จังหวัดเพชรบูรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดเพชรบูรณ์
ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดเพชรบูรณ์
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย เพชรบูรณ์
ชื่ออักษรโรมัน Phetchabun
ชื่อไทยอื่นๆ เพชปุระ
ผู้ว่าราชการ นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-67
ต้นไม้ประจำจังหวัด มะขาม
ดอกไม้ประจำจังหวัด มะขาม
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,668.416 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 9)
ประชากร 995,125 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 20)
ความหนาแน่น 78.55 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 58)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ ถนนเพชรเจริญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
เว็บไซต์ จังหวัดเพชรบูรณ์
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดเพชรบูรณ์

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดในภาคกลางตอนบน ของประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1261 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
  2. อำเภอชนแดน
  3. อำเภอหล่มสัก
  4. อำเภอหล่มเก่า
  5. อำเภอวิเชียรบุรี
  6. อำเภอศรีเทพ
  1. อำเภอหนองไผ่
  2. อำเภอบึงสามพัน
  3. อำเภอน้ำหนาว
  4. อำเภอวังโป่ง
  5. อำเภอเขาค้อ
 แผนที่

[แก้] อาณาเขต

[แก้] อุทยาน

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

[แก้] การศึกษา

โรงเรียน
ระดับอุดมศึกษา
***** ศูนย์การค้า *****
  • เทสโก้โลตัส สาขาเพชรบูรณ์
  • บิ๊กซี สาขาเพชรบูรณ์
  • ตลาดโลตัส สาขาหนองไผ่
  • ท็อปแลนด์ % ตลาดโลตัส สาขาเพชรบูรณ์

[แก้] เศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจจังหวัด ภาวะการค้าของจังหวัดโดยทั่วไป เศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นจากภาคการเกษตร โดยผลผลิตที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวผิวมัน และข้าวฟ่าง เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจให้ขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง

[แก้] ภาคอุตสาหกรรม

ขยายตัวตามการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น โรงสีข้าว ไซโลอบเมล็ดพืช ซึ่งเป็นโรงงานขนาดกลางใช้เงินทุน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป การท่องเที่ยว อยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นมากในช่วงฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัด เนื่องจากภาครัฐบาลและเอกชน ได้จัดรายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น

[แก้] การก่อสร้าง

ชะลอตัวลดจากปีก่อน โดยการก่อสร้างการให้สินเชื่อ เพื่อการลงทุนยังคงหดตัว จากการจดทะเบียนนิติบุคคล ของบุคคลของผู้ ประกอบการรับเหมาก่อสร้างลดลง ร้อยละ 17.64 เงินทุนลดลงร้อยละ 41.56 ตามลำดับภาวะการค้าของจังหวัดในปี 2543 ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว

[แก้] ภาคการเงิน

ในปี 2543 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ประชาชนทั้งสิ้น 46 แห่ง ซึ่งสถาบันการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัทประกันชีวิต

[แก้] การจัดเก็บภาษีอากร

มีการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล อากรแสตมป์ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะและอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 346,963 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 394,292 ล้านบาท หรือการจัดเก็บภาษีอากรลดลง ร้อยละ 12.00 ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จำนวนทั้งสิ้น 8,591.38 บาท

[แก้] รายได้ประชากรต่อหัว

รายได้ประชากรต่อหัว / ปี 28,982 บาท สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ในปี 2539 พบว่า ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 28,982 บาทต่อปี เป็นอันดับ 56 ของประเทศ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 26,576.729 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการเกษตรมากที่สุดถึงร้อยละ 33.30 คิดเป็นมูลค่า 8,849.064 ล้านบาท รองลงมา เป็นสาขาค้าส่ง และค้าปลีกร้อยละ 20.64 คิดเป็นมูลค่า 5,486.151 ล้านบาท และสาขาบริการร้อยละ 12.52 คิดเป็นมูลค่า 3,327.126 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.03

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°25′N 101°10′E / 16.42°N 101.16°E / 16.42; 101.16


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย