เทศบาลนครแหลมฉบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลนครแหลมฉบัง
ตราประจำเทศบาลแหลมฉบัง
ตราประจำเทศบาลแหลมฉบัง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย แหลมฉบัง
ชื่อภาษาอังกฤษ Laem Chabang City
ข้อมูลสถิติ
ประชากร 64,607 คน
พื้นที่ 109.65 ตร.กม.
ความหนาแน่น 589.21 คน/ตร.กม.
สำนักงาน
ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง เลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
โทรศัพท์ (+66) 0 3840 0808-19
โทรสาร (+66) 0 3840 0822
เว็บไซต์ http://www.lcb.go.th/

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[1][2]

เนื้อหา

[แก้] เหตุผลในการจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง

จากบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2534 ให้เหตุผลว่า พื้นที่ในตำบลทุ่งสุขลาและพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม ตำบลบึง อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกอันเป็นท่าเรือพาณิชย์หลักของประเทศ ตลอดจนเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมและศูนย์พาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกตามโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมควรจัดตั้งท้องถิ่นในเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ด้วยการยกฐานะพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง ขึ้นเป็นเขตเทศบาล เพื่อให้เป็นองค์กรการปกครองท้องถิ่นทำหน้าที่ควบคุมและบังคับใช้แผนพัฒนาเมือง ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่จะให้บริการสังคมแก่ชุมชนและการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กับให้ประชาชนได้ปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นของตน

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 109.65 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของพื้นที่จังหวัดชลบุรี

  1. พื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลอ่าวอุดม มีพื้นที่จำนวน 72.56 ตารางกิโลเมตร รวม 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน
  2. พื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง มีพื้นที่จำนวน 16.03 ตารางกิโลเมตร รวม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน
  3. พื้นน้ำ (ทะเล) มีพื้นที่จำนวน 21.06 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันตกของเขตเทศบาล

โดยเทศบาลนครแหลมฉบังมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

[แก้] ประชากร

ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 70,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีจำนวน 45,012 คนแยกเป็นชาย 22,412 คน หญิง 22,601 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง

[แก้] ศาสนสถาน

ภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังมีวัด จำนวน 14 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง และศาลเจ้า 4 แห่ง

[แก้] การศึกษา

ภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

  1. โรงเรียนสังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรปะภา) และ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3
  2. โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดแหลมฉบัง โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนวัดบ้านนา (ฟินวิทยาคม) โรงเรียนวัดประทานพร โรงเรียนบ้านบางละมุง โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม โรงเรียนบ้านทุ่งกราด และโรงเรียนวัดหนองคล้า
  3. โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"
  4. โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนทนาพรวิทยา และโรงเรียนเทคโนโลยีแหลมฉบัง
  5. สถาบันอุดมศึกษา 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา)

[แก้] การสาธารณสุข

ภายในเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

  1. โรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลอ่าวอุดมและโรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร์
  2. ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 (เครือสหพัฒน์ฯ) และศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (ทุ่งกราด)
  3. คลินิก ประมาณ 10 แห่ง

[แก้] สภาพเศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลแหลมฉบัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเป็นหลัก มีอัตราการขยายตัวของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายในเขตเศรษฐกิจใหม่ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีภารกิจหลักที่จะต้องพัฒนา คือ ท่าเรือพาณิชย์หลักระหว่างประเทศ นิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหม่ ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างครบวงจร ทำให้เหมาะแก่การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแหลมฉบังและในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯ กลุ่มอุตสาหกรรมภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อจังหวัดชลบุรีและภาคตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดของจังหวัดชลบุรีประมาณไม่ต่ากว่า 1 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 154 บริษัท และมีการจ้างงานเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดชลบุรีประมาณ 5 หมื่นคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในสาขาการผลิตของจังหวัด

[แก้] กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

อุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าการลงทุนสูงสุดในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง แยกเป็น

  1. โรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง คือ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด, โรงกลั่นน้ำมันบริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ด ประเทศไทย (มหาชน) จำกัด และโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานบริษัทไทยลู้บเบส จำกัด
  2. คลังเก็บน้ำมันปิโตรเลียม 3 แห่ง ได้แก่ คลังเก็บน้ำมันของบริษัทไทยออยล์ จำกัด, คลังเก็บน้ำมันของบริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ด ประเทศไทย (มหาชน) จำกัด และคลังเก็บน้ำมันของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
  3. คลังเก็บก๊าซแอลพีจี ซึ่งเป็นก๊าซหุงต้ม 3 แห่งคือของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท เอสโซ่สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

[แก้] กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายเขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณแหลมฉบัง อยู่ในความรับผิดชอบของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,556 ไร่ ตำบลทุ่งสุขลาระหว่างกิโลเมตรที่ 126-129 แบ่งเป็น

  • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,098 ไร่
  • เขตอุตสาหกรรมส่งออก 1,098 ไร่
  • เขตพาณิชยกรรม 146 ไร่

ในปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมีบริษัทเข้าไปลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 98 บริษัท

[แก้] กลุ่มสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯ

โครงการอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯ เป็นโครงการของเอกชนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยบริษัทสหพัฒน์โฮลติ้งจำกัด ที่ตำบลหนองขาม บนพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม 780 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 และพื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม 520 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 40 มีพนักงานและคนงานทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ประกอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 71 บริษัท

[แก้] ท่าเรือแหลมฉบัง

ท่าเรือแหลมฉบังตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 120 กิโลเมตรและห่างจากเมืองพัทยาประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่อาณาบริเวณทางบกประมาณ 6,341 ไร่ (ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร) อาณาบริเวณทางน้ำประมาณ 55 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ถมทะเลเพื่อสร้างท่าเทียบเรือในโครงการขั้นที่ 1 ประมาณ 900 ไร่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับเรือบรรทุกตู้สินค้า เรือสินค้าประเภทสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพได้และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ภาษาอื่น