื้นที่นี้คือ เมอนารา (ภาษามลายู: Menara, منارا) ซึ่งมีความหมายว่า "หอคอย" และได้กลายเป็น บางนรา ในภาษาไทย

[แก้] ประวัติ

จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่เข้ามาทางปักษ์ใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงเสด็จประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ที่เคยขึ้นกับอยุธยามาก่อน ให้มาอ่อนน้อมดังเดิม โดยพระยาไทรบุรี และพระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้ยกทัพไปเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานตราตั้งให้แก่พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งในเป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย น้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งอยู่ที่บ้านยามู

ในระหว่างนั้นพวกของซาเห็ดรัตนวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกับปล้นบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านกะลาพอ แขวงเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เที่ยวปล้นบ้านเรือนราษฎรจนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้ราบคาบได้ จึงแจ้งราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนจ๋อง) ออกมาปราบปราม และจัดนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี, เมืองหนองจิก, เมืองยะลา, เมืองรามันห์, เมืองระแงะ, เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง), พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ), พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (หนิเดะ) โดยเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบคิดกันเป็นกบฏขึ้น จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่า หนิบอสูชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่แต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีนี้จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง 7 ที่ยังทับซ้อนกันอยู่หลายแห่ง จึงได้วางระเบียบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี เพื่อสะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวในปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และได้ยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในการปกครองได้แก่ อำเภอบางนรา, อำเภอตันหยงมัส, กิ่งอำเภอยะบะ, อำเภอสุไหงปาดี และกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ

ครั้นต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงศาสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา

[แก้] การเมืองการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 77 ตำบล 551 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนราธิวาส
  2. อำเภอตากใบ
  3. อำเภอบาเจาะ
  4. อำเภอยี่งอ
  5. อำเภอระแงะ
  6. อำเภอรือเสาะ
  7. อำเภอศรีสาคร
  8. อำเภอแว้ง
  9. อำเภอสุคิริน
  10. อำเภอสุไหงโก-ลก
  11. อำเภอสุไหงปาดี
  12. อำเภอจะแนะ
  13. อำเภอเจาะไอร้อง
 แผนที่

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] เศรษฐกิจ

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด GPP p1 (ปี 2548) 35,135 ล้านบาท

เกษตรกรรม 48.66 %

อุตสาหกรรม 4.97 %

โรงแรม/ภัตตาคาร 0.63 %

ค้าปลีก-ค้าส่ง 13.69 %

ก่อสร้าง 2.68 %

อื่นๆ 29.37 %

  • ภาวะราคาสินค้า

รายได้เฉลี่ยต่อหัว (ปี 2548 p1) 44,553 บาท

อัตราการว่างงาน (เม.ย.–มิ.ย.49) 2.11 %

ค่าแรงขั้นต่ำ 144 บาท/วัน

อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.–ส.ค. 49/เม.ย.–ส.ค. 48) 5.4 %

  • การจำหน่ายสินค้า OTOP (ม.ค.–สค. 49)

ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP19.73 ล้านบาท

  • มูลค่าการค้าชายแดน (ม.ค.–ส.ค.49)

การค้ารวม 3,329.69 ล้านบาท

การส่งออก 1,248.96 ล้านบาท

การนำเข้า 2,080.73 ล้านบาท

ดุลการค้า -831.77 ล้านบาท

[แก้] สังคมและวัฒนธรรม

ปัจจุบันมีสถานศึกษารวมทั้งหมด 488 แห่ง (ไม่รวมแหล่งวิชาการนอกระบบ) สังกัด สปช. 255 แห่ง สังกัด สศ. 18 แห่ง สังกัด สช. 82 แห่ง สังกัด กศป. 15 แห่ง สังกัดเทศบาล 10 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะที่จดทะเบียน 76 สถาบัน จำนวนนักศึกษาก่อนประถมศึกษา 31,200 คน ระดับประถมศึกษา 88,200 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 17,300 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. 9,400 คน ระดับอุดมศึกษา (ปวส.) 900 คน ระดับอุดมศึกษา (วิทยาลัยพยาบาล) 800 คน รวม 147,700 ค

อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

[แก้] การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

[แก้] แหล่งท่องเที่ยว

[แก้] การคมนาคม

  • ทางเครื่องบิน สายการบินแอร์เอเซีย เปิดให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) 09.10 น.–นราธิวาส 10.40 น. และนราธิวาส 11.10 น.–กรุงเทพฯ 12.40 น. ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์สายการบินแอร์เอเซีย โทร. 0 2515 9999
                     [สายการบิน วัน-ทู-โก]  เปิดให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเทพ (ดอนเมือง) 15.00 น.  -นราธิวาส 16.30 น.  และ นราธิวาส 17.00 น.-กรุงเทพ 18.30 น. ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร 1126

[แก้] หมายเลขโทรศัพท์สถานที่สำคัญ

  • สถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส โทร. 0 7351 1177, 0 7351 1414
  • ททท.สำนักงานภาคใต้ เขต 3 โทร. 0 7361 2126, 0 7361 5230
  • ไปรษณีย์จังหวัด โทร. 0 7351 1093
  • หน่วยกู้ภัยนราธิวาส โทร. 0 7351 1476
  • องค์การโทรศัพท์ โทร. 0 7351 1332
  • โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ โทร. 0 7351 1411, 0 7351 1359, 0 7351 1227, 0 7351 1379
  • โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก โทร. 0 7361 1560, 0 7361 1109
  • โรงพยาบาลตากใบ โทร. 0 7358 1200
  • โรงพยาบาลแว้ง โทร. 0 7365 9156, 0 7365 9008
  • โรงพยาบาลรือเสาะ โทร. 0 7357 1191, 0 7357 1158
  • โรงพยาบาลระแงะ โทร. 0 7367 1287
  • โรงพยาบาลศรีสาคร โทร. 0 7351 2430
  • โรงพยาบาลสุคิริน โทร. 0 7365 6035
  • โรงพยาบาลสุไหงปาดี โทร. 0 7365 1169

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°26′N 101°49′E / 6.43°N 101.82°E / 6.43; 101.82


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดนราธิวาส เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดนราธิวาส ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย