จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ
เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย พระนครศรีอยุธยา
ชื่ออักษรโรมัน Phra Nakhon Si Ayutthaya
ชื่อไทยอื่นๆ อยุธยา, กรุงเก่า, ยุดยา
ผู้ว่าราชการ นายวิทยา ผิวผ่อง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-14
ต้นไม้ประจำจังหวัด หมัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด โสน
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 2,556.640 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 62)
ประชากร 775,157 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 31)
ความหนาแน่น 303.19 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 10)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมู่ที่ 3 ถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ (+66) 0 3533 6554-5
เว็บไซต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีเขตตอนเหนือติดกับจังหวัดลพบุรี และอ่างทอง ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดสระบุรี ด้านใต้จรดจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ส่วนทางตะวันตกจรดจังหวัดสุพรรณบุรี เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ในปัจจุบันกลายเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมใกล้กรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้ไม่มีอำเภอเมือง แต่มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีบทบาทคล้ายอำเภอเมือง (เรียกว่าอำเภอพระนครศรีอยุธยา มิใช่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา) ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติมที่ กรุงศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

[แก้] ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชื่อ ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1. เจ้าพระยาชัยวิชิตสิทธิสงคราม สมัยรัชกาลที่ 1
2. พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชสุรชาติเสนาบดี สมัยรัชกาลที่ 3
3. พระยามหาสิริธรรมพโลปถัมภ์เทพทราวดีศรีรัตนธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ สมัยรัชกาลที่ 4
4. พระยาสีหราชฤทธิไกรยุตินัเนติธรรมธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ สมัยรัชกาลที่ 4
5. พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ สมัยรัชกาลที่ 4
6. พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาปเทศาธิบดี (สิงห์โต) สมัยรัชกาลที่ 5
7. พระยาเพชรชฎา (นาค ณ ป้องเพชร)
ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ
สมัยรัชกาลที่ 5
8. หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (พร เดชะคุปต์)
ภายหลังเลื่อนเป็น พระอนุรักษ์ภูเบศร์ และพระยาโบราณบุรานุรักษ์ ตามลำดับ
สมัยรัชกาลที่ 5
9. พระยาพิทักษ์เทพธานี (ชุ่ม อรรถจินดา) สมัยรัชกาลที่ 6
10. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร คเนจร สมัยรัชกาลที่ 6
11. พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุญนาค) พ.ศ. 2454–2455
12. หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์ (บุญ บุญอารักษ์) พ.ศ. 2455
13. พระพิทักษ์เทพธานี (พร พิมพะสุต) พ.ศ. 2456–2459
14. พระพิทักษ์เทพธานี (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2459–2462
15. พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุญนาค) พ.ศ. 2462–2465
16. พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) พ.ศ. 2465
17. พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต) พ.ศ. 2465–2468
- พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2468–2472
18. พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ) พ.ศ. 2472–2474
19. พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิชูโต) พ.ศ. 2474–2476
20. พระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย ดิฐานนท์) พ.ศ. 2476–2479
21. พระชาติตระการ (ม.ร.ว. จิตร คเนจร) พ.ศ. 2479–2482
22. หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์) พ.ศ. 2482–2484
23. หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ (ประยงค์ สุขะปิยังคุ) พ.ศ. 2484–2489
24. ขุนปฐมประชากร (สมบูรณ์ จันทรประทีป) พ.ศ. 2489–2490
25. พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุญนาค) พ.ศ. 2490–2495
26. ถนอม วิบูลษ์มงคล พ.ศ. 2495–2495
27. ขุนธรรมรัฐูธุราทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร) พ.ศ. 2495–2496
28. เกียรติ ธนกุล พ.ศ. 2496–2497
29. สง่า ศุขรัตน์ พ.ศ. 2497–2498
30. สุทัศน์ สิริสวย พ.ศ. 2498–2502
31. พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาค พ.ศ. 2502–2510
32. จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ. 2510–2514
33. วรวิทย์ รังสิโยทัย พ.ศ. 2514–2516
34. ร.ต.ท. ระดม มหาศรานนท์ พ.ศ. 2516–2517
35. วิทยา เกษรเสาวภาค พ.ศ. 2517–2519
36. สมพร ธนสถิตย์ พ.ศ. 2519–2520
37. วิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2520–2521
38. สุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2521–2523
39. ฉลอง วงษา พ.ศ. 2523–2524
40. ร.ต. กิติ ประทุมแก้ว พ.ศ. 2524–2529
41. ชัยวัฒน์ หุตะเจริญ พ.ศ. 2529–2534
42. ปรีดี ตันติพงศ์ พ.ศ. 2534–2537
43. บรรจง กันตวิรุฒ พ.ศ. 2537–2540
44. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2540–2542
45. ฐิระวัตร กุลละวณิชย์ พ.ศ. 2542–2545
46. สุรพล กาญจนะจิตรา พ.ศ. 2545–2546
47. สมศักดิ์ แก้วสุทธิ พ.ศ. 2546–2548
48. สมชาย ชุ่มรัตน์ พ.ศ. 2548–2551
49. ปรีชา กมลบุตร พ.ศ. 2551–2552
50. วิทยา ผิวผ่อง พ.ศ. 2552–ปัจจุบัน

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอพระนครศรีอยุธยา
  2. อำเภอท่าเรือ
  3. อำเภอนครหลวง
  4. อำเภอบางไทร
  5. อำเภอบางบาล
  6. อำเภอบางปะอิน
  7. อำเภอบางปะหัน
  8. อำเภอผักไห่
  1. อำเภอภาชี
  2. อำเภอลาดบัวหลวง
  3. อำเภอวังน้อย
  4. อำเภอเสนา
  5. อำเภอบางซ้าย
  6. อำเภออุทัย
  7. อำเภอมหาราช
  8. อำเภอบ้านแพรก

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า ภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ซึ่งนับถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์อันประเสริฐ
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโสน (Sesbania aculeata)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมัน (Cordia dichotoma)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°22′N 100°34′E / 14.36°N 100.57°E / 14.36; 100.57

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
อยุธยา