โตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โตเกียว
(東京都 (とうきょうと))
ตราประจำจังหวัดโตเกียว
ตราประจำจังหวัด
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อภาษาไทย โตเกียว
ชื่อภาษาญี่ปุ่น 東京都 (とうきょうと)
เมืองหลวงจังหวัด n/a
ภูมิภาค คันโต
เกาะ ฮอนชู
กุง 1
ชิโจซง 62
ผู้ว่าราชการ ชินทาโระ อิชิฮาระ
ISO 3166-2 JP-13
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ ซากุระ
ต้นไม้ แปะก๊วย
นก Black-headed Gull (Larus ridibundus)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 2,187.08 ตร.กม. (อันดับ 45)
ร้อยละพื้นน้ำ 1.0
ประชากร 12,984,660 คน[1] คน (1 มีนาคม พ.ศ. 2553) (อันดับ 1)
ความหนาแน่น 5,847[1] คน/ตร.กม.
เว็บไซต์ โตเกียว
แผนที่
 
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นโตเกียว

โตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都 Tōkyō-to ?)Loudspeaker.svg   หรือ กรุงโตเกียว เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน และเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก (โดยรวมเขตปริมณฑทลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 35 ล้านคน 35,237,000 คน [2]) โดยเฉพาะในตัวโตเกียวใน 23 เขตปกครองพิเศษในโตเกียว แล้วมีประชากรประมาณ 8 ล้านคน [3] ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ในปี 2548 โตเกียวได้รับการจัดอันดับเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2550 โตเกียวได้เป็นอันดับที่ 4 รองจาก มอสโก ลอนดอน และ โซล ตามลำดับ[4]โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในพื้นที่โตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังอิมพีเรียล

เนื้อหา

[แก้] ชื่อจังหวัด

โตเกียวเคยถูกเรียกว่าเอโดะ ซึ่งแปลว่าปากแม่น้ำ[5] เมื่อกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี 1868 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว ซึ่งแปลว่าเมืองหลวงทางตะวันออก (โต (東:ตะวันออก) เกียว (京:เมืองหลวง)) [5] ในตอนต้นยุคเมจิ โตเกียวบางครั้งถูกเรียกว่า โตเก ซึ่งเป็นวิธีอ่านอีกแบบของตัวคันจิในคำว่าโตเกียว แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว[6]

[แก้] ประวัติศาสตร์

โตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ที่ชื่อเอะโดะ ในปีค.ศ. 1457 โอตะ โดกัง สร้างปราสาทเอโดะขึ้น ในปีค.ศ. 1590 โทกุงะวะ อิเอะยะสึตั้งเอะโดะเป็นฐานกำลังของเขาและเมื่อเขากลายเป็นโชกุนในปีค.ศ. 1603 เมืองเอะโดะก็กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาในยุคเอะโดะ เมืองเอะโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 18[7] และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น[8] แม้ว่าองค์จักรพรรดิทรงประทับอยู่ในเกียวโต

หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดยการปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่จักรพรรดิอีกครั้ง ในปี 1869 จักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ[9] และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัว ปราสาทเอะโดะถูกเปลี่ยนเป็นพระราชวัง

ในยุคเมจิ โตเกียวมีการพัฒนาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่นการเปิดบริการโทรเลขระหว่างโตเกียวกับโยะโกะฮะมะในปี 1869 และการเปิดบริการรถไฟสายแรกระหว่างชิมบะชิและโยะโกะฮะมะในปี 1872[9]

