ภาษาเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาเวียดนาม

Tiếng Việt 
เสียงอ่าน: [tjə̌ˀŋ vjə̀t] เตี๊ยงเหวี่ยด
(ทางเหนือ)
[tjə̌ŋ jə̀k] เตี๊ยงเหยี่ยก
(ทางใต้)
พูดใน: เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย
จำนวนผู้พูด: 70–73 ล้าน 
อันดับ: 13–17 (ภาษาแม่) ใกล้เคียงกับ ภาษาเกาหลี ภาษาเตลูกู ภาษามราฐี และภาษาทมิฬ
ตระกูลภาษา: ออสโตร-เอเชียติก
 มอญ-เขมร
   (กำลังเป็นที่ถกเถียง)
   เหวียด-เหมื่อง
    ภาษาเวียดนาม
 
ระบบการเขียน: อักษรละตินเพิ่มเครื่องหมายเสริมสัทอักษร 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: เวียดนาม
ผู้วางระเบียบ: ไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1: vi
ISO 639-2: vie
ISO 639-3: vie
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาเวียดนาม (tiếng Việt, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส

เนื้อหา

[แก้] ตระกูลภาษา

ภาษาเวียดนามจัดอยู่ในสาขาเหวียด-เหมื่อง (Viet-Muong) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmer) หรือตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) ประกอบด้วยภาษาเขมร ภาษามอญ ภาษามุนดา เป็นต้น แต่นักภาษาศาสตร์บางส่วนเห็นว่าควรจัดภาษาเวียดนามให้เป็นอีกสาขาหนึ่ง แยกจากภาษามอญ-เขมร

[แก้] สำเนียงท้องถิ่น

ภาษาเวียดนามมีสำเสียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้

ถิ่นหลัก ท้องถิ่น ชื่อในยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส
เวียดนามตอนเหนือ ถิ่นฮานอย, ถิ่นอื่นทางเหนือ: ไฮฟอง และถิ่นระดับจังหวัดจำนวนมาก ตังเกี๋ย
เวียดนามตอนกลาง ถิ่นเว้, ถิ่นเหง่ อัน, ถิ่นกว๋าน นาม อันนัมสูง
เวียดนามตอนใต้ ถิ่นไซ่ง่อน , ถิ่นแม่น้ำโขง (ตะวันตกไกล) โคชินไชน่า

ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แม้ว่าภาษาถิ่นฮเว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากอื่นก็ตาม วรรณยุกต์ "หอย" และ "งะ" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้

เสียง "ch" และ "tr" นั้นออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ

[แก้] ระบบเสียง

[แก้] เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรด้านขวาเป็นสัทอักษร ส่วนอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
กัก ไม่ก้อง p [p] t [t] tr [tʂ~ʈ] ch [c~tɕ] c/k [k]
ธนิต   th [tʰ]
ก้อง b [ɓ] đ [ɗ] d [ɟ]
เสียดแทรก ไม่ก้อง ph [f] x [s] s [ʂ] kh [x] h [h]
ก้อง v [v] gi [z] r [ʐ~ɹ] g/gh [ɣ]
นาสิก m [m] n [n] nh [ɲ] ng/ngh [ŋ]
เปิด u/o [w] l [l] y/i [j]

[แก้] เสียงสระ

[แก้] เสียงวรรณยุกต์

นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (Disyllable) และมีลักษณะน้ำเสียง (Register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ อันได้แก่ ภาษาตระกูลไท (Tai familly) ที่อยู่โดยรอบ และภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น

สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์ มีความแตกต่างกันที่

  • ระดับเสียง
  • ความยาว
  • น้ำเสียงขึ้นลง
  • ความหนักแน่น
  • การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)

เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ (ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์ หนาง (nặng) เป็นจุดใต้สระ) วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้

ชื่อ ลักษณะ เครื่องหมาย ตัวอย่าง ตัวอย่างสระ
ngang   'ระดับ' สูงระดับ (ไม่มีเครื่องหมาย) ma  'ผี' Loudspeaker.svg a 
huyền   'แขวน' ต่ำตก ` (grave accent)  'แต่' Loudspeaker.svg à 
sắc   'คม' สูงขึ้น ´ (acute accent)  'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้) ' Loudspeaker.svg á 
hỏi   'ถาม' ต่ำขึ้น  ̉ (hook (diacritic)) mả  'หลุมศพ, สุสาน' Loudspeaker.svg  
ngã   'ตก' สูงขึ้นหยุด ˜ (tilde)  'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส' Loudspeaker.svg ã 
nặng   'หนัก' ต่ำตกหยุด  ̣ (จุดใต้) mạ  'สีข้าว' Loudspeaker.svg  

[แก้] ไวยากรณ์

ภาษาเวียดนามเป็นภาษารูปคำโดดเช่นเดียวกับภาษาจีนและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ไวยากรณ์เน้นที่การเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ แสดงการโดยการเพิ่มคำเช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดด แต่ก็มีคำสองพยางค์อยู่เป็นจำนวนมาก การเรียงคำในประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม

[แก้] กาล

ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องแสดง โดยทั่วไปอดีตแสดงโดยคำว่า đã ปัจจุบันกาลกำลังกระทำ เติม đang อนาคตเติม sẽ

[แก้] โครงสร้างแสดงหัวข้อ

เป็นโครงสร้างประโยคที่สำคัญในภาษาเวียดนาม ตัวอย่างเช่น Toi đọc sách này rồi = ฉันอ่านหนังสือนี้แล้ว อาจเรียงประโยคใหม่เป็น Sách này thi toi đọc rồi = หนังสือนี้นี้ฉันอ่านแล้ว (thi เป็นตัวแสดงหัวข้อ)

