เขตราชเทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราชเทวี
Cquote1.png นามราชเทวีศรีสง่า ล้ำคุณค่าวังพญาไท อนุสาวรีย์ชัยฯ ทหารหาญ ศิลปะโบราณ
วังสวนผักกาด เด่นผงาดใบหยกตึกระฟ้า
งามจับตาผ้าไหมที่บ้านครัว
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย เขตราชเทวี
อักษรโรมัน Khet Ratchathewi
รหัสทางภูมิศาสตร์ 1037
รหัสไปรษณีย์ 10400
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 7.126 ตร.กม.
ประชากร 77,078 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 10,816.44 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง เลขที่ 10 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
พิกัด 13°45′32″N, 100°32′04″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2354 4201 ต่อ 6756-8
หมายเลขโทรสาร 0 2354 4210 ต่อ 6757
เว็บไซต์ เว็บไซต์สำนักงานเขตราชเทวี
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

[แก้] ที่มาของชื่อเขต

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

ชื่อเขตตั้งตาม สี่แยกราชเทวี ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยคำว่า ราชเทวี นั้นมาจากชื่อสะพานข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ที่ตั้งชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ว่า สะพานพระราชเทวี

[แก้] ประวัติศาสตร์

พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท

เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทเปลี่ยนฐานะเป็นเขตพญาไท ตำบลต่าง ๆ ในท้องที่จึงมีฐานะเป็นแขวง

ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. ทุ่งพญาไท (Thung Phaya Thai)
2. ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai)
3. ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi)
4. มักกะสัน (Makkasan)

[แก้] การคมนาคม

ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่

ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น นอกจากนี้ในพื้นที่เขตยังมีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนบริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองเขตแดนแคบ ๆ ทางทิศใต้

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′32″N 100°32′02″E / 13.759°N 100.534°E / 13.759; 100.534