[แก้] ภูมิศาสตร์

หมู่เกาะโองาซาวาระซึ่งมีจุดที่ใต้สุดและตะวันออกสุดของญี่ปุ่น

กรุงโตเกียวตั้งอยู่ในที่ราบคันโตติดกับอ่าวโตเกียว มีขนาดประมาณ 90 กิโลเมตรจากตะวันออกถึงตะวันตก และ 25 กิโลเมตรจากเหนือถึงใต้ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิบะ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดยามานาชิ ทิศใต้ติดกับจังหวัดคานางาวะ และทิศเหนือติดกับจังหวัดไซตามะ เขตการปกครองของโตเกียวนั้นรวมไปถึงหมู่เกาะอิสุและหมู่เกาะโองาซาวาระด้วย จึงทำให้โตเกียวมีจุดที่อยู่ใต้สุด (โอะกิโนะโทะริชิมะ) และตะวันออกสุด (มินะมิโทะริชิมะ) ของญี่ปุ่นอยู่ในพื้นที่ด้วย

ทางตะวันออกของโตเกียวเป็นที่ราบตะกอนน้ำพา เช่นบริเวณปากแม่น้ำสุมิดะ แม่น้ำเอะโดะ พื้นดินค่อนข้างอ่อนจึงทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน[10] อ่าวโตเกียวถูกถมที่เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ยุคเอะโดะ[11] และเริ่มมีการถมที่เพื่อสร้างสถานที่กำจัดขยะตั้งแต่ปี 1927[12] ปัจจุบันพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของอ่าวโตเกียวกลายเป็นพื้นที่ถูกถม[13] ในเขตนิชิทะมะทางตะวันตกเป็นที่สูง โดยมีเขาคุโมะโทะริ ซึ่งมีความสูง 2,017 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดในโตเกียว โตเกียวตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลังซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมาก จึงมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น[14]

ทั้งหมู่เกาะอิสุและหมู่เกาะโองาซาวาระเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ หมู่เกาะอิสุมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่จำนวนมาก เช่นในภูเขาไฟโอะยะมะบนเกาะมิยะเกะที่ระเบิดในปี 2000[15] ส่วนหมู่เกาะโองาซาวาระนั้นอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากและมีสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด จนบางครั้งถูกเรียกว่าหมู่เกาะกาลาปาโกสแห่งตะวันออก[16]

ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa) [17] และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่น โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง

โตเกียวเป็นตัวอย่างของปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่นไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศหรือรถยนต์ และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง[18]

[แก้] เขตการปกครอง

ภาพแสดงเขตการปกครองในโตเีกียว

สำหรับการแบ่งเขตการปกครองในโตเกียวนั้นประกอบด้วยเบตการปกครอง 4 ระดับ ได้แก่

[แก้] เศรษฐกิจ

โตเกียวเป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางทางการเงินของโลกร่วมกับนครนิวยอร์กและลอนดอน โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่าในเขตโตเกียวซึ่งมีประชากรประมาณ 35.2 ล้านคน มีจีดีพีรวม 1.191 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 (เทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ทำให้โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีจีดีพีสูงที่สุดในโลก[19] ในปี 2008 มีบริษัท 47 แห่งในรายชื่อ Fortune Global 500 ที่มีฐานอยู่ในโตเกียว ซึ่งมากเป็นเกือบสองเท่าของเมืองอันดับสอง [20]

โตเกียวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักทางการเงินระหว่างประเทศ[21] และมีสำนักงานใหญ่ของวาณิชธนกิจและบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่ง ในระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้การควบคุมจากทางการ บริษัทใหญ่ ๆ หลายแห่งย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองต่าง ๆ เช่นโอซะกะ (ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการค้าในอดีต) มายังโตเกียว โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการที่ติดต่อรัฐบาลได้สะดวกขึ้น แต่แนวโน้มนี้ก็ชะลอตัวลงเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและทำให้ค่าครองชีพสูงตามขึ้นไปด้วย

[แก้] การคมนาคม

โตเกียวซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคคันโตตอนใต้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ และทางอากาศ การขนส่งมวลชนภายในโตเกียวที่สำคัญคือรถไฟและรถใต้ดินที่มีเครือข่ายกว้างใหญ่และมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

