บารัก โอบามา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บารัก โอบามา
บารัก โอบามา

อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม พ.ศ. 2552
รองประธานาธิบดี   โจ ไบเดน
สมัยก่อนหน้า จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม ค.ศ. 2005 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
สมัยก่อนหน้า พีเทอร์ ฟิตซ์เจอรอลด์
สมัยถัดไป โรแลนด์ เบอร์ริส

สมาชิกวุฒิสภา แห่งรัฐอิลลินอยส์ เขตที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม ค.ศ. 1997 – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004
สมัยก่อนหน้า แอลิซ พอลเมอร์
สมัยถัดไป ควอมี ราอูล

เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 (อายุ 48 ปี)[1]
โฮโนลูลู ฮาวาย สหรัฐอเมริกา[1]
สังกัดพรรค พรรคเดโมแครต
สมรสกับ มิเชล โอบามา
อาชีพ ทนายความ
นักการเมือง
อาจารย์มหาวิทยาลัย[2]
ศาสนา คริสต์ โปรแตสแตนท์ ยูไนเต็ด เชอร์ส ออฟ คริสต์
ลายมือชื่อ Barack Obama signature.svg

บารัก โอบามา (อังกฤษ: Barack Obama) มีชื่อเต็มว่า บารัก ฮุสเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II) เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 44 และเป็นคนแอฟริกันอเมริกันคนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โอบามาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอยส์ ในปี 2005 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2008 หลังจากที่เขาประกาศลงสมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 โอบามาเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 ที่ตึกยูเอสแคปิตอล วอชิงตัน ดี.ซี.

โอบามาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เขาได้เป็นประธานของ Harvard Law Review โดยเป็นคนผิวสีคนแรก เคยทำงานเป็นผู้จัดการชุมชน, อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก จากปี ค.ศ. 1992 - 2004 และทนายสิทธิพลเมืองมาก่อนที่จะหันมาสนใจการเมือง เคยสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาในการเลือกตั้งปี 2000 แต่ไม่ชนะการเลือกตั้ง จึงเริ่มหาเสียงในการสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2003 เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ ในปี ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2004

ในระหว่างการทำหน้าที่ในสภาคองเกรสที่ 109 นั้น โอบามาได้เรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้อาวุธ และเรียกร้องให้มีการแถลงการณ์เรื่องการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลให้สาธารณชนได้ทราบด้วย นอกจากนั้นในช่วงนี้ เขายังเคยไปเยือนยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาอย่างเป็นทางการด้วย ในสภาคองเกรสที่ 110 เขาก็ได้เรียกร้องให้มีการดูแลปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงหรือภาวะโลกร้อน การก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และให้การดูแลทหารผ่านศึกสงครามอิรัก และสงครามอัฟกานิสถาน

เนื้อหา

[แก้] ชีวิตวัยเด็กจนถึงวัยทำงาน

สูติบัตรของบารัก โอบามา

โอบามา เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ที่เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย[3][4] เป็นบุตรของนายบารัก โอบามา ซีเนียร์ ชาวจังหวัดเซียยา ประเทศเคนยา และนางแอนน์ ดันแฮม ชาวเมืองวิชิทอ รัฐแคนซัส[5][6] ซึ่งแม่ของเขามีเชื้อสายวงศ์ตระกูลมาจากอังกฤษ ไอร์แลนด์ และเยอรมนี[7][8][9] โดยทั้งคู่พบรักกันขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวายที่มานัว ซึ่งพ่อของเขาได้เข้าศึกษาในฐานะนักเรียนต่างชาติ[10][11] และได้แต่งงานกันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961[12] แต่เขาทั้งสองได้แยกกันอยู่เมื่อโอบามาอายุได้เพียง 2 ปีและหลังจากนั้นก็หย่าขาดจากกัน[13]

หลังจากนั้น ดันแฮม แม่ของโอบามาก็ได้แต่งงานใหม่กับโลโล ซูโตโร และได้พาครอบครัวไปอยู่ที่บ้านเกิดของสามีใหม่ในประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1967 โอบามาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในท้องถิ่นของกรุงจาการ์ตาจนกระทั่งอายุได้ 10 ขวบ[5] โอบามาจึงได้ย้ายกลับโฮโนลูลูบ้านเกิดกับครอบครัวของแม่และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนปูนาฮัวตั้งแต่เกรด 5 จนสำเร็จการศึกษาในปี 1979[14] หลังจากจบไฮสกูล โอบามาก็ได้ย้ายไปเรียนต่อที่ลอสแอนเจลิสที่วิทยาลัยออกซิเดนทอล (Occidental College) เป็นเวลา 2 ปี[15] จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในมหานครนิวยอร์ก สาขารัฐศาสตร์ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[16]

จากขวาไปซ้าย บารัก โอบามา, น้องสาวของเขา มายา ซูโตโร ถัดไปเป็นแม่และตาของพวกเขาคือ แอนน์ ดันแฮม, แสตนลีย์ ดันแฮม ถ่ายที่รัฐฮาวาย เมื่อต้นปี 1970

ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ระดับไฮสคูลนั้น เขายอมรับว่าเคยเสพกัญชา, โคเคน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเขาเปิดเผยที่เวทีประชุมพลเมืองสำหรับประธานาธิบดีปี 2008 ถือว่าเป็นความล้มเหลวเกี่ยวกับศีลธรรมความดีงาม[17][18]

โอบามาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1983 และได้เข้าทำงานในบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศและกลุ่มวิจัยสาธารณประโยชน์แห่งนิวยอร์ก หลังจาก 4 ปีที่อยู่ในนิวยอร์ก โอบามาย้ายไปอยู่ที่ชิคาโก เขาได้รับการจ้างเป็นผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน (DCP) ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนริเริ่มตั้งจากศาสนา ซึ่งประกอบด้วย 8 โบสถ์คาทอลิก ในโลสแลนด์ พูลแมนตะวันตก และ ริเวอร์เดล ในด้านใต้ของเมืองชิคาโก และเขาได้ทำงานที่นั่นเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1985 จนถึง เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1988[19] ระหว่างที่เขาทำงานอยู่ 3 ปีในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน (DCP) ผู้ร่วมงานได้เพิ่มขึ้นจาก 1 คน เป็น 13 คน และงบประมาณประจำปี เพิ่มขึ้นจากปีละ 7 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 4 แสนเหรียญสหรัฐ โดยมีการช่วยเหลือเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกอบรม, การกวดวิชาเพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย และ องค์กรสิทธิของผู้เช่าที่ดินในแอลเจลด์การ์เดนส์ (Altgeld Gardens)[20] โอบามายังได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้สอนในมูลนิธิกามาลีล (Gamaliel Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งเกี่ยวกับองค์กรชุมชน[21] ในกลางปี ค.ศ. 1988 เขาได้เดินทางไปยุโรปเป็นครั้งแรกเป็นเวลา 3 สัปดาห์และไปเคนยา 5 สัปดาห์ ซึ่งเขาได้พบญาติๆ ชาวเคนยาหลายคนเป็นครั้งแรกด้วย[22]

จากนั้น เขาจึงเรียนต่อด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดในปี ค.ศ. 1988 สิ้นปีแรกเขาได้รับคัดเลือกจากการแข่งขันในการเขียนและเกรดของการเรียนให้เข้ามาเป็นบรรณาธิการคนหนึ่งของวารสาร Harvard Law Review[23] พอขึ้นปีที่สอง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เขาได้รับคัดเลือกเป็นประธานของ Harvard Law Review ในตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการ(อาสาสมัครเต็มเวลา) และกำกับควบคุมนักเขียนถึง 80 คน[24] โอบามาเป็นชาวผิวดำคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธานของ Law Review ข่าวการคัดเลือกได้มีการรายงานในวงกว้าง ตามด้วยประวัติส่วนตัวที่ละเอียดในสื่อระดับประเทศ ระหว่างฤดูร้อน เขาได้กลับไปชิคาโก ซึ่งเขาทำงานเป็นทนายความฝึกงานช่วงปิดภาคฤดูร้อน ที่สำนักงานกฎหมายของ Sidley & Austin ในปี ค.ศ. 1989 และ Hopkins & Sutter ในปี ค.ศ. 1990[25] หลังจากจบปริญญากฎหมาย Juris Doctor จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดในปี 1991 จากนั้นเขาก็ย้ายกลับไปชิคาโก[26][27] และเริ่มเขียนหนังสือเล่มแรกชื่อ Dreams from My Father ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1995[28]

ช่วงปี 1993 และ 2002 โอบามาเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยในคณะกรรมการบริหารกองทุนไม้แห่งชิคาโก องค์กรที่ช่วยจัดสรรเงินทุนให้กับประชาชนและชุมชนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเปรียบในชิคาโก[29] ต่อมาในปี 1999 ก็ได้เข้าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารด้วยความช่วยเหลือของบิล อาเยอร์ส

ต่อมาเขาก็รับงานสอนนอกเวลาที่วิทยาลัยกฎหมาย มหาวิทยาลัยชิคาโก โอบามาสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมเวลา 12 ปี เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 4 ปี (1992-1996) และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอาวุโสถึง 8 ปี (1996-2004) [30] และเขายังได้ร่วมกับ เดวิด ไมเนอร์ บาร์นฮิลล์ และกัลแลนด์ ที่เป็นบริษัททนายความมีเชี่ยวชาญด้านการต่อสู้คดีในชั้นศาล และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน โอบามาเป็นสมาชิก 3 ปี (1993-1996) จึงลาออก[31][32]

โอบามา เคยเป็นสมาชิกสรรหาของบอร์ดบริหารแห่งพันธมิตรสาธารณะในปี ค.ศ. 1992 และได้ลาออกไปก่อนที่ มิเชล ภรรยาของเขาจะเข้ามาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของพันธมิตรสาธารณะแห่งชิคาโกในต้นปี ค.ศ. 1993[33] และยังเป็นสมาชิกของบอร์ดบริหารหลายที่ เช่น สภาทนายความเพื่อสิทธิพลเมืองภายใต้กฎหมายแห่งชิคาโก, ศูนย์กลางเพื่อเทคโนโลยีเพื่อนบ้าน, ศูนย์ลูจีเนียเบิร์นโฮป (Lugenia Burns Hope Center)

[แก้] ประวัติทางการเมือง

[แก้] สมาชิกสภานิติบัญญัติ, 1997-2004

โอบามาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ในปี ค.ศ. 1996 แทนที่ตำแหน่งของวุฒิสมาชิก อลิซ ปาล์มเมอร์ จากเขตปกครองที่ 13 เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว โอบามาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรคใหญ่ให้มีการปฏิรูปกฎหมายจริยธรรมและสุขภาพ[34] เขาสนับสนุนกฎหมายบรรจุเรื่องการเพิ่มเครดิตภาษีให้กับแรงงานผู้มีรายได้ต่ำ เจรจาเรื่องการปฏิรูปสังคมสงเคราะห์ และเพิ่มเงินสมทบสำหรับการดูแลเด็กเล็ก[35] ในปี ค.ศ. 2001 เป็นประธานร่วมในเรื่องของกฎหมายว่าด้วยการปกครอง เขาสนับสนุนกฎระเบียบที่เสนอโดยผู้ว่าการรัฐ Ryan เพื่อควบคุมเงินกู้ใช้จ่ายระหว่างเงิน และการให้จำนองที่เอาเปรียบ เพื่อลดปัญหาบ้านถูกยึด[36]

ต่อมา โอบามาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1998[37] และอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 2002 ส่วนในปี ค.ศ. 2000 นั้น เขาแพ้การเลือกตั้งแบบไพรแมรีเพื่อชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาต่อ บอบบี รัช เจ้าของตำแหน่งคนเก่าด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 2 ต่อ 1[38][39]

ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2003 โอบามาได้เป็นประธานคณะกรรมการบริการสุขภาพและมนุษย์แห่งสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งตอนนั้น พรรคเดโมแครต ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง[40] หลังจากต้องตกเป็นรองอยู่นานนับทศวรรษ[41] ในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2004 เพื่อหาวุฒิสมาชิกแห่งสหรัฐอเมริกานั้น ตัวจากแทนตำรวจได้ให้เครดิตกับโอบามาอย่างมาก ในกรณีที่เขาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปกฎหมายการประหารชีวิต[42] โอบามาจึงลาออกจากสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 และได้เริ่มหาเสียงเพื่อรับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกา[43] จนกระทั่งในปี 2004 เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกของสหรัฐอเมริกา[44]

[แก้] เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2004

กลางปี ค.ศ. 2002 โอบามาเริ่มคิดถึงเรื่องการเป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกา หลังจากที่เลือก เดวิด แอกเซลรอด มาเป็นที่ปรึกษาวางกลยุทธทางการเมือง โอบามาจึงได้ประกาศเสนอตัวเข้าชิงตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2003 [45] หลังจากที่ปีเตอร์ ฟิตซเกอรัลด์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนจากพรรคริพับลิกัน และคาโรล โมเซลีย์ บรอน อดีตวุฒิสมาชิกจากพรรคเดโมแครตตัดสินใจไม่เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งในครั้งนี้ ก็เป็นการเปิดโอกาสกว้างให้กับผู้สมัครจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกันได้เข้ามาหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งนี้ซึ่งมีผู้สมัครรวม 15 คน[46] การเสนอตัวเข้าชิงตำแหน่งของโอบามาได้รับแรงสนับสนุนจากแอกเซลรอดอย่างมากที่ช่วยหาเสียง ช่วยประชาสัมพันธ์โดยใช้ภาพจาก ฮาโรลด์ วอชิงตัน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโกที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนการรับรองจากลูกสาวของพอล ซิมอน นักการเมืองคนสำคัญของอเมริกาและอดีตวุฒิสมาชิกแห่งสหรัฐอเมริกา ตัวแทนรัฐอิลลานอยส์[47] ทำให้โอบามาได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 52 ในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 และยังนำคู่แข่งจากพรรคเดโมแครตด้วยกันเองถึงร้อยละ 29 เลยทีเดียว[48] จนกระทั่งได้เป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเพื่อชิงชัยตำแหน่งอันทรงเกียรติแห่งรัฐอิลลินอยส์แห่งนี้

แต่ต่อมา คู่แข่งคนสำคัญของโอบามาคือ แจ็ค ไรอัน ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบครั้งแรกจากพรรครีพับลิกัน ได้ประกาศถอนตัวจากการแข่งขันเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2004[49]

เดือนกรกฎาคม ปี 2004 โอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญในการประชุมพรรคเดโมแครตระดับชาติประจำปี 2004 ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์[50] โอบามาเล่าถึงประสบการณ์ของผู้เป็นตาของเขาได้ผ่านประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2มาในฐานะทหารผ่านศึก และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก เคหะแห่งชาติ (New Deal's FHA) โครงการสำหรับทหารผ่านศึก (G.I. Bill) จากนั้นเขาได้กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญของเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เขาได้ตั้งคำถามถึงการบริหารงานในช่วงสงครามอิรักของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และเน้นในประเด็นหน้าที่ของอเมริกาที่พึงมีต่อทหารของประเทศ โอบามาได้ยกตัวอย่างประวัติศาสตร์อเมริกา ได้วิพากษ์วิจารณ์ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ถือพวกอย่างหนัก และได้ขอร้องให้อเมริกันชนหันมาฝักใฝ่ความสามัคคีท่ามกลางความหลากหลาย โดยได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้ว่า "ประเทศนี้ไม่มีอเมริกาเสรีนิยมกับอเมริกาอนุรักษ์นิยม มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกา" ("There is not a liberal America and a conservative America; there's the United States of America.) [51] สุนทรพจน์ส่วนนี้ ได้มีการเผยแพร่ทาง PBS, CNN, MSNBC, Fox News และ C-SPAN แก่ผู้ชม 9.1 ล้านคน ทำให้สถานะและภาพลักษณ์ทางการเมืองของโอบามาดีขึ้นมาก ทำให้เขาได้รับความนิยมขึ้นอย่างล้นหลาม ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกาครั้งนี้[52]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 เดือนจะถึงวันเลือกตั้ง อลัน คีส์ ได้เข้ามาเป็นตัวแทนจากพรรคริพับลิกันในการชิงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ แทนที่ ไรอัน ที่ได้ถอนตัวไปก่อนหน้านี้[53] คีส์นั้นแต่เดิมมีบ้านอยู่ในรัฐแมรีแลนด์ แต่เขาก็ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในรัฐอิลลินอยส์เพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้[54] แต่สุดท้ายแล้ว ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 โอบามาได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 70 ขณะที่คีส์ได้คะแนนเสียงไปเพียงร้อยละ 27 เท่านั้น ชัยชนะอันท่วมท้นของโอบามาครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ ที่มีความต่างของคะแนนมากที่สุด ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของรัฐอิลลินอยส์เลยทีเดียว[55]

