ปฏิทินสุริยคติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    
ปฏิทิน
ปฏิทินสากล ฮิจญ์เราะหฺ · เกรโกเรียน · ISO · ปีสุริยคติ
ประเภทปฏิทิน
สุริยจันทรคติ · สุริยคติ · จันทรคติ

ปฏิทินอื่นๆ อาร์เมเนีย · บาฮาอี · เบงกาลี · พุทธ · จีน · คอปติก · เอธิโอเปีย · เจอร์เมนิก · ฮีบรู · ฮินดู · อินเดีย · อิหร่าน · ไอริช · ญี่ปุ่น · ชวา · เกาหลี · มายา · เนปาล · ทมิฬ · ไทย (จันทรคติสุริยคติ) · ทิเบต · ตุรกี · เวียดนาม· โยรูบา · โซโรอัสเตอร์ · ฮิจญ์เราะหฺ
ประเภทปฏิทิน
จูเลียนต้นฉบับ · รูน

ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ

ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชควบคู่กันไป ในปฏิทินปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างปีคริสต์ศักราชกับปีพุทธศักราชจะต่างกัน 543 ปี (ซึ่งปี พ.ศ. 2543 จะตรงกับปี ค.ศ. 2000 พอดี)

เนื้อหา

[แก้] เดือน

ตัวอย่างปฏิทินไทย เดือนสิงหาคม 2547

ในปฏิทินสุรยคติไทยใช้จำนวนเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยจำนวนวันในแต่ละเดือนได้อ้างอิงตามเช่นเดียวกันโดยในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันตั้งแต่ปี 28-31 วัน ชื่อเดือนทรงตั้งโดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยทรงใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ โดยทรงนำคำสองคำมาสมาสกัน คำต้นเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นรวมกับคำว่า "อาคม" หรือ "อายน" ที่หมายถึง "การมาถึง" โดยได้ระบุวันอย่างชัดเจนโดยคำว่า "คม" สำหรับเดือนที่มี 31 วัน และคำว่า "ยน" สำหรับเดือนที่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 หรือ 29 วัน ถ้าเป็นปีอธิกสุรทิน[1]

ชื่อไทย อักษรย่อ คำอ่าน รากศัพท์ ความหมาย
มกราคม ม.ค. มะ-กะ-รา-คม มกร + อาคม การมาถึงของราศีมังกร
กุมภาพันธ์ ก.พ. กุม-พา-พัน กุมภ + อาพันธ์ การมาถึงของราศีกุมภ์
มีนาคม มี.ค. มี-นา-คม มีน + อาคม การมาถึงของราศีมีน
เมษายน เม.ย. เม-สา-ยน มษ + อายน การมาถึงของราศีเมษ
พฤษภาคม พ.ค. พรึด-สะ-พา-คม พฤษภ + อาคม การมาถึงของราศีพฤษภ
มิถุนายน มิ.ย. มิ-ถุ-นา-ยน มิถุน + อายน การมาถึงของราศีมิถุน
กรกฎาคม ก.ค. กะ-ระ-กะ-ดา-คม กรกฎ + อาคม การมาถึงของราศีกรกฎ
สิงหาคม ส.ค. สิง-หา-คม สิงห + อาคม การมาถึงของราศีสิงห์
กันยายน ก.ย. กัน-ยา-ยน กันย + อายน การมาถึงของราศีกันย์
ตุลาคม ต.ค. ตุ-ลา-คม ตุล + อาคม การมาถึงของราศีตุล
พฤศจิกายน พ.ย. พรึด-สะ-จิ-กา-ยน พฤศจิก + อายน การมาถึงของราศีพิจิก
ธันวาคม ธ.ค. ทัน-วา-คม ธนู + อาคม การมาถึงของราศีธนู

[แก้] วันในสัปดาห์

ในปฏิทินสุรยคติวันในสัปดาห์ตามปฏิทินเกรกอเรียนเช่นกันโดยในแต่ละสัปดาห์จะประกอบไปด้วย 7 วัน ซึ่งเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยวันอาทิตย์

ชื่อไทย คำอ่าน ชื่อทางโหร สีประจำวัน สีประจำวัน
ตามตำราสวัสดิรักษา
อาทิตย์ อา-ทิด อาทิจวาร (อ) ██ สีแดง ██ สีแดง
จันทร์ จัน จันทรวาร (จ) ██ สีเหลือง ██ สีนวลขาว
อังคาร อัง-คาน ภุมวาร (ภ) ██ สีชมพู ██ สีม่วงคราม
พุธ พุด วุธวาร (ว) ██ สีเขียว ██ สีแสด
พฤหัสบดี พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี หรือ พรึ-หัด-สะ-บอ-ดี ชีววาร (ช) ██ สีแสด ██ สีเขียวปนเหลือง
ศุกร์ สุก ศุกรวาร (ศ) ██ สีฟ้า ██ สีเมฆ
เสาร์ เสา โสรวาร (ส) ██ สีม่วง ██ สีดำ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ สุชาฎา ประพันธ์วงศ์. "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย". หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10205
    ข้อมูลออนไลน์สามารถดูได้ที่ เว็บไซต์ Eduzones

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น