ประเทศเลบานอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สาธารณรัฐเลบานอน)


ܩܘܛܢܝܘܬܐ ܕܠܒܢܐܢ
الجمهورية اللبنانية
Al-Jumhūriyyah al-Lubnāniyyah
อัล จุมฮูรียะห์ อัล ลุบนานิยะห์
สาธารณรัฐเลบานอน
ธงชาติเลบานอน ตราแผ่นดินของเลบานอน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญKūllūnā li-l-waṭan, li-l-'ula wa-l-'allam   (ภาษาอาหรับ)
"เราทุกคน เพื่อชาติ เพื่อธง และเพื่อความรุ่งเรืองของเรา"
เพลงชาติKūllūnā li-l-waṭan, li-l-'ula wa-l-'allam
ที่ตั้งของเลบานอน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เบรุต

33°54′N 35°32′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี มิเชล ซูเลยมัน
 -  นายกรัฐมนตรี ฟูอัด ซีนีโอรา
ได้รับเอกราช
 -  ประกาศ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 
 -  ยอมรับ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 10,452 กม.² (ลำดับที่ 166)
 -  พื้นน้ำ (%) 1.6
ประชากร
 -  2549 ประมาณ 3,874,050 (อันดับที่ 113)
 -  ความหนาแน่น 358/กม.² (อันดับที่ 26)
GDP (PPP) 2005 ประมาณ
 -  รวม 24.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 103)
 -  ต่อประชากร 6,681 (อันดับที่ 90)
HDI (2006) 0.774 (กลาง) (อันดับที่ 78)
สกุลเงิน Lebanese lira (LL) (LBP)
เขตเวลา EET (UTC+2)
 -  ฤดูร้อน (DST) EEST (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .lb
รหัสโทรศัพท์ +961

สาธารณรัฐเลบานอนเป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนื่องจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและฮิซบุลลอหฺ อิสราเอลยกกำลังสามเหล่าทัพโจมตีประเทศเลบานอน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงปี ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า

[แก้] การเมือง

สถาบันทางการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่ รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a) ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน)

เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) :

เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) :

เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) :

เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) :

เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) :

เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) :

[แก้] ภูมิศาสตร์

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] ศาสนา

ศาสนาอิสลามร้อยละ 70, ศาสนาคริสต์ร้อยละ 30 [1] หน่วยงานบางแห่งมีการประมาณจำนวนที่ต่างกัน ศาสนาอิสลามร้อยละ 50 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 50 [2]

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ CIA Worldfactbook 2001
  2. ^ [1] เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2544

ภาษาอื่น