[แก้] สมาชิกวุฒิสภา, 2005-2008

โอบามาได้สาบานตนในฐานะเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2005[56] เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เขาได้เข้ามาทำงานที่วอชิงตัน เขาจึงได้ตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความสามารถสูงมาช่วยเหลือการทำงาน ซึ่งจำนวนสมาชิกในคณะที่ปรึกษาของเขานี้มีมากกว่าที่สมาชิกวุฒิสภาคนอื่นๆต้องการเมื่อครั้งที่เข้ามารับตำแหน่งนี้ในสมัยแรก[57] เขาว่าจ้างให้ พีท เราซ์ ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการเมืองระดับชาติวัย 30 ปี และยังว่าจ้าง ทอม แดสเชิล อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของประธานวุฒิสภาแห่งพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของเขาอีกด้วย นอกจากนั้นก็ว่าจ้าง คาเรน คอร์นบลูห์ นักเศรษฐศาสตร์, โรเบิร์ต รูบิน อดีตรักษาการหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย[58] โอบามาได้ให้ ซาแมนตา พาวเวอร์ ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และแอนโทนี เลค กับ ซูซาน ไรซ์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารสมัยประธานาธิบดีคลินตัน ให้เป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของเขาด้วย[59]

ชื่อของโอบามาต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา เพราะเขาเป็นอเมริกันผิวสีคนที่ 5 ในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา และเป็นคนที่ 3 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน[60] เขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเพียงคนเดียวที่เป็นสมาชิกของ Congressional Black Caucus[61] นิตยสาร CQ Weekly นิตยสารที่เป็นกลางของสหรัฐอเมริกาได้ยกย่องโอบามาว่าเป็น "นักประชาธิปไตยผู้ซื่อสัตย์" จากผลการวิเคราะห์การโหวตให้คะแนนเสียงสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศในปี 2005-2007 และนิตยสาร National Journal ก็จัดว่าเขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่"มีความเป็นเสรีนิยมมากที่สุด" จากการโหวตในปี 2007[62][63] แต่โอบามากลับรู้สึกสงสัยในวิธีการสำรวจเพื่อให้ได้ผลโหวตนี้ โดยตำหนิว่าการแบ่งการเมืองออกเป็นสองข้างระหว่าง"อนุรักษ์นิยม"กับ"เสรีนิยม" เป็นการแบ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะทำให้เกิดความลำเอียงในผลการสำรวจ ซึ่งก็ทำให้ผลโหวตออกมาไม่ตรงตามความจริงเท่าใดนัก[64]

บารัก โอบามา ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งวุฒิสมาชิกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ก่อนที่จะเริ่มทำงานประธนาธิบดี[65][66] เนื่องจากโอบามาดำรงวุฒิสมาชิกอยู่ก่อนแล้ว แต่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกตำแหน่ง ทำให้ไม่มีเวลาในการประชุมสภาคองเกรส เพื่อเป็นการไม่ให้เวลาการทำงานของตำแหน่งทั้งสองคาบเส้นกัน จึงต้องลาออกจากวุฒิสมาชิก ซึ่งปัญหาแบบนี้เคยมีมาแล้วในสมัยประธานาธิบดีวาเรน ฮาร์ดิง[67]

[แก้] ด้านนิติบัญญัติ

ทอม โคเบิร์นและโอบามาขณะกำลังพูดคุยเรื่อง "กฎหมายความโปร่งใสโคเบิร์น-โอบามา" (Coburn–Obama Transparency Act) [68]

โอบามาลงคะแนนเห็นด้วยกับร่างกฎหมายนโยบายพลังงานปี ค.ศ. 2005 เนื่องจากสอดคล้องกับความสนใจของเขา โอบามารับหน้าที่สำคัญในการผลักดันให้สมาชิกวุฒิสภา พัฒนาความปลอดภัยตามแนวชายแดนและการปฏิรูปการอพยพข้ามประเทศ ในปี ค.ศ. 2005 นั้นเขาสนับสนุน "กฎหมายความปลอดภัยของอเมริกาและการอพยพอย่างมีระเบียบ" ที่ร่างขึ้นโดย จอห์น แมคเคน สมาชิกวุฒิสภา ตัวแทนรัฐแอริโซนา จากพรรครีพับลิกัน[69] ต่อมาเขาได้เพิ่มข้อแก้ไขสามจุดลงใน "กฎหมายปฏิรูปการอพยพทั่วไป" ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 แต่ไม่ได้รับเสียงข้างมากในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร[70] ในเดือนกันยายน ปี 2006 นั้น โอบามาสนับสนุนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ กฎหมายป้องกันความปลอดภัย ซึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศและพัฒนาความปลอดภัยอื่นๆ ตามแนวชายแดนสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก[71] ประธานาธิบดีบุชได้ลงนามรับรองยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2006 โดยกล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นก้าวกระโดดสำคัญในการปฏิรูปการอพยพข้ามแดนเข้าสู่สหรัฐอเมริกา

โอบามาและริชาร์ด ลูการ์ ไปเยือนกองทัพรัสเซียที่ดำเนินการถอดถอนขีปนาวุธออก[72]

ต่อมา โอบามาได้จับมือกับ ริชาร์ด ลูการ์ วุฒิสมาชิกแห่งรัฐอินเดียนาจากพรรครีพับลิกัน และ ทอม โคเบิร์น จากโอกลาโฮมา หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ลูการ์-โอบามา" ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการลดอาวุธสงคราม[73] และกฎหมาย "โคเบิร์น-โอบามา"ที่นำมาซึ่งการก่อตั้งเว็บไซต์ www.USAspending.gov ซึ่งเป็นเว็บที่เปิดทำการในเดือนธันวาคม ปี 2007 และควบคุมโดยสำนักงานบริหารและงบประมาณ[74] หลังจากที่ชาวอิลลินอยส์เริ่มไม่พอใจน้ำเสียที่เป็นผลมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในบริเวณใกล้เคียง โอบามาจึงได้สนับสนุนให้มีการตรากฎหมายบังคับให้เจ้าของโรงงานแจ้งให้กับทางรัฐและทางการของท้องถิ่นทันทีที่มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี[75] แต่ร่างกฎหมายที่ผ่อนปรนแล้วกลับถูกต่อต้านอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาก็ได้มีการนำกฎหมายนี้มาพิจารณาอีกครั้ง[76] ในเดือนธันวาคม ปี 2006 ประธานาธิบดีบุชได้นำกฎหมายนี้ไปปรับใช้เป็น "กฎหมายเพื่อสงเคราะห์ ความปลอดภัย และส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งคองโก" นับว่าเป็นผลงานด้านนิติบัญญัติชิ้นแรกของโอบามาที่มีบทบาทในระดับประเทศ[77]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 โอบามาและวุฒิสมาชิก Feingold เสนอ"กฎหมายเกี่ยวกับการรวมกลุ่มเป็นบริษัทการผลิตเครื่องบินไอพ่น (jet)" เป็นกฎหมายที่เปิดเผยและน่าเชื่อถือ โดยลงนามเป็นกฎหมายเมื่อเดือนกันยายน 2007[78] โอบามาเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการหลอกลวง, การป้องกันการข่มขู่ผู้ไปลงคะแนนเสียง งบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับการทุจริตในการเลือกตั้งทั่วไปของรัฐบาลกลาง[79] เขายังเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการลดการทำสงครามอิรัก[80]

ต่อมาปลายปี ค.ศ. 2007 โอบามาสนับสนุนให้แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการป้องกันประเทศ โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงเมื่อเกิดเหตุจลาจล[81] ซึ่งกฎหมายนี้ได้ผ่านการอนุมัตจากวุฒิสภาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2008[82] เขาได้สนับสนุนกฎหมายในการให้อำนาจต่อต้านอิหร่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากการลดกองทุนบำนาญของรัฐ จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของอิหร่าน และร่วมสนับสนุนการออกกฎหมายลดการเสี่ยงภัยจากการก่อการร้ายด้วยนิวเคลียร์[83][84] โอบามายังได้สนับสนุนวุฒิสภาในการแก้ไขโปรแกรมของรัฐในการประกันสุขภาพของเด็ก โดยให้งานทำ 1 ปี สำหรับสมาชิกของครอบครัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม[85]

[แก้] คณะกรรมการด้านต่างๆ

บารัก โอบามาได้รับมอบหมายให้เป็น คณะกรรมการวุฒิสภาเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, สิ่งแวดล้อม, งานสาธารณะ, วิเทรัน ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2006[86] ต่อมาเดือนมกราคม ปี 2007 เขาได้ออกจากการเป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและงานสาธารณะ แล้วได้เป็นกรรมการดูแลเกี่ยวกับสาธารณสุข, การศึกษา, แรงงาน และเงินสงเคราะห์ผู้ที่ไม่มีบ้าน และสวัสดิการของรัฐ[87] เขายังกลายเป็นประธานคณะกรรมการวุฒิสภายุโรปอีกด้วย[88] ในงานนี้ โอบามาได้ปฏิบัติภารกิจในการไปดูงานที่ ทวีปยุโรปตะวันออก, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และแอฟริกา โอบามายังได้พบกับมาห์มุด อับบาส ก่อนที่เขาจะได้เป็นประธานาธิบดีปาเลสไตน์ และยังได้ประณามการทุจริตของรัฐบาลเคนยา ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยไนโรบี ประเทศเคนยา[89]

[แก้] การหาเสียงเพื่อรับเลือกตั้งประธานาธิบดี

โอบามาขณะอยู่บนเวทีพร้อมลูกสาวทั้งสอง ก่อนจะประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ณ เมืองสปริงฟีลด์ รัฐอิลลินอยส์

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2007 โอบามาได้ประกาศบนเวทีหน้าอาคาร Old State Capitol ในนครสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ว่าเขาจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008[90] โอบามาเลือกสถานที่นี้เพราะเป็นที่ซึ่งอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นกล่าวปราศรัย House Divided เมื่อปี ค.ศ. 1858[91] และอ้างถึงคำปราศรัยของลินคอล์นในการที่จะรวมประเทศที่แตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียว[92][93] ก่อนหน้าที่โอบามาจะประกาศต่อหน้าสาธารณชนหนึ่งสัปดาห์นั้น

โอบามาได้เรียกร้องให้ยุติการหาเสียงแบบโจมตีคู่แข่ง (negative campaigning) [94] โอบามาได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการยุติสงครามอิรัก พลังงาน และการประกันชีวิตแบบสากล[95] ซึ่งเขาได้นำมาเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงชิงชัยตำแหน่งตัวแทนพรรคครั้งนี้ ปรากฏว่า เขาได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง และกลุ่มชาวอเมริกันผิวดำ หลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกเสร็จสิ้นลง

ระหว่างการเลือกตั้งครั้งแรกกับการเลือกตั้งทั่วไป โอบามาได้จัดเตรียมบันทึกเอาไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการบริจาค.[96][97][98] ในวันที่ 19 มิถุนายน โอบามากลายเป็นคนแรกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกที่ปฏิเสธในเรื่องของการคลังสาธารณะ ในการเลือกตั้งทั่วไปตั้งแต่ระบบถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1976[99]

โอบามากล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะของเขา

ช่วงเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2008 ในการเลือกตั้งเพื่อชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปนั้น โอบามาต้องเจอคู่แข่งคนสำคัญคือ ฮิลลารี คลินตัน ซึ่งช่วงแรกต่างคนก็ต่างเอาชนะกันในแต่ละรัฐ[100][101][102][103] ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ทางคณะกรรมการพรรคเดโมแครตแห่งชาติ(DNC) ได้พิจารณาคะแนนโหวตที่รัฐมิชิแกนและฟลอริด้าที่กำลังมีความขัดแย้งกันอยู่ อย่างไรก็ตามผลการโหวตครั้งสุดท้ายปรากฏว่าโอบามามีคะแนนนำ[104] ในวันที่ 3 มิถุนายน โอบามาจึงได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[105][106] และในวันเดียวกันนั้น เขาได้แถลงการณ์ถึงชัยชนะที่เซนท์ พอล รัฐมินนิโซตา หลังจากนั้น ฮิลลารี คลินตัน จึงได้ยุติบทบาทในการหาเสียงทั้งหมด แล้วหันมาสนับสนุนโอบามาในวันที่ 7 กรกฎาคม[107] เพื่อที่จะได้ไปเจอกับจอห์น แมคเคน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันต่อไป

วันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2008 โอบามาได้เลือกโจ ไบเดิน จากรัฐเดลาแวร์ ให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในนามพรรคเดโมแครต[108]

ที่ศูนย์ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน อดีตคู่แข่งภายในพรรคของโอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนโอบามา ให้เป็นตัวแทนจากพรรคเดโมแครต เพื่อไปต่อสู้กับพรรครีพับลิกันอย่างเป็นทางการ[109][110] ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม โอบามากล่าวสุนทรพจน์ท่ามกลางผู้สนับสนุนราว 84,000 คน และผู้ที่ดูทางโทรทัศน์อีก 38 ล้านคน และในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์นั้น โอบามาได้ถูกยอมรับให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และยังนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของเขาต่อไป[111][112]

ภายหลังจากการโต้วาที โอบามาได้รับชัยชนะจากโพลต่างๆ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ยายของเขา แมดาลีน ดันแฮม เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในอายุ 86 ปี แต่เขาเพิ่งทราบข่าวในวันถัดมาคือวันที่ 3 พฤศจิกายน ก่อนการเลือกตั้งเพียงวันเดียว[113][114]

ระหว่างที่จอห์น แมคเคนเป็นตัวแทนจากพรรครีพับลิกันสมัครชิงตำแหน่งประานาธิบดี มีการโต้วาทีกันถึง 3 ครั้งระหว่างโอบามากับแมคเคนในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม ปี 2008[115][116] สำหรับผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น เขาชนะการเลือกตั้งแบบป็อปปูลาร์โหวต 53% และ ชนะเลือกตั้งแบบอิเล็กโทรรอลโหวตอย่างท้วมท้น ต่อมาก็มีการจัดเฉลิมฉลองตามท้องถนนในหลายเมืองของสหรัฐและทั่วโลกภายหลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้งทันที[117]

[แก้] ชัยชนะ

บารัก โอบามา พบปะกับจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในห้องทำงานรูปไข่ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 บารัก โอบามาชนะเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอรัลโหวต 365 คะแนน ซึ่งจอห์น แมคเคนได้เพียงแค่ 173 คะแนน[118] และกลายเป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ[119][120][121][122] เขาได้ประกาศชัยชนะต่อประชาชนหลายแสนคน ที่สนับสนุนให้เขาเป็นประธานาธิบดีที่แกรนด์ปาร์ค ชิคาโกว่า "การเปลี่ยนแปลงได้มาถึงอเมริกาแล้ว" ("change has come to America")[123]

ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2009 ในการประชุมร่วมกันของสมาชิกจากสองสภาของสภาคองเกรส ได้รับรองผลอิเล็กทอรัลโหวต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 โดยใช้การนับจำนวนคะแนนเสียงที่โหวตให้ บารัก โอบามาได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีโดยมี โจ ไบเดิน เป็นรองประธานาธิบดี[124]

[แก้] การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ส่งพระราชสาส์นแสดงความยินดีกับโอบามา ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเวลาเที่ยงคืนตามเวลาประเทศไทย โดยทรงได้อำนวยพรให้ประสบความสำเร็จเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประชาชน และความเจริญยิ่งขึ้นของสหรัฐอเมริกา

[แก้] วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง

โอบามาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 โจ ไบเดิน เป็นรองประธานาธิบดี หลังจากที่ทำงานได้เพียงไม่กี่วัน เขาได้ออกคำสั่ง (Executive Order) และออกเอกสารบันทึกความเข้าใจประธานาธิบดี (Presidential Memorandum) บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ โดยตรงเพื่อพัฒนาแผนการถอนกำลังทหารออกจากอิรัก,[125] และออกคำสั่งให้ปิดค่ายกักขังนักโทษกวนตานาโมทันทีและดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่เกินเดือนมกราคม ค.ศ. 2010[126] ยิ่งไปกว่านั้น โอบามายังได้ปรับปรุงการเก็บรักษาข้อมูลลับของประธานาธิบดี[127] และปรับเปลี่ยนวิธีนำเสนอข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้ ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสหรัฐอเมริกา (Freedom of Information Act).[128] และดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำแท้ง[129]

[แก้] นโยบายในประเทศ

วันที่ 29 มกราคม 2009 โอบามาลงนามในกฎหมาย “ลิลลี เลดเบทเทอร์ แฟร์ เพย์” (The Lilly Ledbetter Fair Pay Act) ซึ่งยกเลิกคำตัดสินของศาลในคดีที่ ลิลลี เลดเบทเทอร์ ฟ้อง บริษัท กู้ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ โค. (Goodyear Tire & Rubber Co.) และช่วยให้การเก็บเอกสารแยกแยะคดีฟ้องร้องในเรื่องการจ้างงานให้สะดวกยิ่งขึ้น[130] 5 วันต่อมา เขาลงนามในระเบียบวาระประกันสุขภาพเด็ก (SCHIP) ทำให้เด็กอีกจำนวน 4 ล้านคนในปัจจุบันได้รับการประกันสุขภาพโดยทั่วถึงกัน[131]

ในเดือนมีนาคม 2009 โอบามายกเลิกนโยบายสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่กีดขวางไม่ให้งบจากรัฐบาลกลางมาใช้เป็นทุนสำหรับงานวิจัยสเต็มเซลล์ แม้ว่าจะมีผู้วิจัยบางคนออกมาโต้แย้งในเรื่องนี้ เขาแถลงออกไปว่า "เรื่องวิทยาศาสตร์กับเรื่องศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน...เรามีมนุษยธรรมและคุณธรรมที่จะติดตามงานวิจัยนี้โดยรับผิดชอบ" และให้คำมั่นสัญญาว่าจะพัฒนานโยบายนี้ให้สมบูรณ์[132]

วันที่ 26 พฤษภาคม 2009 โอบามาเสนอชื่อ โซเนีย โซโตเมเยอร์ เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาแทนที่ เดวิด ซูเตอร์ ที่ลาออกไป โซโตเมเยอร์ถูกรับรองเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2009 ด้วยจำนวนเสียง 68-31[133] เธอกลายเป็นชาวสเปนคนแรกที่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา เธอเข้าร่วมกับ รุธ เบเดอร์ จินส์เบิร์ก หนึ่งในจำนวนผู้หญิง 2 คนและเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ที่เป็นผู้พิพากษาตลอดมา[134]

วันที่ 30 กันยายน 2009 รัฐบาลโอบามาประกาศข้อบังคับเรื่องพลังงานพืช, โรงงานและโรงกลั่นน้ำมันให้จำกัดมลภาวะเรือนกระจกเพื่อช่วยลดปรากฏการณ์โลกร้อน[135][136][137]

[แก้] การจัดการเศรษฐกิจ

วันที่ 17 มกราคม 2009 โอบามาลงนามในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นกฎหมาย เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก[138] กฎหมายฉบับนี้คลอบคลุมถึงการใช่จ่ายจากส่วนกลางสำหรับประกันสุขภาพ, สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน, การศึกษา, ภาษีต่างๆ และสิ่งชักจูงอื่นๆ และช่วยเหลือไปที่ปัจเจกบุคคลโดยตรง[139] ซึ่งกำลังถูกกระจายไปตลอดหลายปี

ในเดือนมีนาคม ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐฯ ได้ก้าวล้ำไปอีกขั้นหนึ่งในการจัดการกับวิกฤติการณ์การเงิน รวมไปถึงการนำเสนอกองทุนการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชน หรือ Public-Private Investment Program (PPIP) เพื่อซื้อคืนหนี้เสีย (Legacy. Assets) จากสถาบันการเงิน วันที่ 23 มีนาคม หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ บันทึกไว้ว่า "ผู้ลงทุนมีปฏิกิริยาที่ปีติยินดีอย่างเหลือล้นกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่ถีบตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับตลาดเปิด"[140]

โอบามาเข้าแทรกแซงวิกฤตการณ์อุตสารหกรรมยานยนต์[141] ในเดิือนมีนาคม ทำการต่อสัญญาเงินกู้ให้กับบริษัทเจเนรัลมอเตอร์ และ ไครสเลอร์ คอปอเรชัน เพื่อให้ดำเนินกิจการเป็นไปอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการวางนโยบายใหม่ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาทำเนียบขาวจัดให้ทั้งสองบริษัทอยู่ในสถานะล้มละลาย รวมไปถึงการขายกิจการของไครสเลอร์ให้กับเฟียท[142] และการปรับปรุงของบริษัทเจเนรัลมอเตอร์เป็นการให้ผลประโยชน์ชั่วคราวที่ยุติธรรมต่อรัฐบาลสหรัฐ 60% รัฐบาลแคนาดารับภาระ 12%[143] ในเดือนมิถุนายน 2009 ความก้าวหน้าของตัวกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่้้พียงพอ โอบามาเรียกร้องให้รัฐบาลรีบเร่งดำเนินการลงทุน[144] เขาลงนามเป็นกฎหมายใน Cash For Clunkers หรือที่รู้จักกันในชื่อ CARS-Car Allowance Rebate System มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายสมบูรณ์ เป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์สหรัฐอเมริกา และเพิ่มความสนใจให้กับคนอเมริกันในการหันมาเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ซึ่งมีอัตรา ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง และมีระดับการสร้างมลพิษในอากาศน้อยกว่ารถยนต์รุ่นเก่าๆ และแคมเปญนี้เพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2009[145][146]

[แก้] ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ

โอบามาลงนามในพระราชบัญญัติการให้ความคุ้มครองผู้ป่วยและค่ารักษาพยาบาลที่ประชาชนสามารถจ่ายได้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2010

โอบามาเรียกร้องให้รัฐสภาคองเกรสผ่านกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญารณรงค์เรื่องหลักและเป็นเป้าหมายสูงสุดของนิติบัญญัติ[147] เขาได้เสนอการขยายการดูแลประกันสุขภาพซึ่งจะคลอบคลุมถึงผู้ที่ไม่ได้ทำประกันเอาไว้ด้วย ข้อเสนอของเขานี้จะใช้งบ 900 พันล้านดอลลาร์ครอบคลุมถึง 10 ปีและรวมไปถึงแผนประกันภัยของรัฐบาลเพื่อที่จะแข่งขันกับภาคเอกชน มันอาจจะทำให้เกิดสิ่งผิดกฎหมายกับผู้ที่ทำประกันภัย ทำให้เกิดการปฏิเสธการรักษาของพวกที่ไม่สบายก่อนหน้านี้ และต้องการให้ครอบคลุมถึงสุขภาพของชาวอเมริกันทุกคน แผนการนี้ยังได้รวมถึงการตัดค่าจ่ายใช้่จ่ายทางการแพทย์ และภาษีของบริษัทประกันภัยซึ่งเสนอแผนการต่างๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง[148][149]

วันที่ 14 กรกฎาคม 2009 ผู้นำรัฐสภาจากพรรคเดโมแครต นำเสนอแผนการปรับปรุงระบบประกันสุขภาพสหรัฐจำนวน 1,017 หน้าซึ่งโอบามาต้องการให้รัฐสภาคองเกรสอนุมัติภายในสิ้นปี 2009[147] หลังจากที่มีการอภิปรายทางสาธารณะอย่างมากในระหว่างการประชุมรัฐสภาช่วงฤดูร้อนปี 2009 โอบามาประกาศแถลงการณ์ของสภาคู่เมื่อวันที่ 9 กันยายน เขาพูดในสภาว่ากังวลในเรื่องของข้อเสนอของรัฐบาลของเขา[150]

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2009 สภาล่างผ่านร่างกฎหมายประกันสุขภาพ[151][152] ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม 2009 สภาสูงผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนนโหวต 60-39[153] วันที่ 21 มีนาคม 2010 ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านโดยสภาสูงในเดือนธันวาคมถูกผ่านโดยสภาล่างด้วยคะแนนโหวต 219 ถึง 212[154] โอบามาลงนามในร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับเช้เป็นกฎหมายเื่มื่อวันที่ 23 มีนาคม 2010[155]

[แก้] ตำแหน่งทางการเมือง

แบบแผนหรือทฤษฎีของนักการเมืองใช้สำหรับการวัดความคิดที่เป็นไปได้ คือการเปรียบเทียบคะแนนนิยมประจำปีของ องค์กรวัดคะแนนนิยมจากชาวอเมริกันผู้นิยมประชาธิปไตย (ADA) กับ สมาพันธ์ชาวอเมริกันที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม หรือพวกที่ชอบประเพณีเก่าๆ ล้าสมัย (ACU)[156] การอยู่ในสภาคองเกรสหลายปี โอบามาได้มีค่าเฉลี่ยคะแนนนิยมอยู่ที่ 7.67% (สำรวจโดย ACU)[157] และจากการสำรวจโดย ADA เขาได้คะแนนนิยม 90%[158]

