จังหวัดลำพูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดลำพูน
ตราประจำจังหวัดลำพูน ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดลำพูน
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม
จามเทวีศรีหริภุญไชย
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ลำพูน
ชื่ออักษรโรมัน Lamphun
ผู้ว่าราชการ ดร.ดิเรก ก้อนกลีบ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-51
ต้นไม้ประจำจังหวัด จามจุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 4,505.882 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 49)
ประชากร 404,693 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 62)
ความหนาแน่น 89.81 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 51)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดลำพูน ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000
โทรศัพท์ (+66) 0 5351 1000
เว็บไซต์ จังหวัดลำพูน
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดลำพูน

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลำพูน เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา

ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี

เนื้อหา

[แก้] อาณาเขต

ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ 3 จังหวัด ดังนี้

[แก้] หน่วยการปกครอง

จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 51 ตำบล 520 หมู่บ้าน ดังนี้

  1. อำเภอเมืองลำพูน
  2. อำเภอแม่ทา
  3. อำเภอบ้านโฮ่ง
  4. อำเภอลี้
  5. อำเภอทุ่งหัวช้าง
  6. อำเภอป่าซาง
  7. อำเภอบ้านธิ
  8. อำเภอเวียงหนองล่อง
 แผนที่

[แก้] สถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัด

อุดมศึกษา

อาชีวศึกษา

โรงเรียน

[แก้] สถานที่สำคัญของจังหวัด

[แก้] เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การค้า

[แก้] อุทยาน

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด


[แก้] วัตนธรรม-ประเพณี

  • งานของดีศรีหริภุญชัย
  • งานประเพณีสงกรานต์
  • งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย (แปดเป็ง)
  • งานเทศกาลลำไย
  • งานพระนางจามเทวี
  • งานฤดูหนาวและกาชาด
  • งานแต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง อำเภอป่าซาง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°30′N 99°05′E / 18.5°N 99.08°E / 18.5; 99.08


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดลำพูน เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดลำพูน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย