เกรตเลกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณเกรตเลกส์
แผนที่ เกรตเลกส์ ทะเลสาบทั้ง 5 แห่ง

เกรตเลกส์ (อังกฤษ : Great Lakes) เป็นชื่อเรียกทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ สุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อิรี และออนแทรีโอ เป็นกลุ่มของทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.[1][2] บางครั้งชาวอเมริกันให้ฉายาว่าเป็น "ชายหาดที่สาม" เนื่องจากอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ลักษณะระบบนิเวศน์ ชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทะเลในแผ่นดิน" เพราะปริมาณน้ำจืดในทะเลสาบทั้ง 5 คิดเป็น 20 % ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่บนโลก

ในทางภูมิศาสตร์เส้นแบ่งประเทศของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลากผ่านกลุ่มทะเลสาบเหล่านี้ มีเพียงทะเลสาบเดียวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาคือทะเลสาบมิชิแกน บริเวณนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทะเลสาบซุพีเรีย


เนื้อหา

[แก้] ภูมิศาสตร์

บริเวณเกรตเลกส์มิได้มีเฉพาะทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 เท่านั้น แต่ยังมีทะเลสาบและแม่น้ำอีกจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเกาะอีกกว่า 35,000 เกาะ

[แก้] เกรตเลกส์

ทะเลสาบอิรี ทะเลสาบฮูรอน ทะเลสาบมิชิแกน ทะเลสาบออนแทรีโอ ทะเลสาบซุพีเรีย
ขนาดพื้นที่ 25,700 ตารางกิโลเมตร 59,600 ตารางกิโลเมตร 58,000 ตารางกิโลเมตร 19,500 ตารางกิโลเมตร 82,400 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำ 480 ลูกบาศก์กิโลเมตร 3,540 ลูกบาศก์กิโลเมตร 4,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร 1,640 ลูกบาศก์กิโลเมตร 12,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร
ความสูงพื้นดิน[3] 174 เมตร 176 เมตร 176 เมตร 75 เมตร 186 เมตร
ความลึกเฉลี่ย[4] 19 เมตร 59 เมตร 85 เมตร 86 เมตร 147 เมตร
ความลึกสูงสุด 64 เมตร 230 เมตร 281 เมตร 246 เมตร 406 เมตร
เมืองใกล้เคียง บัฟฟาโล, นิวยอร์ก
คลีฟแลนด์, โอไฮโอ
เอรี, เพนซิลเวเนีย
โตเลโด, โอไฮโอ
ซาร์เนีย, ออนแทริโอ
โอเวนซาวน์ด, ออนแทริโอ
พอร์ตฮูรอน, มิชิแกน
เบย์ซิตี, มิชิแกน
ชิคาโก, อิลลินอยส์
แกรี, อิลลินอยส์
กรีนเบย์, วิสคอนซิน
มิลวอกี, วิสคอนซิน
เทวเวอร์สซิตี, มิชิแกน
แกรนด์ฮาเวน, มิชิแกน
แฮมิลตัน, ออนแทริโอ
คิงส์ตัน, ออนแทริโอ
ออสฮาวา, ออนแทริโอ
โรเชสเตอร์, นิวยอร์ก
โตรอนโต, ออนแทริโอ
มิสซิสซอกา, ออนแทริโอ
ดูลูธ, มินนิโซตา
ซอลต์สตรีทมารี, ออนแทริโอ
ธันเดอร์เบย์, ออนแทริโอ
แมร์เกตต์, มิชิแกน

[แก้] ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน

ทะเลสาบมิชิแกนและทะเลสาบฮูรอนมีผืนน้ำติดใหลถึงกันทำให้ทะเลสาบทั้งสองนี้บางครั้งเรียกว่า ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน ความสูงผิวน้ำของทั้งสองทะเลสาบนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ 176[5] เมตร และไม่ได้เชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำ แต่เชื่อมต่อกันด้วยช่องแคบแมคคิแนค[6]

[แก้] แม่น้ำ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ LUHNA Chapter 6: Historical Landcover Changes in the Great Lakes Region
  2. ^ Ghassemi, Fereidoun (2007). Inter-basin water transfer. Cambridge, Cambridge University Press, 264. ISBN 0-52-186969-2. 
  3. ^ "Great Lakes Atlas: Factsheet #1". United States Environmental Protection Agency. March, 9th, 2006 สืบค้นเมื่อ 2007-12-03
  4. ^ Grady, Wayne (2007). The Great Lakes. Vancouver: Greystone Books and David Suzuki Foundation. ISBN 978-1-55365-197-0.
  5. ^ Wright, John W. (ed.) (2006). The New York Times Almanac (2007 ed.). New York, New York: Penguin Books. pp. 64. ISBN 0-14-303820-6. 
  6. ^ Grady, Wayne (2007). The Great Lakes. Vancouver: Greystone Books and David Suzuki Foundation. ISBN 978-1-55365-197-0.
Gnome-globe.svg เกรตเลกส์ เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เกรตเลกส์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