ภายในโตเกียวมีสนามบินนานาชาติฮาเนดะ ซึ่งให้บริการเที่ยวบินในประเทศเป็นส่วนใหญ่และเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดในเอเชีย[22] สนามบินนานาชาติหลักคือสนามบินนาริตะซึ่งอยู่ในจังหวัดจิบะ เกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอิสุก็มีสนามบินของตนเอง เช่นท่าอากาศยานฮาชิโจจิมะ ท่าอากาศยานมิยะเกะจิมะ ท่าอากาศยานโอชิมะ และมีเที่ยวบินมายังสนามบินฮาเนดะ แต่หมู่เกาะโองาซาวาระยังไม่มีสนามบิน เพราะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรสร้างสนามบินเพราะจะเป็นอันตรายต่อธรรมชาติของเกาะ[23]

รถไฟเป็นการคมนาคมหลักในโตเกียว ซึ่งมีเครือข่ายทางรถไฟในเมืองกว้างใหญ่มากที่สุดในโลก บริษัท รถไฟญี่ปุ่นตะวันออก จำกัดเป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งรวมถึงรถไฟสายยะมะโนะเทะซึ่งวิ่งเป็นวงผ่านสถานีที่สำคัญของโตเกียวเช่นสถานีโตเกียว และ ชินจูกุ รถใต้ดินให้บริการโดยบริษัท รถไฟใต้ดินโตเกียว จำกัด (มหาชน) และสำนักงานการขนส่งและจราจรโตเกียว

[แก้] ประชากร

+ จำนวนประชากร[1][24]
ตามเขต 1

จังหวัดโตเกียว
23 เขตปกครองพิเศษ
เขตทามะ
เกาะ

12.79 ล้านคน
8.65 ล้านคน
4.11 ล้านคน
28,000

ตามอายุ2

เยาวชน (age 0-14)
วัยทำงาน (age 15-64)
วัยชรา (age 65+)

1.461 ล้านคน (11.8%)
8.546 ล้านคน (69.3%)
2.332 ล้านคน (18.9%)

ตามช่วงเวลา3

ช่วงกลางวัน
ช่วงกลางคืน

14.978 ล้านคน
12.416 ล้านคน

โดยสัญชาติ

ชาวต่างชาติ

364,653 คน4

ข้อมูลเมื่อ

1 1 ตุลาคม 2007
2 1 มกราคม 2007
3 2005
4 1 ตุลาคม 2005

โตเกียวมีประชากรทั้งหมดประมาณ 12.79 ล้านคนในเดือนตุลาคม 2007 ซึ่งในจำนวนนั้น 8.65 ล้านคนอาศัยอยู่บริเวณ 23 เขตปกครองพิเศษในโตเกียว ในเวลากลางวันมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านคนเนื่องจากมีประชากรจากเมืองใกล้เคียงเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน[1] ปรากฏการณ์นี้จะเป็นได้ชัดในเขตจิโยะดะ เขตจูโอ และเขตมินะโตะ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนในเวลากลางวัน แต่น้อยกว่า 3 แสนคนในเวลากลางคืน

ในปี 2005 ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในโตเกียวมากที่สุด 5 เชื้อชาติได้แก่ จีน (123,611 คน) เกาหลี (106,697 คน) ฟิลิปปินส์ (31,077 คน) อเมริกัน (18,848 คน) และ อังกฤษ (7,696 คน) [24]

[แก้] การศึกษา

โตเกียวมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นและมีชื่อเสียงในระดับโลก เช่นมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันเทคโนโลยีโตเกียว มหาวิทยาลัยวาเซดะ มหาวิทยาลัยนครโตเกียว มหาวิทยาลัยโชวะ มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ เป็นต้น[25][26]

ในแต่ละเขตมีโรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยมต้น ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนมัธยมปลายของรัฐบริหารโดยคณะกรรมการการศึกษาของจังหวัดโตเกียว นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลายหลายแห่ง[27]

[แก้] เมืองพี่น้อง

เมืองโตเกียว

โตเกียวมีเมืองพี่น้อง 11 แห่ง[28]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 Tokyo's Geography, History and Population. Tokyo Metropolitan Government.
  2. ^ http://esa.un.org/unup/
  3. ^ รายชื่อเมืองที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก (อังกฤษ)
  4. ^ อันดับค่าครองชีพทั่วโลก ปี 2550
  5. ^ 5.0 5.1 Room, Adrian. Placenames of the World. McFarland & Company (1996) , p360. ISBN 0786418141.
  6. ^ "明治東京異聞~トウケイかトウキョウか~東京の読み方" Tokyo Metropolitan Archives (2008). Retrieved on 4 December 2008. (ญี่ปุ่น)
  7. ^ McClain, James (1994). Edo and Paris: Urban Life and the State in the Early Modern Era. Cornell University Press. pp. 13. ISBN 080148183X. 
  8. ^ Sorensen, Andre (2004). The Making of Urban Japan: Cities and Planning from Edo to the Twenty First Century. RoutledgeCurzon. pp. 16. ISBN 0415354226. 
  9. ^ 9.0 9.1 History of Tokyo. Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นวันที่ 2008-12-06
  10. ^ Soki Yamamoto. Case History No. 9.4. Tokyo, Japan. UNESCO. Guidebook to studies of land subsidence due to ground-water withdrawal
  11. ^ Takeshi Endoh. Historical Review of Reclamation Works in the Tokyo Bay Area. Journal of Geography.
  12. ^ Hidenori Yokoyama. Disposing of waste in Tokyo Port. Japan Society of Civil Engineers.
  13. ^ Anne K. Petry. Geography of Japan. Stanford University.
  14. ^ Stefan Lovgren (2005-07-14). Earthquake Fault Under Tokyo Closer Than Expected, Study Finds. National Geographic. สืบค้นวันที่ 2008-12-04
  15. ^ The eruption of Miyake island. JAXA.
  16. ^ Makoto Miyazaki. Wildlife thrives in 'Oriental Galapagos'. Daily Yomiuri Online. สืบค้นวันที่ 2008-12-04
  17. ^ M. C. Peel, B. L. Finlayson, and T. A. McMahon (2007). Updated world map of the Köppen-Geiger climate classification. Hydrology and Earth System Sciences.
  18. ^ Inter-Ministry Coordination Committee to Mitigate Urban Heat Island (2004-03). Outline of the Policy Framework to Reduce Urban Heat Island Effects.
  19. ^ PriceWaterhouseCoopers, "UK Economic Outlook, March 2007", page 5. "Table 1.2 – Top 30 urban agglomeration GDP rankings in 2005 and illustrative projections to 2020 (using UN definitions and population estimates)" (PDF). สืบค้นวันที่ 2007-03-09
  20. ^ Global 500 Our annual ranking of the world's largest corporationns. CNNMoney.com. สืบค้นวันที่ 2008-12-04
  21. ^ Financial Centres, All shapes and sizes. The Economist. สืบค้นวันที่ 2007-10-14
  22. ^ Airports welcome record 4.8 billion passengers in 2007. Airports Council International (2007).
  23. ^ Rika Nemoto (2008-09-02). Runways clearing for Ogasawara airport talks. The Asahi Shimbun.
  24. ^ 24.0 24.1 Population: 14 Registered Foreigners by District and Nationality. Tokyo Metropolitan Government.
  25. ^ The Times Higher Education - QS World University Rankings 2008. Quacquarelli Symonds. สืบค้นวันที่ 2008-11-11
  26. ^ The World University Rankings 2008.
  27. ^ 東京都高等学校一覧. Japanese Wikipedia. สืบค้นวันที่ 2007-10-19 (Japanese)
  28. ^ Sister Cities (States) of Tokyo - Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นวันที่ 2008-09-16

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons


ภาษาอื่น