[แก้] พหูพจน์

โดยทั่วไปไม่ต้องแสดง ถ้าแสดงจะใช้คำเติมเข้าไปในประโยค เช่น những, các, chúng

[แก้] ลักษณนาม

ภาษาเวียดนามมีคำลักษณนามใช้แสดงลักษณะของนามเช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาจีน เช่น con ใช้กับสัตว์ cái ใช้กับสิ่งของไม่มีชีวิต คำลักษณนามบางคำอาจใช้ร่วมกันได้ เช่น cái con

[แก้] คำสรรพนาม

คำสรรพนามในภาษาเวียดนามต่างจากภาษาอังกฤษ คือคำสรรพนามแต่ละคำไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นบุรุษที่ 1 2 หรือ 3 ขึ้นกับผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนั้นยังต้องระมัดระวังในการระบุความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งขึ้นกับอายุและเพศ

[แก้] การซ้ำคำ

พบมากในภาษาเวียดนามซึ่งเป็นการสร้างคำใหม่ ซึ่งมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่นเป็นการลดหรือเพิ่มความเข้มของคำคุณศัพท์

[แก้] คำศัพท์

คำศัพท์ทางการเมืองและวิทยาศาสตร์โดยมากมาจากภาษาจีน กว่า 70% ของคำศัพท์มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน คำประสมหลายคำเป็นการประสมระหว่างคำดั้งเดิมในภาษาเวียดนามกับคำยืมจากภาษาจีน ซึ่งคำเหล่านี้ปัจจุบันมักถูกแทนที่ด้วยคำเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ เช่น tivi มาจาก TV

[แก้] ระบบการเขียน

ปัจจุบันภาษาเวียดนามเขียนด้วยอักษรโกว๊กหงือ (quốc ngữ แปลว่า อักษรประจำชาติ) ซึ่งเป็นอักษรละตินที่เพิ่มเติมเครื่องหมายต่าง ๆ เข้ามาเพื่อให้มีอักษรเพียงพอที่จะใช้เขียนภาษา อักษรดังกล่าวถูกคิดค้นขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาเลกซ็องดร์ เดอ โรดส์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา โดยมีรากฐานมาจากระบบที่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสคิดไว้ก่อนหน้านั้น ในระหว่างที่เวียดนามยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น อักษรโกว๊กหงือได้เป็นอักษรราชการของอาณานิคม ซึ่งได้ทำให้อักษรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ

อักษรโกว๊กหงือในปัจจุบันมีรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงการออกเสียงของภาษาถิ่นเวียดนามกลาง ซึ่งสระและพยัญชนะท้ายจะคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นเหนือ ส่วนพยัญชนะต้นจะคล้ายกับภาษาถิ่นใต้

ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายังเวียดนามนั้น ภาษาเวียดนามมีระบบการขียนสองแบบ ซึ่งทั้งสองแบบก็มีที่มาจากอักษรจีนเช่นเดียวกัน

  • อักษรจื๋อโญ (chữ nho, 字儒) หรืออักษรฮั้นถื่อ (hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนโบราณ
  • อักษรจื๋อโนม (chữ nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย

อักษรโกว๊กหงือที่ใช้ส่วนใหญ่ ออกเสียงคล้ายในภาษาอังกฤษ ยกเว้นอักษรต่อไปนี้

  • "ph" คล้าย "ฟ"
  • ชนบทภาคใต้ "v" ออกเสียงคล้าย "ย" (สำเนียงฮานอย และภาคใต้มาตรฐาน "v" ออกเสียงเหมือน "v" ในภาษาอังกฤษ)
  • "đ" คล้ายเสียง /d/ ในภาษาฝรั่งเศสหรือสเปน คล้าย "ด" ส่วน อักษร "d" คล้าย "ซ"
  • "t" คล้ายเสียง "ต"
  • "th" ออกเสียง "ท, ถ"
  • "x" ออกเสียงคล้าย "ส"
  • สำเนียงฮานอย อักษร "d" ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซง่อน ออกเสียงคล้าย "ย"
  • "ch" คล้าย "จ"
  • "nh" คล้าย "ญ" ในภาษาถิ่นเหนือ หรืออีสาน
  • "c" คล้าย "ค"
  • "kh" คล้าย "ch" ในภาษาสกอตหรือเยอรมัน หรือ "kh" ในภาษาอาหรับหรือเปอร์เซีย
  • "g" คล้าย "g" ภาษาดัตช์ หรือ กรีกปัจจุบัน "gh" (Γ)
  • สำหรับ "gi" ของเวียดนามนั้น สำเนียงฮานอย ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงคล้าย "จ"
  • "ng" ออกเสียงคล้าย " ง"
  • "tr" คล้าย "จ" หรือ "ทร"
  • "s" ออกเสียงคล้าย "sh" ในภาษาอังกฤษ (สำเนียงฮานอย "s" ออกเสียงคล้าย "ส")
  • "qu" สำเนียงไซ่งอน ออกเสียงคล้าย "ว" (สำเนียงฮานอย "qu" ออกเสียง "คว")
  • "r" สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงหลากหลาย เช่น
    • 1) "j" ในภาษาฝรั่งเศส หรือ
    • 2) "r" ในภาษาสเปน หรือ
    • 3) "rr" (ร รัวลิ้น) ในภาษาสเปน (สำเนียงฮานอย "r" เหมือนกับ "z" ในภาษาอังกฤษ)

การเทียบเสียงนี้ เป็นการเทียบโดยประมาณเท่านั้น และไม่อาจเทียบกับเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ โดยเฉพาะสำเนียงทางใต้

[แก้] ตัวอย่างประโยค

คำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

  • Xin chào ซิน จ่าว = สวัสดี
  • Bạn บั่น = เพื่อน
วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเวียดนาม