เขตบางขุนเทียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางขุนเทียน
Cquote1.png หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งเกษตรกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพฯ Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย เขตบางขุนเทียน
อักษรโรมัน Khet Bang Khun Thian
รหัสทางภูมิศาสตร์ 1021
รหัสไปรษณีย์ 10150
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 120.687 ตร.กม.
ประชากร 150,492 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 1,246.96 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง เลขที่ 164 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
พิกัด 13°39′39″N, 100°26′9″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2415 1522
หมายเลขโทรสาร 0 2415 1522
เว็บไซต์ เว็บไซต์สำนักงานเขตบางขุนเทียน
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

[แก้] ประวัติศาสตร์

อำเภอบางขุนเทียน เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ

ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตบางขุนเทียนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. ท่าข้าม (Tha Kham)
2. แสมดำ (Samae Dam)

[แก้] การคมนาคม

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่

ส่วนถนนสายรองและทางลัด ได้แก่

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] วัด

[แก้] สถานศึกษา

[แก้] มหาวิทยาลัย

[แก้] โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3

[แก้] โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

  • โรงเรียนวัดกก
  • โรงเรียนวัดกำแพง
  • โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
  • โรงเรียนวัดเลา
  • โรงเรียนวัดท่าข้าม
  • โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล)
  • โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
  • โรงเรียนวัดสะแกงาม
  • โรงเรียนวัดแสมดำ
  • โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
  • โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
  • โรงเรียนวัดบัวผัน
  • โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
  • โรงเรียนวัดบางกระดี่
  • โรงเรียวัดหัวกระบือ
  • โรงเรียนวัดประชาบำรุง
  • โรงเรียนวัดประทีปพลีผล (พระครูพิพิธพัฒนโสภณ อุปถัมภ์)

[แก้] โรงพยาบาล

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

  • คลองบางมด
  • จุดชมลิง
  • ชายทะเลบางขุนเทียน
  • ชุมชนแสนตอ
  • ป่าชายเลน
  • พระตำหนักพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
  • พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
  • พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
  • พิพิธภัณฑ์แสดงว่าวไทย
  • วัดกก

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


BlankMap Thailand icon.png เขตบางขุนเทียน เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตบางขุนเทียน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย