มหาอำนาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาอำนาจ หมายถึง ชาติหรือรัฐซึ่งมีความสามารถที่จะแผ่อิทธิพลในระดับโลก ลักษณะพิเศษของมหาอำนาจครอบคลุมถึงอำนาจทางเศรษฐกิจ การทหาร การทูต และวัฒนธรรม ซึ่งอาจส่งผลให้ชาติที่เล็กกว่าพิจารณาตามข้อคิดเห็นของมหาอำนาจก่อนตัดสินใจดำเนินการด้วยตนเอง นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานะ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนา[1] หรือในหน่วยงานระหว่างประเทศ ดังเช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[2]

คำว่า มหาอำนาจ (great power) ถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อแสดงอำนาจที่มีความสำคัญที่สุดในทวีปยุโรปในยุคหลังนโปเลียน[3] นับตั้งแต่นั้นมา ดุลภาพแห่งอำนาจระหว่างประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางชาติจะถูกพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีรายชื่อจำกัดความ จึงนำไปสู่การโต้เถียงกันต่อไป

[แก้] ลักษณะ

ไม่มีรายการหรือลักษณะจำกัดความของมหาอำนาจ ลักษณะที่จะกล่าวถึงนี้มักถูกพิจารณาจากการสังเกต และการให้เหตุผลสำหรับการประเมิน อย่างไรก็ตาม การมีลักษณะใกล้เคียงนี้จึงมีข้อเสียในแง่ของผู้สังเกต ผลคือ มีความพยายามที่จะสร้างเกณฑ์มาตรฐานและกำหนดให้เป็นประเด็นหลักในการพิจารณาสถานภาพมหาอำนาจ

การกล่าวถึงมหาอำนาจมีเจตนาที่จะตัดสินชาติต่าง ๆ โดยบรรทัดฐานสัจนิยม ดังที่แสดงออกโดยนักประวัติศาสตร์ เอ.เจ.พี. เทย์เลอร์ เมื่อเขาบันทึกว่า "บทพิสูจน์ของมหาอำนาจคือบทพิสูจน์ในศักยภาพแห่งสงคราม" นักเขียนในสมัยต่อมาได้ขยายการพิสูจน์ดังกล่าว โดยพยายามที่จะจำกัดความอำนาจในแง่ของศักยภาพทางการทหาร เศรษฐกิจและการเมืองในภาพรวม เคนเน็ธ วอลทซ์ ผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ใช้ชุดหลักเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อระบุความเป็นมหาอำนาจ: ประชากรและภูมิประเทศ; การบริจาคทรัพยากร; ศักยภาพทางเศรษฐกิจ; เสถียรภาพและอำนาจทางการเมือง; และความแข็งแกร่งทางทหาร เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ในสามหัวข้อ: ขีดความสามารถแห่งอำนาจ ทิศทางของที่ว่าง และสถานะ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Danilovic, Vesna. "When the Stakes Are High—Deterrence and Conflict among Major Powers", University of Michigan Press (2002), p 27, p225-p228 (PDF chapter downloads) (PDF copy).
  2. ^ Kelsen, Hans (2000). The law of the United Nations: a critical analysis of its fundamental .... United States of America: The Lawbook Exchange, Ltd.. pp. 272–281, 911. ISBN 1584770775. http://www.google.com/books?id=BWPa0MB_AyQC&pg=PA272#v=onepage&q=&f=false. 
  3. ^ Webster, Charles K, Sir (ed), British Diplomacy 1813–1815: Selected Documents Dealing with the Reconciliation of Europe, G Bell (1931), p307.
ภาษาอื่น