ท่าอากาศยานดอนเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
Bangkok International Airport, terminal 1 arrivals-KayEss-2.jpeg
IATA: DMK - ICAO: VTBD
รายละเอียด
ชนิด สนามบินพาณิชย์
จัดการโดย บมจ. ท่าอากาศยานไทย
เมืองใกล้เคียง กรุงเทพ
สูงจาก
ระดับน้ำทะเล
3 (9 ฟุต)
พิกัด 13°54′45″N, 100°36′24″E
รันเวย์
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
03L/21R
03R/21L
3,700
3,500
12,139
11,482
ลาดยาง
ลาดยาง
แผนผังท่าอากาศยานดอนเมือง

ท่าอากาศยานดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีการนำเที่ยวบิน ภายในประเทศบางเที่ยวบินมาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] การก่อตั้ง

นับตั้งแต่การยกเลิกใช้สนามบินสระปทุม ส่วนหนึ่งของสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากสาเหตุคับแคบ มีเนื้อที่จำกัด และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม ไม่ห่างไกลจากพระนคร และเป็นพื้นที่ที่ สามารถพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต โดยมี นายพันโท พระเฉลิมอากาศ หัวหน้านายทหารนักบินชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ทำหน้าที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นสนามบินถาวร

จากการบินสำรวจทางอากาศได้เห็นที่นาซึ่งเป็นที่ดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจึงได้สำรวจทางพื้นดิน ได้ความว่า พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า "ดอนอีเหยี่ยว" เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณที่ดอนนี้ ทั้งยังมีทางรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน พื้นที่นี้อยู่ห่างจากสนามบินสระปทุมไปทางเหนือใช้เวลาบินประมาณ 13 นาที (ด้วยเครื่องบินเบรเกต์สมัยนั้น) คิดเป็นระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรเศษ บริเวณนี้เป็นที่นามีหลายเจ้าของเช่น ที่นาของหมื่นหาญ ใจอาจ ซึ่งท่านผู้นี้มีที่นาจำนวนมาก ได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้สร้างเป็นวัด สมัย นั้นยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอนอีเหยี่ยว" ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกองบินขึ้นที่บริเวณนี้และเรียกกันว่า "ดอนเมือง" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดดอนเมือง" ตามชื่อสนามบินไปด้วย นอกจากนั้นยังมีที่นาของพระยาอร่ามมณเฑียร และราษฎรคนอื่น ๆ อีกหลายเจ้าของ บางส่วนเป็นที่ดินของ กรมรถไฟหลวง นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ได้รายงานขึ้นตามลำดับชั้น เพื่อขอจัดสร้างสนามบินถาวรขึ้นที่บริเวณนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดซื้อบ้าง ขอเวนคืนบ้าง และมีผู้บริจาคให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการบ้าง

เวลาต่อมา กรมเกียกกายทหารบกได้ดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็นสนามหญ้าที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้น-ลงได้ พร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบิน และอาคารสถานที่ทำการตามความจำเป็น วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 กรมเกียกกายทหารบกดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งมอบให้กรมจเรการช่างทหารบก และเรียกชื่อสนามบินนี้ว่า "สนามบินดอนเมือง"

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2457 นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย นำเครื่องบินจากสนามบินสระปทุมมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์ ในตอนเช้า

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้ง กองบินทหารบกขึ้น และย้ายไปเข้าที่ตั้งถาวรที่สนามบินดอนเมือง นับเป็นรากฐานที่มั่นคงของกิจการการบินของไทยที่ได้เริ่มต้นขึ้น ณ ที่นี้ กองทัพอากาศได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ระลึกกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองการบินพลเรือนขึ้นดำเนินงานเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมการบินพลเรือน ได้ปรับปรุงสนามบินดอนเมือง และเรียกชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง (อังกฤษ: Don Muang Airport) จัดเป็นท่าอากาศยานสากล จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ท่าอากาศยานกรุงเทพ (อังกฤษ: Bangkok Airport ต่อมาเปลี่ยนเป็น Bangkok International Airport)

แต่ในเมื่อมีการย้ายเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมดไปสู่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นเหตุให้การบริการสำหรับเที่ยวบินเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมด หยุดตัวลง แต่อย่างไรก็ดี เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มติของคณะรัฐมนตรีในสมัย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็ได้มีความต้องการที่จะให้มีการเปิดบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง อีกรอบหนึ่ง เนื่องมาจากมีการพบปัญหาหลายประการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อการขยายและพัฒนาประสิทธิภาพของดอนเมืองให้มีความคล่องตัว รองรับในระบบการอากาศยาน นอกเหนือจากการบินพาณิชย์แล้ว ทำให้มีการกลับมาเปิดให้บริการอีกรอบหนึ่งและกลับมาใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง เหมือนเช่นเดิม (อังกฤษ: Don Mueang International Airport) ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา

[แก้] พื้นที่

พื้นที่สนามบินดอนเมืองในสมัยเริ่มแรก จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 มีพื้นที่ 1,770 ไร่ พื้นดินเป็นสนามหญ้า มีผิวดินชนิดดินปนทรายแดง เครื่องบินขนาดใหญ่ของสายการบินพาณิชย์ไม่สามารถจะใช้ขึ้นลงได้ในฤดูฝน พ.ศ. 2476 รัฐบาลอนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันดำเนิน การสร้างทางขึ้นลงเป็นคอนกรีตและราดยางแอสฟัลต์ พร้อมกับให้สร้างถนนเชื่อมระหว่างสนามบินดอนเมืองกับพระนคร (ถนนพหลโยธิน) ทางวิ่งดังกล่าวแล้วเสร็จเรียบร้อยเปิดใช้การได้ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2478 และในปี พ.ศ. 2522 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่สังกัดกับกรมการบินพลเรือน ต้องถูกโอนถ่ายมาสังกัดกับ ทอท.แทน

