แอร์ฟรานซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Air France logo.png
แอร์ฟรานซ์
Air France
Compagnie Nationale Air France
IATA
AF
ICAO
AFR
Callsign
Air France
ก่อตั้ง 1933
ท่าอากาศยานหลัก ท่าอากาศยานชาลส์เดอโกล
รายการสะสมแต้ม Flying Blue
ห้องรับรอง Departures Lounge
พันธมิตรสายการบิน สกายทีม
ขนาดฝูงบิน 373
จุดหมายปลายทาง 187
บริษัทแม่ แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม
สำนักงานใหญ่ ปารีส ฝรั่งเศส
บุคคลหลัก Jean-Cyril Spinetta (ประธาน และ CEO)
Pierre-Henri Gourgeon (COO)
Philippe Calavia (CFO)
เว็บไซต์: www.airfrance.com

แอร์ฟรานซ์ (อังกฤษ: Air France) (ฝรั่งเศส: Compagnie Nationale Air France) เป็นสายการบินหนึ่งของแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม (Air France-KLM) แอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินประจำชาติของฝรั่งเศส ปัจจุบันได้เข้าร่วมกิจการกับสายการบินเคแอลเอ็ม (KLM) สายการบินประจำชาติของเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ชื่อว่า "แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม" และแอร์ฟรานซ์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีม


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] ช่วงแรกของการก่อตั้ง

แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1933 โดยการรวมตัวกันของหลายหน่วยงานในฝรั่งเศส สายการบินได้ขยายเส้นทางไปทั่วยุโรป เมืองขึ้นของฝรั่งเศส แอฟริกาเหนือ และจุดหมายปลายทางอื่นๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แอร์ฟรานซ์ได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่กาซาบลังกา ในประเทศโมร็อกโก ทำให้สายการบินนี้เป็นที่โดดเด่นในภาพยนตร์เรื่องกาซาบลังกา (Casablanca)

[แก้] ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทก็กลายเป็นของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 70% และลดลงเหลือ 54% ในกลางปีค.ศ. 2002 และในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1948 ทางสายการบินได้แต่งตั้งให้ Max Hymans เป็นประธานของแอร์ฟรานซ์ โดยเขาได้ใช้เวลา 13 ปีที่ดำรงตำแหน่งในการสนับสนุนนโยบายด้านความทันสมัยของเครื่องบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การนำเครื่องบิน Sud Aviation Caravelle ที่มีเครื่องยนต์เจตแบบแฝดมาให้บริการในปีค.ศ. 1959
สายการบินได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปารีส-นิวยอร์ก โดยใช้เครื่องบินคองคอร์ดที่มีความเร็วเหนือเสียงในปี ค.ศ. 1976 โดยใช้เวลาในการเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง โดยใช้ความเร็วเหนือเสียงประมาณ 2 เท่า
ในปี ค.ศ. 1994 สายการบินทั้งหมดของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ถูกรวมเข้ากับแอร์ฟรานซ์เพียงบริษัทเดียว รัฐบาลฝรั่งเศสนำแอร์ฟรานซ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1999 และได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีมในปี ค.ศ. 2000 และสายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินที่ให้บริการโดยเครื่องบินคองคอร์ดในปี ค.ศ. 2003 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนที่สูง

[แก้] การควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็ม

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2003 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม ได้ประกาศว่าจะมีการควบรวมสายการบินทั้งสองในชื่อใหม่ คือแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ((อังกฤษ)) และเกิดการควบรวมขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม เมื่อผู้ถือหุ้นทั่วไปของแอร์ฟรานซ์ เข้าถือครองหุ้น 81% ของเคแอลเอ็ม (รัฐบาลฝรั่งเศสครอบครองหุ้น 44% และอีก 37% เป็นของผู้ถือหุ้นเอกชน) โดยที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปของสายการบินเคแอลเอ็ม โดยส่วนแบ่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในแอร์ฟรานซ์ ลดลงจาก 54.4% (เดิมถือในนามแอร์ฟรานซ์) เหลือ 44% (ปัจจุบันถือในนาม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม) ด้วยเหตุของการรวมตัวนี้เอง ทำให้ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลฝรั่งเศสก็แถลงการขายหุ้น 18.4% ให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม จนทำให้รัฐบาลเองเหลือหุ้นต่ำกว่า 20%

ในกลางปี ค.ศ. 2007 แอร์ฟรานซ์และแคแอลเอ็ม จะนำคุณสมบัติของแท่นเสียบเครื่องเล่นเพลงและวิดีโอพกพาไอพอด ติดตั้งในเครื่องบิน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการชาร์จแบตเตอร์รี่ของอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีการรวมคุณสมบัติของไอพอด และระบบความบันเทิงภายในเครื่องบิน (IFE;In-flight Entertainment) ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเล่นเพลง, ดูรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่เก็บไว้ในไอพอดผ่านทางระบบความบันเทิงภายในเครื่องบินได้

[แก้] จุดหมายปลายทาง

เที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ของแอร์ฟรานซ์จะออกจากท่าอากาศยานชาลส์เดอโกล ในกรุงปารีส แต่ก็มีบางเที่ยวบินที่ออกจากเมืองนีช เส้นทางการบินของแอร์ฟรานซ์มีอยู่ทั่วโลกดังนี้

[แก้] ทวีปแอฟริกา


[แก้] ทวีปเอเชีย


[แก้] ทวีปยุโรป


[แก้] ทวีปอเมริกาเหนือ


[แก้] ภูมิภาคแคริเบียน



[แก้] ทวีปโอเชียเนีย


[แก้] ทวีปอเมริกาใต้


[แก้] การจัดซื้อเครื่องบิน

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 แอร์ฟรานซ์ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 777-300ER อีก 4 ลำ เพิ่มจากที่เคยสั่งเป็น 10 ลำ (ส่งมาแล้ว 4 ลำ) ซึ่งสายการบินได้เคยจัดซื้อ เครื่องบินโบอิง 777-200ER ไปแล้ว 18 ลำ และได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 จำนวน 10 ลำ ซึ่ง 3 ลำแรกจะถูกจัดส่งในปีค.ศ. 2009 ส่วนที่เหลือจะถูกจัดส่งในอีก 2 ปีถัดไป โดยจะเริ่มใช้สำหรับเส้นทางการบิน แอตแลนติกเหนือ จากปารีสไปยังมอนทรีออล และ นิวยอร์ก และหลังจากเครื่องที่เหลือถูกส่งมา ก็จะให้บริการไปยัง ปักกิ่ง และ โตเกียว
ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 แอร์ฟรานซ์ได้เซ็นสัญญากับบริษัทโบอิง ที่จะเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารโบอิง 747-400 เป็นเครื่องบินบรรทุกสินค้า ซึ่งเครื่องบินลำแรกที่ถูกแก้ไขจะถูกจัดส่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เพื่อเร่งการปลดระวางของเครื่องบินบรรทุกสินค้าโบอิง 747-200

747Af747.jpg


Nuvola apps personal.png แอร์ฟรานซ์ เป็นบทความเกี่ยวกับ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร  ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ แอร์ฟรานซ์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