วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
แพทย์วชิระ.gif

วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เป็นคณะแพทยศาสตร์เพียงแห่งเดียวในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล และเรียนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร โดยเป็นสถาบันที่เปิดสอนและดูแลนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2536 วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครได้เริ่มรับนักศึกษาเอง พร้อมกับเข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล[1] โดยการจัดสอบคัดเลือกนักศึกษานั้น ได้สมทบร่วมกับการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ในปีการศึกษาต่อมาได้รับนักศึกษาผ่านการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาโดยทบวงมหาวิทยาลัย และในปัจจุบันได้รับนักศึกษาแพทย์ร่วมกับ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ทั่วประเทศกว่า 10 สถาบัน โดยจะจัดสอบวิชาเฉพาะ และวิชาสามัญโดยกสพทเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล "

[แก้] การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 1 จะศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไปเช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส สถิติ ชีวเคมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและวิชาศึกษาทั่วไป(MUGE) ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ศาลายา

ในชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาคต้น จะศึกษาระดับ pre-clinic ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก ในความรับผิดชอบของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท

ในชั้นปีที่ 3 ภาคปลาย และ ระดับ clinic ปีที่ 4-6 อยู่ในความรับผิดชอบของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 จะมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลในสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครด้วย

เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมหิดล และต้องเข้าสู่ระบบการจัดสรรของคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือองค์กรรัฐบาลต่อไป




[แก้] ค่ายเปิดเสื้อกาวน์ (OPENGOWN)

สำหรับกิจกรรมที่ทางวิทยาลัยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เข้ามาสัมผัสชีวิตการเรียนแพทย์ และการทำงานของแพทย์

คือ ค่ายเปิดเสื้อกาวน์ (opengown)

ซึ่งได้รับความนิยมในการสมัครเป็นอย่างมาก และกระแสตอบรับทั้งก่อนและหลังการเข้าค่ายเป็นอย่างดี

โดยในปี 2553 นี้ ค่ายเปิดเสื้อกาวน์(OPENGOWN)ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 11


ปี 2543 - OPENGOWN 1


ปี 2544 - OPENGOWN 2


ปี 2545 - OPENGOWN 3


ปี 2546 - OPENGOWN 4


ปี 2547 - OPENGOWN 5


ปี 2548 - OPENGOWN 6


ปี 2549 - OPENGOWN 7


ปี 2550 - OPENGOWN 8 "หมอบางกอกครองเมือง"


ปี 2551 - OPENGOWN 9 "พลิกตำนานบ้านทรายทอง สู่มุมมองชีวิตแพทย์" (โดย นศพ. วชิรพยาบาลรุ่น 14 ประธานค่ายคือ "นศพ. อนนต์ ใจอ่อนน้อม")


ปี 2552 - OPENGOWN 10 "The X Files เปิดแฟ้มลับ นักศึกษาแพทย์" (โดย นศพ. วชิรพยาบาลรุ่น 15 ประธานค่ายคือ "นศพ. โสภณ ดวงทิพย์เนตร")


ปี 2553 - OPENGOWN 11'n Fashion "เรียนหมอ! แน่ใจหรือ ว่าไม่ได้ตามแฟชั่น"


OPENGOWN 11'n Fashion เปิดรับสมัครแล้ว วันนี้ ถึง 16 สิงหาคม 2010

แล้วจะรู้ว่า ที่อยากเรียนหมอน่ะ ตามแฟชั่นหรือเปล่า?


สามารถดูข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับค่ายเปิดเสื้อกาวน์ ได้ที่ http://www.opengown-camp.com[1]

[แก้] โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] เหตุการสำคัญ

สำหรับเหตุการที่เกิดขึ้นล่าสุดกับทาง วพบ. จากการที่คนเสื้อแดง นปช.บุกห้อง ER เพื่อเอาศพผู้เสียชีวิต แต่ด้วยความเป็นหนึ่งเดียว(สามัคคี)ของเจ้าหน้าที่สามารถผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกไปได้ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ย่อมให้กฎหมู่อยู่หรือกติกาที่ตั้งได้ โดยสามารถดูจากคลิปวีดิโอได้ที่นี้ [2]