เซ็นทรัลเวิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซ็นทรัลเวิลด์

Central World.png
CentralWorld-Dec2006.jpg
ที่ตั้ง 999/9 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
เปิดบริการ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ พ.ศ. 2533
เซ็นทรัลเวิลด์ พ.ศ. 2549
สถานะ ถูกเพลิงไหม้
จากเหตุจลาจล
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ปิดบริการ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
บริหารโดย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา
พื้นที่ 550,000 ตารางเมตร
ความจุของที่จอดรถ 7,000 คัน
จำนวนชั้น 8 ชั้น (ศูนย์การค้า)
7 ชั้น (เซน เมก้าสโตร์)
13 ชั้น (อาคาร เซนเวิลด์)
6 ชั้น (ห้างสรรพสินค้า อิเซตัน)
51 ชั้น (อาคารสำนักงาน)
55 ชั้น (โรงแรม)
เว็บไซต์ www.centralworld.co.th

เซ็นทรัลเวิลด์ เดิมชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นโครงการศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ ตัดกับถนนพระราม 1 เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจาก เอส.เอ็ม. ซิตี้ นอร์ธ อี.ดี.เอส.เอ. (SM City North EDSA) ของประเทศฟิลิปปินส์ และมีพื้นที่ขายมากเป็นอันดับสามของโลก [1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

พื้นที่ของศูนย์การค้าเป็นที่ตั้งเดิมของวังเพ็ชรบูรณ์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ สิ้นพระชนม์ นักธุรกิจญี่ปุ่นได้ขอซื้อที่ดินบริเวณวังเพื่อก่อสร้างห้างไทยไดมารู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศูนย์การค้าราชประสงค์ จากนั้น บริษัท วังเพชรบูรณ์ โดยนายอุเทน เตชะไพบูลย์ ได้เช่าที่ดินนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อก่อสร้างห้างสรรพสินค้า

เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 และเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าเซน (ZEN) และ อิเซตัน (Isetan)

เมื่อบริษัท วังเพชรบูรณ์ ประสบปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงแรมและอาคารสำนักงานให้แล้วเสร็จ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้ามาประมูลเป็นผู้บริหารศูนย์การค้า ซึ่งบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาคือกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์

ปัจจุบันโครงการนี้บริหารงานโดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (CPN) โดยในระยะแรกเป็นการปรับปรุงและต่อเติมอาคารสำนักงาน ที่ทางเจ้าของพื้นที่เดิมได้สร้างไว้แต่ยังไม่แล้วเสร็จ จากนั้นจึงเริ่มปรับปรุงในส่วนของศูนย์การค้าโดยเปลี่ยนชื่อเป็น เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า (Central World Plaza) และสร้างเซ็นทรัลเวิลด์สกายวอล์ก (CentralWorld Skywalk) ทางเชื่อมลอยฟ้าระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีชิดลม และสถานีสยาม โดยความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ต่อมาในปี 2549 บริษัทได้มีการปรับปรุงทั้งบริเวณโดยรอบทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การค้า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

อาคารส่วนของห้าง ZEN ที่ถล่มลงมา
ZEN World ส่วนที่เหลือ

ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน เริ่มใช้พื้นที่แยกราชประสงค์ เป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมือง จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังอาวุธเข้าสลายการชุมนุม จนทำให้แกนนำต้องประกาศยุติการชุมนุม จากนั้นเกิดเหตุจลาจลขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร ลุกลามไปสู่ปริมณฑลและต่างจังหวัด เป็นผลให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถูกทุบทำลายและเกิดเพลิงไหม้ โดยมีข่าวปรากฏออกมาว่า ผู้ชุมนุมบางส่วนเป็นผู้กระทำ[2][3] ทั้งนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ เพลิงไหม้ส่งผลให้ส่วนของห้างสรรพสินค้าเซน มีการทรุดตัวลง จนในเวลา 02.00 น. วันที่ 20 พฤษภาคม จึงสามารถควบคุมเพลิงได้ หลังลุกไหม้นานกว่า 10 ชั่วโมง [4] จากการตรวจสภาพในวันถัดมาพบว่า เพลิงไหม้ห้างประมาณ 1 ใน 3 โดยอาคารห้างสรรพสินค้าเซนและโซนเอเทรียม 1 ได้รับความเสียหายมากที่สุด ส่วนโรงแรม อาคารสำนักงาน และอาคารอิเซตันไม่ได้รับความเสียหาย[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การแบ่งพื้นที่ภายในศูนย์การค้า

สถาปัตยกรรมทรงโค้งเหมือนคลื่น อันเป็นจุดเด่นของโซน Atrium

เซ็นทรัลเวิลด์ได้เพิ่มโซนจากเดิม 3 โซน เป็น 7 โซน และ 4 อาคารประกอบ ดังต่อไปนี้

  • Atrium เอเทรียม เป็นโซนตกแต่งแบบหรูหรา สถาปัตยกรรมทรงโค้งเหมือนคลื่น
  • Beacon บีคอน มีลานกว้างรูปเปลือกหอย Marquise เป็นเอกลักษณ์ของโซน
  • Central Court เซ็นทรัลคอร์ท เป็นจุดเชื่อมต่อของศูนย์การค้า ลักษณะเป็นลานวงกลมใหญ่ จุดเด่นคือ ลิฟท์แก้วแบบพาโนรามา 360 องศา 2 ตัว และ บันไดเลื่อนแบบวนรอบ
  • Dazzle แดสเซิล จุดเด่นคือเป็นที่ตั้งร้านค้าค้าปลีกชั้นนำในโซนเดียว รวมทั้งเป็นที่ตั้งของลิฟท์ทางเชื่อมสู่บางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อีกด้วย
  • Eden อีเดน จุดเด่นเป็นลานทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า มีเพดานสูง โทนสีขาวสบายตา และติดตั้งโมบายพลาสติกใสที่จะมีแสงส่อง เสมือนว่าเปลี่ยนสีได้
  • Forum ฟอรัม จุดเด่นคือเป็นลานที่ออกแบบเพื่องานแฟชั่นโชว์ และมีเวทีไฮดอร์ลิดที่สามารถปรับระดับได้ มีร้านค้าประเภทเสื้อผ้าและแฟชั่น และมีแผงกั้นทางเดินที่เปลี่ยนสีได้
  • Centerpoint เซ็นเตอร์พ้อยท์ โซนใหม่ล่าสุดของศูนย์การค้า ตั้งอยู่ที่ชั้น 7-8 ในพื้นที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เดิมซึ่งประกอบไปด้วย Centerpoint Playhouse และ Cyberia DigitalPlayground โรงละครและศูนย์รวมของโลกดิจิตอลแห่งใหม่
  • The Offices at Centralworld ดิออฟฟิศเซส แอทเซ็นทรัลเวิลด์ อาคารสำนักงานทันสมัย ลิฟท์ความเร็วสูง ระบบคีย์การ์ด
  • Centara Grand Hotel โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาว พร้อมภัตตาคารลอยฟ้า และศูนย์แสดงสินค้าและห้องประชุม
  • Zen World เซน เวิลด์ อาคารที่รวบรวมความบันเทิง อยู่ด้านบนห้างสรรพสินค้าเซน และยังมีร้านอาหารมุมมองพาโนรามา ฟิตเนส อีกมากมาย
  • Isetan อิเซตัน อาคารที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมเอาไว้ทั้งหมด

[แก้] อาคารและสถานที่สำคัญภายในบริเวณศูนย์การค้า

[แก้] ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

เซน เมก้า สโตร์

เซ็นทรัลเวิลด์เป็นศูนย์การค้าชูจุดเด่นเป็นไลฟ์สไตล์แลนด์มาร์กของกรุงเทพ มีร้านค้ามากกว่า 500 ร้านค้า, โรงภาพยนตร์, ฟู้ดฮอลล์, ห้องสมุด

  • ร้านสินค้าแบรนด์เนม เช่น Next, Billabong, Camper, Country Road, Ted Baker, Zara, Episode, Miss Sixty, TOPSHOP, TOPMAN, British India
  • ร้านอาหาร โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Bacolony on 3rd และ Heaven on 7th โดยมีร้านอาหารชั้นนำ เช่น MOS Burger, MK Gold, Gustuso, Kuu, The Manhattan Fish Market, Fondoz เป้นต้น
  • ร้านค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น
  • เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า กรุ๊ปจำนวน 15 โรง (ชั้น 7 8 และ 9) โดย World Max Screen เป็นโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่สุด ความจุ 800 ที่นั่ง นอกจากนี้ ยังมีโรงภาพยนตร์ระบบ Dolby 3D Digital และระบบ Digital 2K อีกด้วย
  • อุทยานการเรียนรู้ (ทีเคพาร์ค) ห้องสมุดทันสมัยแห่งแรกในประเทศไทย บริหารโดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (ชั้น 8)
  • ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน (Isetan) ห้างสรรพสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น สาขาเดียวในประเทศไทย [ต้องการอ้างอิง]
  • เซ็นเตอร์พ้อยท์ (Centerpoint) ศูนย์กลางแหล่งรวมวัยรุ่น ชั้น 7-8 โซน B ซึ่งย้ายมาจากสยามสแควร์ โดยแบ่งเป็นโซนร้านค้าสไตล์เอเชีย ไซบีเรีย เดอะ ดิจิตอล เพลย์กราวน์ และเซ็นเตอร์พอยท์ เพลย์เฮาส์
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็น (ZEN) ชูจุดเด่น "The First Ever Asia Trendy Mega Store" ตัวห้างแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ เซน เมก้าสโตร์ (ZEN Mega Store) ซึ่งเป็นส่วนสรรพสินค้า และ เซน เวิลด์ (ZENWorld) ซึ่งเป็นส่วนบริการต่าง ๆ เช่น ฟิตเนส หน่วยบริการการศึกษา ลานกิจกรรม สวนหย่อม และร้านอาหาร

[แก้] อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์

เป็นอาคารอัจฉริยะอาคารแรกในประเทศไทย [ต้องการอ้างอิง] ตัวอาคารมีความสูง 45 ชั้น มีระบบการจัดการการจราจรในแนวตั้งด้วยลิฟท์โดยสารความเร็วสูง และระบบคีย์การ์ดที่ลิฟท์

[แก้] โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ (Centara Grand and Bangkok Convention Center at CentralWorld) เป็นโรงแรมระดับห้าดาว ความสูง 55 ชั้น ประกอบด้วยห้องพัก จำนวน 505 ห้อง

[แก้] บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้า ประกอบด้วย

    • คอนเวนชัน ฮอลล์ พื้นที่ 5,403 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 8,000 ที่นั่ง
    • เวิลด์บอลรูม พื้นที่ 970 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 1,200 ที่นั่ง
    • ห้องโลตัสสวีต 1-15 พื้นที่ตั้งแต่ 66-210 ตารางเมตร

[แก้] พื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ

[แก้] เซ็นทรัลเวิลด์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

เซ็นทรัลเวิลด์ ยามค่ำคืน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′48″N 100°32′21″E / 13.746534°N 100.539220°E / 13.746534; 100.539220

ภาษาอื่น