ภาคกลาง (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ภาคกลาง)
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา

ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในบางบริบท ภาคกลางอาจหมายรวมถึงภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย

เนื้อหา

[แก้] การแบ่งพื้นที่

ราชบัณฑิตยสถาน ได้แบ่งภาคกลางออกเป็น 22 จังหวัด (ระบบ 6 ภาค) อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วย [1]

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. นครนายก
  5. นครปฐม
  6. นครสวรรค์
  7. นนทบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. พิจิตร
  11. พิษณุโลก
  12. เพชรบูรณ์
  13. ลพบุรี
  14. สมุทรปราการ
  15. สมุทรสงคราม
  16. สมุทรสาคร
  17. สระบุรี
  18. สิงห์บุรี
  19. สุโขทัย
  20. สุพรรณบุรี
  21. อ่างทอง
  22. อุทัยธานี

นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 9 จังหวัดได้แก่ [1]

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับ ถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบ ของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของ จ.อุตรดิตถ์ลงไปจนจดอ่าว ไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณ ของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทาง จ.นครสวรรค์ และด้านตะวันตกของ จ.พิษณุโลก

ซึ่งภูเขาโดดเหล่านี้ จากหลักฐานทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึง จ.อุตรดิตถ์ในหลายยุคหลายพื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้ง การกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สาย ซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ บริเวณภาคกลาง เมื่อพิจารณา ตามลักษณะโครงสร้าง สามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขต จ.กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณทางตอนใต้ของ จ.อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์

ภูมิประเทศโดยทั่ว ๆ ไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของ แม่น้ำสาย สำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้น อาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทราย ที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้าย ๆ ลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่าย แก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำ ทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือ ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง ยม และน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและเทือกเขาจดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวเทือกเขาดังกล่าว ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหลวงพระบาง ระหว่างเทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 และเทือกเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขต อ.หล่มสักและ จ.เพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ เทิกเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ ไดโอไรท์ ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของ เทือกเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับ ลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจดกับที่ราบลุ่มแม่น้ำ ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของ จ.นครสวรรค์ ลงไปจนจดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่าง บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง พัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่าน บริเวณที่เป็นที่ราบความเร็วของกระแสน้ำลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ทรายละเอียด ดินเหนียว ดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และ ยังก่อให้เกิดสันดอนในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรค ในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา มีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้น ดินตะกอน ในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้ บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของ จ.อุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรีและนครปฐม และบางบริเวณทางด้าน ตะวันออกของ จ.สระบุรี ลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศ ดังกล่าวในทางธรณีสัณฐานวิทยาแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการ ที่ทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มา ทับถมในบริเวณเชิงเขาและส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของ จ.ลพบุรี โดยเฉพาะในเขต อ.โคกสำโรง ลำนารายณ์ เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทา เข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณ มีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลท์ และหินแอนดีไซต์ ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อ.เมือง จ.ลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของ ประเทศ

[แก้] เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคกลาง

  • ซอด้วง
  • ซอสามสาย
  • ซออู้
  • จะเข้
  • ปี่
  • ขลุ่ย
  • โทนรำมะนา
  • ฆ้องวงเล็ก
  • ฆ้องวงใหญ่
  • ระนาดเอก
  • ระนาดทุ้ม
  • ฉิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง