การก่อการร้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Scale of justice 2.svg
อาชญากรรม
องค์ประกอบของความผิดอาญา
การกระทำ  · เหตุกับผล  · กระทงความผิด
เจตนาร้าย  · ความจำนง  · ความประมาท
ความประมาททางอาญา  · ข้อแก้ตัว
ความรับผิดทางอาญา  · พยานและหลักฐานทางอาญา
ความผิดสาธารณะ
ความผิดต่อประมุขแห่งรัฐ  · ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
ความผิดต่อมิตรประเทศ  · การก่อการร้าย
การก่อความไม่สงบ  · ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ความผิดต่อบุคคล
การทำร้ายร่างกาย  · การทำแท้ง  · การชิงทรัพย์
ความผิดทางเพศ  · การค้าโสเภณี  · การข่มขืน
การลักพาตัว  · การฆ่าคนโดยไม่เจตนา  · การฆ่าคน
ความผิดต่อเสรีภาพ  · การเผยความลับ  · การหมิ่นประมาท
ความผิดต่อทรัพย์สิน
การทำให้เสียทรัพย์  · การลอบวางเพลิง
การลักทรัพย์  · การลักทรัพย์ยามวิกาล  · การหลอกลวง
การฉ้อโกงทรัพย์  · การยักยอกทรัพย์  · การรับของโจร
การปลอมทรัพย์  · การลอบวางเพลิง  · การบุกรุก
ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
การขัดขวางราชการ · การให้สินบน
การเบิกความเท็จ · ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ความผิดยังไม่บริบูรณ์
การพยายามกระทำความผิดอาญา
การคบคิดกัน  · การสนับสนุน
ข้อต่อสู้ทางอาญา
ภาวะอัตโนมัติ  · ความมึนเมา  · ความสำคัญผิด
ภาวะวิกลจริต  · ความไม่สมประกอบ
การถูกข่มขู่  · ความจำเป็น
การถูกยั่วยุ · การป้องกันตน
อื่น ๆ
โทษทางอาญา  · วิธีการเพื่อความปลอดภัย
การเพิ่มและลดโทษ  · การรอลงอาญา
ความผิดอาญาลหุโทษ  · ความผิดอาญาอุกฉกรรจ์
การใช้กฎหมายอาญา  · การทำความผิดอาญาซ้ำ
แผนที่แสดงจำนวนเหตุการณ์ก่อการร้ายทั่วโลก

คำว่า การก่อการร้าย (อังกฤษ: Terrorism) เป็นคำที่มีการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง และมีนิยามที่หลากหลาย โดยไม่มีความหมายใด ที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์[ต้องการอ้างอิง] วอล์เตอร์ ลาควอร์ แห่งศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ (Center for Strategic and International Studies) ได้กล่าวว่า "ลักษณะเฉพาะที่ยอมรับกันทั่วไปคือการก่อการร้ายนั้น เกี่ยวข้องกับความรุนแรง หรือการข่มขู่ด้วยความรุนแรง"[ต้องการอ้างอิง]

ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายจำนวนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การก่อการร้ายที่เกิดขึ้น จะแฝงไว้ด้วยยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะกระทำโดย การวางระเบิด การใช้ปืนยิง การจี้ (เครื่องบิน หรือ รถโดยสาร) หรือ การลอบสังหาร ไม่ได้เป็นการลงมืออย่างเลือกสุ่ม ไม่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากความตั้งใจ และไม่ได้เกิดขึ้นอย่างมืดบอด แต่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจที่จะใช้ความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อพลเรือน เพื่อหวังผลทางการเมือง หรือสนองความเชื่อทางศาสนา

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ก็ยังคงไม่สามารถจะกำหนดคำจำกัดความที่ตายตัว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้คำจำกัดความการก่อการร้ายไว้ว่า “เป็นการกระทำที่ผ่านการใคร่ครวญพิจารณา เป็นการก่อความรุนแรงพุ่งเป้าต่อบุคคลที่ไม่ใช่ทหาร และแฝงไว้ด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง กระทำขึ้นโดยกลุ่มองค์กรระดับท้องถิ่นของแต่ละประเทศ หรือองค์กรลับ โดยปกติจะกระทำเพื่อให้เกิดผลกระทบขึ้นแก่ผู้พบเห็น” ขณะที่ นายพอล พิลล่าร์ อดีต รองผู้อำนวยศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) ให้ความเห็นในเชิงโต้เถียงว่า การก่อการร้ายจะต้องมีองค์ประกอบรวม 4 ประการ คือ

1. ไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเพียงชั่ววูบ แต่เป็นการกระทำที่ผ่านการใคร่ครวญไตร่ตรอง และวางแผนไว้ล่วงหน้า

2. เป็นการกระทำที่หวังผลทางการเมือง ไม่ใช่อาชญากรรม ดังเช่นกลุ่มองค์กรที่ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น กลุ่มมาเฟีย ก่อเหตุรุนแรงเพื่อหวังเงินหรือทรัพย์สินเป็นรายได้ แต่เป็นการกระทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากที่เป็นอย่างในปัจจุบัน ไปสู่แนวทางที่ผู้ก่อการร้ายต้องการ

3. ส่วนใหญ่เป็นการกระทำที่มุ่งร้ายต่อเป้าหมายพลเรือน ไม่ได้พุ่งเป้าฝ่ายทหาร หรือหน่วยทหารที่พร้อมรบ

4. กระทำโดยกลุ่มองค์กรที่แฝงตัวอยู่ในประเทศ ไม่ใช่กำลังทหารของประเทศต้นกำเนิด


การใช้คำนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มักใช้เพื่อเรียกการโจมตีของ "องค์กรลับหรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อบังคับรัฐบาล ด้วยการกระทำที่ใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลนั้น หรือสมาชิกของรัฐนั้น" (ตาม พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด) อย่างไรก็ตาม คำนี้เป็นคำที่ถูกใช้ในทางที่ไม่ดีเสมอ และมีความหมายที่กว้างขึ้นตั้งแต่มีการประกาศสงครามกับการก่อการร้าย จนครอบคลุมไปถึงทุก ๆ กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงในทางที่ผิดศีลธรรม

คำนี้เป็นคำที่ถูกใช้เฉพาะเพื่อเรียก ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก่อความรุนแรงตามคำนิยามเท่านั้น ไม่มีกลุ่มใด ๆ ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย"

นิยามของคำนี้มีขอบข่ายที่กว้างมาก โดยมักจะมีเงื่อนไขต่อไปนี้

  • แรงจูงใจ เกี่ยวกับการเมือง หรือศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ
  • เป้าหมาย คือพลเมือง
  • จุดประสงค์ เพื่อข่มขู่
  • การข่มขู่มุ่งเป้าไปที่ รัฐบาล หรือ สังคม
  • ผู้กระทำ นั้นไม่ใช่รัฐ
  • การกระทำนั้น ผิดกฎหมาย

แต่ไม่มีเงื่อนไขข้อใดได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ว่าจำเป็น หรือพอเพียง ในการจัดว่ากิจกรรมใด ๆ เป็นการก่อการร้าย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


Scale of justice.svg การก่อการร้าย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ การก่อการร้าย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