จังหวัดเชียงราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดเชียงราย
ตราประจำจังหวัดเชียงราย ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดเชียงราย
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดเชียงรายด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดเชียงรายด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
Cquote1.png เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย เชียงราย
ชื่ออักษรโรมัน Chiang Rai
ผู้ว่าราชการ นายสุเมธ แสงนิ่มนวล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-57
สีประจำกลุ่มจังหวัด ม่วง ███
ต้นไม้ประจำจังหวัด กาสะลองคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัด พวงแสด
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 11,678.369 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 12)
ประชากร 1,194,933 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 14)
ความหนาแน่น 102.32 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 47)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ถนนฤทธิประศาสน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000
โทรศัพท์ (+66) 0 5371 9143
เว็บไซต์ จังหวัดเชียงราย
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดเชียงราย

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงราย เป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน

เนื้อหา

[แก้] พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พ่อขุนเม็งรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงหม่จนถึง พ.ศ. 1860 จึงสวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่า

สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพระไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่

ครั้นต่อมาเมื่อแคว้นล้านนาไทยตกไปอยู่ในปกครองของพม่า พม่าได้ตั้งขุนนางมอญคือพระยาชิตวงศ์มาปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งมอญก็คงครองเมืองเชียงรายสืบต่อ ๆ กันมาจนถึง พ.ศ. 2329 ปีนั้น พระยายองกับพระยาแพร่คิดด้วยกันจะสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร จึงจับเอาปะกามณี แม่ทัพที่พม่าตั้งให้ปกครองเมืองเชียงราย เป็นเชลยแล้วนำตัวส่งลงมาถวายยังกรุงเทพมหานคร

ต่อมา พ.ศ. 2330 พม่ายกกองทัพจากแคว้นเชียงตุงลงมา ตีได้เมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย ทัพเมืองฝางจึงเข้าสมทบทัพพม่า และทัพพม่านี้เดินทางผ่านเมืองพะเยาลงมาเอาเมืองนครลำปาง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ร้างไปถึง พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองโดยให้สังกัดเมืองเชียงใหม่ กระทั่ง พ.ศ. 2453 จึงมีพระราชบัญญัติยกเมืองเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด

[แก้] สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมาก และยังผลให้ฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปีอุณหภูมิจะต่ำมาก เฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียส และในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยใน พ.ศ. 2541 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,510 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองเชียงราย
  2. อำเภอเวียงชัย
  3. อำเภอเชียงของ
  4. อำเภอเทิง
  5. อำเภอพาน
  6. อำเภอป่าแดด
  7. อำเภอแม่จัน
  8. อำเภอเชียงแสน
  9. อำเภอแม่สาย
  1. อำเภอแม่สรวย
  2. อำเภอเวียงป่าเป้า
  3. อำเภอพญาเม็งราย
  4. อำเภอเวียงแก่น
  5. อำเภอขุนตาล
  6. อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  7. อำเภอแม่ลาว
  8. อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
  9. อำเภอดอยหลวง
 แผนที่

[แก้] เศรษฐกิจ

ภูชี้ฟ้า

พลเมืองส่วนมากมีอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนั้นก็ทำสวนเมี่ยง ทำไร่ยาสูบ ไร่อื่น ๆ ตลอดจนทำป่าไม้ ปศุสัตว์ ทำสวนเป็นต้น

[แก้] การคมนาคม

การคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดเชียงราย กระทำได้โดยการโดยสารรถไฟสายเหนือลงที่สถานีลำปางเป็นระยะทางหกร้อยสี่สิบสองกิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางอีกสองร้อยสามสิบสี่กิโลเมตร รวมเป็นแปดร้อยเจ็ดสิบหกกิโลเมตร หรือจะโดยสารรถทั่วไปจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางเก้าร้อยสี่สิบสามกิโลเมตร

นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังมีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย (ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย)

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด : รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพ่อขุนเม็งรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พ่อขุนเม็งร้ายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนเม็งรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พ่อขุนเม็งรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น[3]
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพวงแสด (Pyrostegia venusta)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาสะลองคำ (Radermachera ignea) โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี[3]
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

วัดร่องขุ่น
พระตำหนักดอยตุง
ภูชี้ฟ้า

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางบก

[แก้] สำนักสงฆ์และที่พักสงฆ์

[แก้] การศึกษา

[แก้] สถาบันอุดมศึกษา

[แก้] สถาบันอาชีวศึกษา

[แก้] โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

[แก้] ชาวเชียงรายที่มีชื่อเสียง

กาสะลองคำ

[แก้] เกร็ดข้อมูล

  • สับปะรดนางแลเป็นสับปะรดที่มีชื่อเสียงของจังหวดเชียงราย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ สีเหลืองสด และมีรสชาติหวานฉ่ำ
  • สับปะรดภูแลเป็นสับปะรดลูกผสมระหว่างสับปะรดนางแลกับสับปะรดภูเก็ต มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือเหมือนพันธุ์ภูเก็ตและมีสีเหลืองสด รสชาติหวานฉ่ำเหมือนพันธุ์นางแล นิยมปลูกมากบริเวณตำบลนางแล
  • อำเภอแม่สาย มีทิวเขาชื่อทิวเขานางนอน ซึ่งถ้ามองจากที่ไกลจะเห็นเหมือนผู้หญิงนอนหงายอยู่ โดยจะมองเห็นชัดว่ามีหน้าผาก จมูก ปาก คาง คอ และมีผมยาว โดยสามารถมองเห็นได้จากด้านซ้ายมือบนถนนเชียงราย-แม่สาย ว่ากันว่าที่ชื่อ "นางนอน" นี้ เดิมมีหญิงเชียงรายนางหนึ่งรักกับชายชาวกรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาชายนั้นจากไป ซึ่งหญิงก็คงรออยู่จนทอดกายกลายเป็นภูเขา
  • วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนดอยเขาควาย ไปตามเส้นทางไปดงมะดะ มีตำนานเหลือเชื่อของ แมงสี่หูห้าตากินถ่านไฟแดงและถ่ายเป็นทองคำ บนยอดดอยมีจุดชมวิวของตัวเมืองเชียงราย สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  3. ^ 3.0 3.1 จังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). สัญลักษณ์ประจำจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chiangrai.net/CPOC/2009/Articles/viewArticle.aspx?A=2. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
  • อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2512-2513). "เชียงราย 1". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (เล่ม 10 : ฉันท์-เชียงราย). พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. หน้า 6481-6483.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 19°55′N 99°50′E / 19.91°N 99.83°E / 19.91; 99.83