กระท่อม (พืช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ใบกระท่อม)
กระท่อม
Kratomtree.jpg

กระท่อม เป็นพืชล้มลุก ที่จัดเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสิ่งเสพติดในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม

เนื้อหา

[แก้] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระท่อม เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง โดยทั่วไปมีสูงประมาณ 10 -15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. เป็นพืชอยู่ในตระกูล Rubiaceae กระท่อมยังรู้จักในชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ท่อม อีถ่าง กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย (ทางภาคใต้) กระท่อมจัดเป็นพืชเฉพาะถิ่น โดยจะพบมากในประเทศมาเลเซีย และไทย แต่พบว่าสามารถปลูกขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อนทั่วไป

[แก้] สารเสพติดที่พบ

สารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น

[แก้] วิธีเสพ

วิธีเสพใบกระท่อม เคี้ยวใบสดหรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อย ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย

[แก้] ผลจากการเสพ

กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท

การเสพใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น

และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้

บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

ถ้าหยุดเสพ จะเกิดอาการเสี้ยนยา ได้แก่

  • ไม่มีแรง
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก
  • แขนขากระตุก
  • อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้
  • อารมณ์ซึมเศร้า
  • นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล
  • ก้าวร้าว

ผลการศึกษาหลายแห่งสรุปว่า

  • การใช้ใบกระท่อมในขนาดยาต่ำ ให้ผลกระตุ้นประสาท
  • ส่วนการใช้ขนาดยาสูง ให้ผลกดประสาท
  • แม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ

[แก้] สรรพคุณทางยา

สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่า

[แก้] อ้างอิงและแหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ดูเพิ่ม