สนามบินดอนเมืองได้รับการ ขยายพื้นที่ตลอดมา โดยการขอซื้อที่ดินของกรมรถไฟหลวงที่มีพื้นที่ติดต่อกับสนามบินดอนเมืองบ้าง และซื้อจากเอกชนบ้าง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2538 พื้นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 3,881 ไร่

ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทกท.) ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร เป็นจุด ศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการจราจรทางอากาศไปยังจุดต่าง ๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะ เป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็น จุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่น ๆ ได้อย่างดี

[แก้] สถิติการเติบโต

การเติบโตของท่าอากาศยานแต่ละแห่งสามารถวัดได้จากอัตราการเจริญเติบโตของปริมาณผู้โดยสาร จำนวนการขึ้น-ลงของอากาศยาน และปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศ ซึ่งผลการให้บริการของท่าอากาศยานกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 นับเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์สากลที่สำคัญมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางและเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม

สถิติในช่วงปีงบประมาณ 2522-2548 ของผลการดำเนินงานให้บริการทางอากาศในด้านการขึ้น-ลงของอากาศยาน พบว่าในปีงบประมาณ 2522 มีเที่ยวบินรวม 51,518 เที่ยวบิน และเพิ่มขึ้นเป็น 265,122 เที่ยวบินในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6.69 โดยในปีงบประมาณ 2548 ให้บริการสายการบินแบบประจำขนส่งผู้โดยสารรวม 79 สายการบิน เที่ยวบินร่วม 7 สายการบิน และเที่ยวบินขนส่งสินค้าอย่างเดียวอีก 11 สายการบิน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเที่ยว บินของสายการบินราคาประหยัด

ในส่วนของจำนวนผู้โดยสารรวมของท่าอากาศยานกรุงเทพเพิ่มขึ้นจาก 5,135,490 คน ในปีงบประมาณ 2522 เป็น 38,889,229 คน ในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 8.45 โดยเฉพาะในช่วงปีงบประมาณ 2530-2532 ผลการดำเนินงานให้บริการในด้านผู้โดยสารอยู่ในระดับที่ดีมาก ทั้งนี้เนื่องจากปี 2530 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวไทย ประกอบกับปี 2531 เป็นปีที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงสุดในรอบ 30 ปีของการพัฒนา

[แก้] ทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าทำการยึดบริเวณเนื้อที่ทั้งหมดของทำเนียบรัฐบาล เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากพันธมิตรฯ ได้มีความรู้สึกว่าการบริหารงานของรัฐบาลของนาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่น่าเชื่อถือต่อประชาชนอีกต่อไป เดือนกันยายน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้อนุญาตให้ สำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลไทย เข้าใช้พื้นที่ประกอบการต่างๆ เป็นการชั่วคราวในระยะสั้น ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นวันสุดท้าย ซึ่งสลายการชุมนุมไปแล้ว

สำหรับในอดีต ที่ท่าอากาศยานฯ มีคณะรัฐมนตรีของนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปฏิบัติการเฉพาะพื้นที่อาคารรับรองพิเศษ ของท่าอากาศยานฯ เท่านั้น

[แก้] การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

[แก้] พ.ศ. 2551

[แก้] พ.ศ. 2552

  • การจัดแสดงนิทรรศการการบินพลเรือน ที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2
  • การแสดงเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ที่ลานจอดและทางวิ่งเครื่องบิน (อนึ่งเคยทำการแสดงมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2537)
  • การเปิดตัวอัลบั้มของ ทาทา ยัง ในชุด ทาทาเทกยูทูเดอะเวิลด์ และมีการฉายปฐมทัศน์ จากอัลบั้ม มายบลัดดีวาเลนไทน์ ที่ลานจอดเครื่องบิน

[แก้] พ.ศ. 2553

  • การจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2553 ที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2 [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] ข้อมูลอาคารผู้โดยสาร

ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มี 3 อาคารผู้โดยสาร ในอดีตท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองถือเป็นท่าอากาศยานหลักของ กรุงเทพมหานคร เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสร้างเสร็จ สายการบินทั้งหมดได้ถูกย้ายไปทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแทน ตั้งแต่คืนวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีการนำเที่ยวบินภายในประเทศบางเที่ยวบินมาทำการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

[แก้] อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (อาคาร 1 และ 2)

  • โดยปัจจุบัน ไม่มีสายการบินพาณิชย์จากรายต่างๆมาลง

[แก้] อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (อาคาร 3)

สำหรับอาคารที่มีสายการบินใช้การนอกเหนือจากข้อมูลข้างต้น คือ

[แก้] อาคารคลังสินค้า

[แก้] อาคารรับรองพิเศษ

[แก้] เจ้าของทรัพย์สิน

ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่ดินและการบริการอากาศยานพาณิชย์อย่างเป็นทางการ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′45″N 100°36′06″E / 13.912407°N 100.601549°E / 13.912407; 100.601549