บารัก โอบามา มีนโยบายที่ตรงข้ามกับนโยบายของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเกี่ยวกับอิรัก[159] ซึ่งในวันที่ 2 ตุลาคม 2002 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ลงมติเห็นชอบร่วมกันในการทำสงครามอิรัก โอบามาได้พูดรณรงค์ต่อต้านการทำสงครามอิรักที่ Federal Plaza ในชิคาโกเป็นครั้งแรก[160] และเขายังได้กล่าวปราศรัยต่อต้านในเรื่องนี้มาโดยตลอด[161]โอบามาอ่านแถลงการณ์ครั้งยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก ในเรื่องของการประท้วงต่อต้านการทำสงครามอิรัก ที่ Kluczynski Federal Building, Chicago[162] เขาพูดโจมตีอย่างรุนแรง[163][164] ในวันที่ 16 มีนาคม 2003 ประธานาธิบดีบุชได้ยื่นคำขาดให้ซัดดัม ฮุสเซนออกจากอิรักภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะรุกรานอิรัก[165] โอบามากล่าวถึงการรณรงค์ต่อต้านการทำสงครามอิรัก และได้บอกสื่อมวลชนว่า "ยังไม่สายเกินไปที่จะยุติสงคราม"[166] ถึงแม้ว่าเขาได้ประกาศมาก่อนหน้านี้แล้วว่าเขาจะถอดกำลังทหารออกจากอิรักทั้งหมดภายในเวลา 16 เดือนหลังจากที่เขาเป็นประธานาธิบดี หลังจกาที่เขาชนะในครั้งแรกนั้น เขากล่าวว่าเขาอาจจะทำตามที่สัญญาไว้[167]

โอบามาได้แจ้งว่า ถ้าหากเขาได้รับเลือกตั้ง เขาจะออกกฎหมายตัดงบประมาณประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 352,900 ล้านบาท เพื่อหยุดการลงทุนซื้ออาวุธที่พิสูจน์ไม่ได้ ในระบบการป้องกันประเทศ, ลดการพัฒนาระบบการรบหรือการต่อสู้ลง และมุ่งทำงานเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด โดยเริ่มจากการลดการสั่งสมนิวเคลียร์ในปัจจุบันของสหรัฐลง ออกกฎหมายห้ามไปทั่วโลกในการผลิตวัตถุดิบในการผลิตอาวุธ และหาทางเจรจาตกลงกับรัสเซียที่จะขจัด ICBMs ออกไปจากสถานะเตือนภัยหรือต้องระวังสูงสุด[168]

โอบามาพูดในที่ชุมนุมที่คอนเวย์ รัฐเซาท์แคโรไลนา[169]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 โอบามาได้ขอให้เปลี่ยนแนวรบโดยการถอนกองทัพสหรัฐออกจากอิรัก และเปิดการเจรจาทางการทูตกับซีเรียและอิหร่าน[170] ต่อมาเดือนมีนาคม 2007 ได้มีการพูดในคณะกรรมการความสัมพันธ์สาธารณะอเมริกัน-อิสราเอล (AIPAC) โดยเห็นด้วยกับการลอบบี้ของอิสราเอล[171] เขาได้กล่าวว่า วิธีเบื้องต้นที่จะป้องกันไม่ให้อิหร่านผลิตอาวุธนิวเคลียร์ก็คือ การพูดเจรจาและใช้วิธีทางการทูตกับอิหร่านโดยปราศจากเงื่อนไขก่อน[172][173][174] รายละเอียดของกลยุทธ์ของเขาเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายสากล ในเดือนสิงหาคม 2007 โอบามาพูดว่า "เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างมากที่ทำการรบล้มเหลว" ซึ่งขัดกับการพบกับผู้นำอัลเคด้า ในปี 2005 ที่หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐได้ยืนยันที่จะกระทำขึ้น ในพื้นที่รัฐบาลกลางของปากีสถาน เขากล่าวว่า ถ้าเป็นประธานาธิบดี เขาจะไม่สูญเสียโอกาสเช่นนั้น แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลปากีสถานก็ตาม[175]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 คอลัมน์ความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ The Washington Post และที่รวมพลังพิทักษ์ดาฟูร์ในเดือนเมษายน 2006 โอบามายังเรียกร้องให้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ ดินแดนทางทางตะวันตกของประเทศซูดาน[176] เขายังได้ถอนเงิน 180,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,352,200 ล้านบาท ออกจากการยึดถือเงินส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเทศซูดาน และได้ถอนการทำธุรกิจบริษัทต่างๆ ออกจากประเทศอิหร่าน[177] ในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2007 เรื่องนโยบายเกี่ยวกับงานด้านการต่างประเทศ โอบามาได้เรียกร้องให้มองนโยบายที่ส่งทหารไปประจำการในสงครามอิรักออกไปข้างนอก และจัดตั้งกองทัพสหรัฐขึ้นมาใหม่ การทูต และจริยธรรมของผู้นำในโลก การกล่าวว่า "เราไม่สามารถล่าถอยจากโลกและพยายามข่มขู่ข้าศึกเพื่อให้ยอมจำนน" โอบามาได้ปราศรัยต่อหน้าประชาชนอเมริกันว่า "นำโลกโดยการกระทำเป็นตัวอย่าง"[178]

เดือนเมษายน ค.ศ. 2005 ในงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เขาได้พูดสนับสนุนนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อการค้าใหม่ ของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และคัดค้านข้อเสนอจากทางพรรครีพับลิกัน ที่จะจัดตั้งบัญชีส่วนบุคคลเพื่อสวัสดิการสังคม[179] ภายหลังจากควันหลงพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา โอบามาพูดต่อต้านรัฐบาลว่า ไม่ต่างอะไรกับการแบ่งแยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยังเรียกร้องไปยังพรรคการเมือง ให้มีการรื้อฟื้นเครือข่ายความปลอดภัยเพื่อคนจน[180] ก่อนที่จะมีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนั้น เขาได้กล่าวไว้ว่าเขาสนับสนุนการดูแลสุขภาพในสหรัฐ[181] เขาได้เสนอการให้รางวัลแก่ครูจากการสอนหนังสือ ตามระบบที่มีการให้สิ่งตอบแทนที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณี สร้างความมั่นใจให้แก่สหภาพครูว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในกระบวนการข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับค่าจ้างชั่วโมงทำงาน[182]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 โอบามากล่าวโทษกลุ่มที่มีผลประโยชน์ที่หลบเลี่ยงการจัดเก็บภาษี[183] ในแผนการของโอบามาจะไม่มีการเก็บภาษีจากพลเมืองอาวุโส ที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,764,500 บาท ต่อปี แต่เพิ่มการเก็บภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 250,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,822,500 บาท ต่อปี เฉกเช่นเงินทุนที่ได้มาและเงินปันผลจากการตัดภาษี จัดการบริษัทที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเกี่ยวกับภาษีในการโกงภาษี[184] ยกเลิกรายได้ที่ต่อยอดมาจากภาษีที่ใช้รักษาความปลอดภัยในสังคม ควบคุมภาษีของบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และการทำการเพิ่มภาษีรายได้ให้เด่นชัด ซึ่งได้ส่งกลับไปก่อนที่จะมีการเพิ่มค่าจ้าง และข้อมูลทางธนาคาร แล้วจึงจะถูกรวบรวมโดยหน่วยงานบริการรายได้ภายใน (IRS)[185] การประกาศนโยบายวางแผนพลังงานในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 โอบามาเสนอขีดจำกัดเกี่ยวกับระบบการขายทอดตลาดเพื่อที่จะจำกัดการแพร่กระจายของคาร์บอน และโปรแกรมการลงทุน 10 ปี ในแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันของสหรัฐฯ[186] โอบามาเสนอว่าสินเชื่อมลภาวะจะต้องถูกขายทอดตลาด ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทน้ำมันและแก๊ส และการใช้จ่ายภาษีอากรตลอดจนไปถึงเรื่องของการพัฒนาและค่าใช้จ่ายการขนส่งทางเศรษฐกิจ[187]

โอบามาได้กระตุ้นพรรคเดโมแครตให้เข้าถึงกลุ่มนิกายโปรแตสแตนท์ และผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ให้ได้[188] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 เขาได้ร่วมกับวุฒิสมาชิก แซม บราวน์แบล็ก ในองค์กรช่วยเหลือโรคเอดส์โลก (Global Summit on AIDS and the Church) ซึ่งก่อตั้งโดย Kay and Rick Warren[189] ในช่วงที่เขาทำงานอยู่กับ Warren และ บราวน์แบล็กนั้น โอบามาได้ทดสอบเกี่ยวกับเชื้อเอดส์ ตามที่เขาได้ทำในประเทศเคนยาอย่างน้อย 4 เดือน[190] ก่อนหน้านี้ได้กระตุ้นในสาธารณะชนอื่นๆ ทำเช่นเดียวกันและไม่ใช่เรื่องที่น่าอายแต่อย่างใด[191] ก่อนการประชุมได้มีกลุ่มต่อต้านการทำแท้ง 18 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับสิ่งที่โอบามาสนับสนุนการทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย ในจดหมายมีเนื้อหาว่า "เราต่อต้าน Rick Warren อย่างรุนแรงในการตัดสินใจที่ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับจุดยืนของการตายอย่างชัดเจนของวุฒิสมาชิกโอบามา และเชิญเขามาที่โบสถ์ Saddle Back" ในการกล่าวกับสมาชิกของนิกายคริสต์กว่า 8,000 คนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 โอบามาขึ้นชื่อว่าเป็น"ผู้นำของชาวคริสเตียนที่จะกระตือรือร้นเป็นผู้แบ่งแยกเรา"[192]

[แก้] ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว

โอบามา ได้พบกับ มิเชล โรบินสัน ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1989 ขณะที่เป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ในช่วงซัมเมอร์ที่บริษัทกฎหมาย Sidley Austin ในเมืองชิคาโก[193] หลังจากนั้นโรบินสันก็ได้เข้าทำงานที่บริษัทนี้ในตำแหน่งที่ปรึกษาของโอบามาเป็นระยะเวลา 3 เดือน โรบินสันได้คบหาสมาคมแบบกลุ่มกับโอบามา แต่กลับปฏิเสธการขอเดทครั้งแรกจากโอบามา[194] ต่อมา พวกเขาออกเดทกันในซัมเมอร์นั้น และเป็นแฟนกันในปี ค.ศ. 1991 จนกระทั่งแต่งงานในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1992[195] ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 2 คนคือ มาเลีย แอน (เกิดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1998[196]) และ นาตาชา ("ซาชา", เกิดปี 2001)[197] ในชิคาโก ครอบครัวโอบามาได้ส่งลูกสาวทั้ง 2 คนไปเรียนที่ University of Chicago Laboratory Schools และเริ่มต้นใช้ชีวิตที่วอชิงตัน ดี.ซี. หลังจากนั้นก็ส่งไปเรียนต่อที่ Sidwell Friends School[198]

ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อนร่วมสถาบันแทนที่จะเรียกชื่อของเขาว่าบารัก แต่กลับตั้งฉายาให้เขาใหม่ว่า "แบรี่" (Barry) ที่แปลว่าคนผิวดำ ทำให้เขารู้สึกแปลกแยกพอสมควร[199]

บารัก โอบามา กับ มิเชล โอบามา

ประโยชน์จากการขายหนังสือทำให้ครอบครัวของโอบามาย้ายจาก Hyde Park ไปยังคอนโดมิเนียมในชิคาโก ย่านเคนวูด (Kenwood) มูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพวกเขาจนถึงปัจจุบัน[200] การซื้อขายบ้านให้โอบามานี้เกิดขึ้นโดยภรรยาผู้บุกเบิกและเพื่อนของเขาคือ Tony Rezko ได้ดึงดูดความสนใจจากสื่อ เนื่องจากคำฟ้องร้องของ Rezko และตัดสินว่ามีความผิด ในเรื่องของข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตทางการเมืองว่าไม่เกี่ยวข้องกับโอบามา[201][202]

ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2007 นิตยสาร Money ได้ประเมินทรัพย์สินของครอบครัวโอบามาที่ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 45.87 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551)[203] ภาษีของพวกเขาในปี ค.ศ. 2007 ชี้ให้เห็นว่ารายได้ของครอบครัวนี้อยู่ที่ 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 148.21 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551) เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2006 และ 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 56.45 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551) ในปี 2005 รายได้เกือบทั้งหมดมาจากการขายหนังสือของเขา[204]

โอบามากำลังเล่นบาสเกตบอลกับทหารอเมริกันที่ประเทศจิบูตี ในปี 2006[205]

ในปี ค.ศ. 2006 โอบามาได้ให้สัมภาษณ์โดยเน้นจุดเด่นของความแตกต่างกันของครอบครัวขนาดใหญ่ของเขาว่า "มิเชล จะบอกคุณว่าเมื่อเราอยู่ร่วมกันในวันคริสต์มาส หรือ วันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งเสมือนเป็นสหประชาชาติขนาดเล็กๆ" เขาพูดว่า "ผมมีญาติซึ่งเหมือน เบอร์นี แมค และผมมีญาติซึ่งเหมือน มาร์กาเรต แทตเชอร์"[206] โอบามามีญาติทางพ่อเขาซึ่งเป็นชาวเคนยา 7 คน โดย 6 คนยังมีชีวิตอยู่ และน้องสาวของต่างบิดาของเขา มายา ซูโตโร ซึ่งเกิดกับแม่ของโอบามาและสามีคนที่สองที่เป็นชาวอินโดนีเซีย[207] แม่ของโอบามามีมารดาเป็นชาวแคนซัส ชื่อ เมดาลีน ดันแฮม[208]จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008เพียง 2 วัน[209] ในหนังสือ Dreams from My Father: A Story of Race and Inheritance หรือในชื่อภาษาไทย บารัก โอบามา ผมลิขิตชีวิตตัวเอง อัตชีวประวัติที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิต ความคิด และมุมมองที่มีต่อเรื่องสีผิว โอบามามักจะบอกว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้เพราะเป็นคนเด่นดัง แต่ต้องการบันทึกเรื่องราวของเชื้อชาติ และมรดกทางปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคม และเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่แสวงหาตัวตน โอบามามีครอบครัวทางมารดาเชื้อชาติอเมริกันและเป็นญาติห่างๆ กับเจฟเฟอร์สัน เดวิส ซึ่งเป็นประธานสมาพันธ์ภาคใต้ในระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา[210] ปู่ทวดและตาทวดของโอบามาต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง พี่ชายของปู่ย่าตายายของโอบามาสังกัดกองพลที่ 89 ที่บุกไปยังค่าย Ohrdruf[211] ซึ่งเป็นค่ายนาซีค่ายแรกที่ถูกทำลายโดยกองทัพสหรัฐฯ[212]

โอบามาเล่นบาสเกตบอล เป็นสมาชิกในทีมนักบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัย[213] นอกจากนี้เขายังมีความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลาหลายครั้ง รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างของสาธารณะชนที่ดี และพยายามอย่างต่อนเองก่อนที่จะหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[214] และประกาศว่าจะไม่สูบบุหรี่ในทำเนียบขาวเป็นอันขาด[215]

โอบามาเป็นชาวคริสเตียนซึ่งเป็นศาสนาที่เขานับถือเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ในหนังสือ The Audacity of Hope หรือในชื่อภาษาไทย กล้าหวัง กล้าเปลี่ยน รวบรวมสุนทรพจน์และปาฐกถา และสะท้อนแนวคิดทางการเมืองที่จะนำอเมริกาไปสู่ความเปลี่ยนแปลง รวมถึงมุมมองในการจัดการปัญหาต่างๆ ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ผู้นำที่เข้มแข็งในเวทีโลกให้กับอเมริกา โอบามาได้เขียนว่า ไม่ได้ยกเลิกการนับถือศาสนาในครอบครัว เขาอธิบายเกี่ยวกับมารดาของเขาว่าเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามทั้งนิกาย Methodists และนิกาย Baptists ซึ่งยังไม่ได้ถอนตัวออกจากศาสนาเสียทีเดียว ในหลายๆวิธีที่บุคคลที่ตื่นตัวแล้วส่วนมากที่นิยมไม่เคยรู้จักมาก่อน เขาอธิบายเกี่ยวกับบิดาชาวเคนยาของเขาว่า ไม่เป็นมุสลิม แต่เป็นผู้ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพ่อและแม่ของเขาเชื่อในขณะนั้น และพ่อเลี้ยงชาวอินโดนีเซียของเขาเป็นผู้เห็นว่าศาสนาไม่มีประโยชน์ใดๆ ในหนังสือนี้โอบามาได้อธิบายวิธีทำงานร่วมกับคนผิวดำในโบสถ์ต่างๆ ในองค์กรชุมชน ในช่วงที่เขามีอายุประมาณ 20 ปี เขาได้เข้าใจเกี่ยวกับพลังอำนาจของศาสนา แอฟริกันอเมริกัน ที่เปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน[216][217] เขาถูกตั้งชื่อในพิธีคริสต์ศาสนาที่ Trinity United Church of Christ ในปี ค.ศ. 1988[218][219]

นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแล้ว โอบามายังพูดภาษาอินโดนีเซียได้อีก แต่พูดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในสมัยที่เขาย้ายไปเรียนที่จาการ์ตาตอนอายุ 4 ขวบ[220] หลังจากการประชุมลับสุดยอดเอเปคที่ประเทศเปรู ในปี 2008 ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน แห่งอินโดนีเซียต่อสายสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ไปยังโอบามา โดยออกอากาศสดทางสื่อต่างๆ ของอินโดนีเซีย โอบามาพูดกับซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ว่าเขาคิดถึงอาหารอินโดนีเซียอย่างเช่น นาสิ โกเล็ง, บาคโซ และ เงาะ[221]

[แก้] ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและทางการเมือง

ประธานาธิบดีบารัก โอบามากับอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช, อดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์, อดีตประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช, และอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในห้องทำงานรูปไข่เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2009

โอบามามีพ่อเป็นชาวเคนยา แม่เป็นชาวอเมริกันผิวขาว เขาได้รับการอบรมสั่งสอนในวัยเด็กที่โฮโนลูลู และจาการ์ตา จบจากไอวีลีก ประสบการณ์ชีวิตในช่วงวัยเริ่มต้นของโอบามาแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด จากนักการเมืองอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเหล่านั้น ผู้ซึ่งดำเนินวิถีทางของพวกเขาเอง ในปี ค.ศ. 1960 พวกเขามีแนวคิดในการมีส่วนร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง[222] การแสดงความงุนงงให้เห็นเกี่ยวกับคำถามที่ว่าเขาดำพอแล้วหรือยัง โอบามากล่าวในการประชุมที่สมาคมนักหนังสือพิมพ์ของคนผิวดำแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ว่าการอภิปรายไม่เกี่ยวข้องกับร่างกาย หรือนโยบายของเขาที่จดบันทึก ที่เป็นห่วงถึงผู้ออกเสียงที่เป็นคนผิวดำ โอบามากล่าวว่า "เรายังคงติดแน่นอยู่กับความรู้สึกนี้ที่ว่าถ้าคุณไปอ้อนวอนแต่พวกผิวขาวก็เหมือนกับว่าคุณกำลังทำอะไรผิด"[223]

20090124 WeeklyAddress.ogv
โอบามาแถลงการณ์ประธานาธิบดีฉบับแรก ชี้แจงถึงพระราชบัญญัติฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2009

เสียงสะท้อนจากคำแถลงการณ์ ในการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี โอบามายอมรับความจริงเกี่ยวกับภาพพจน์ของเขาในตอนแรกเริ่ม ในการกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ว่า "ข้าพเจ้าจะไม่อยู่ที่นี่อีกเป็นอันขาด ถ้าหากว่าตะเกียงยังไม่ได้ถูกจุดขึ้นมาใหม่"[224] และมีสำนวนที่กินใจอยู่สำนวนหนึ่งคือ "Rosa sat so Martin could walk; Martin walked so Obama could run."[225]

โอบามายังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปราศรัยต่อสาธารณะชน เมื่อเทียบกับนักพูดที่มีชื่อเสียงในอดีต อย่างมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์[226][227] คำกล่าวของเขาที่มีชื่อเสียง เช่น "Yes We Can" ซึ่งเป็นคำพูดที่อยู่ในดนตรีที่สร้างขึ้นมาโดย วิล.ไอ.แอม มีประชาชนทั่วโลกกว่า 10 ล้านคนดูวิดีโอนี้ทางเว็บยูทูบ (YouTube.com) เพียงแค่ 7 เดือนแรกเท่านั้น[228] และยังได้รับรางวัลเอ็มมีอีกด้วย[229] ศาสตราจารย์ Jonathan Haidt แห่ง มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ได้ทำการวิจัยประสิทธิผลจากการพูดของโอบามาในที่สาธารณะ และมีเหตุผลที่สรุปได้ว่ามีประสิทธิผลมาก เพราะนักการเมืองมักมีความช่ำชองในการพูดปลุกเร้าอารมณ์ และปรารถนาที่จะประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรมต่อผู้อื่น[230] ส่วนการชี้แจงถึงนโยบายต่างๆและการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น โอบามามีแผนที่จะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อพบปะกับประชาชน เหมือนกับรายการ "ไฟล์ไซต์ แชท" ที่โด่งดังของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์[231]

นักวิเคราะห์หลายคนได้อ้างถึงการเป็นที่สนใจของต่างชาติของโอบามา เป็นการให้คำจำกัดความสำหรับภาพพจน์ของเขา[232] ไม่เพียงแต่โพลจากหลายสำนัก ที่แสดงพลังสนับสนุนอันแข็งแกร่งในต่างประเทศ[233] แต่โอบามายังได้สร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับนักการเมืองที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น โทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ซึ่งพบกันในปี ค.ศ. 2005[234], วอลเตอร์ เวลโทนี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ของอิตาลี ที่มาเยี่ยมเยียนยังสำนักงานวุฒิสภาของโอบามาในปี ค.ศ. 2005[235] และ นิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งเคยมาเยี่ยมเยียนโอบามาในปี ค.ศ. 2006 ที่วอชิงตัน ดี.ซี.[236]

โอบามาชนะรางวัลแกรมมีในหมวดหมู่รางวัล Best Spoken Word Album จากการตัดต่อคำพูดลงในเทปบันทึกของหนังสือ "Dreams from My Father" ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 และ "The Audacity of Hope" ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008[237]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 นิตยสารไทม์เลือกบารัก โอบามาให้เป็นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ ประจำปี 2008[238] วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ให้บารัก โอบามา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพโดยข้อความที่ได้รับรางวัล คือ "สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก"

[แก้] งานเขียน

  • The Audacity of Hope: Thoughts on Reclaiming the American Dream,(2006). Crown Publishers, Division of Random House, NY
  • Dreams from My Father: A Story of Race and Inheritance, (1995). Time Books an imprint of Crown Publishers, Division of Random House, NY
  • Change We Can Believe In: Barack Obama's Plan to Renew America's Promise, (2008). Three Rivers Press, an imprint of Crown Publishers, Division of Random House, NY

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 Birth Certificate of Barack Obama. Department of Health, Hawaii. PolitiFact.com (8 August 1961). สืบค้นวันที่ 2008-12-12
  2. ^ money.cnn.com/galleries/2007/moneymag/0712/gallery.candidates.moneymag/5.html.
  3. ^ Maraniss, David. "Though Obama Had to Leave to Find Himself, It Is Hawaii That Made His Rise Possible", 'The Washington Post', 2008-08-22. สืบค้นวันที่ 2008-10-27
  4. ^ Serafin, Peter. "Punahou grad stirs up Illinois politics" (Article), Special to the Star-Bulletin, Honolulu Star-Bulletin, 21 March 2004. สืบค้นวันที่ November 30 2008
  5. ^ 5.0 5.1 Scharnberg, Kirsten, Kim Barker. "The Not-So-Simple Story of Barack Obama's Youth", Chicago Tribune, 25 มีนาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 Meet Barack. BarackObama.com. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  6. ^ Reitwiesner, William Addams. Ancestry of Barack Obama. สืบค้นวันที่ 2008-10-09 Obama's maternal heritage consists mostly of English ancestry, with much smaller amounts of German, Irish, Scottish, Welsh, Swiss, and French ancestry.
  7. ^ "FOXNews.com - Report: Obama's Irish Roots Unearthed - Politics | Republican Party | Democratic Party | Political Spectrum", Foxnews.com, May 3, 2007. สืบค้นวันที่ 2008-11-08
  8. ^ Barack Obama's Irish Heritage - John A. Farrell (usnews.com). Usnews.com. สืบค้นวันที่ 2008-11-08
  9. ^ Tiny Irish Village Is Latest Place to Claim Obama as Its Own - washingtonpost.com. Washingtonpost.com. สืบค้นวันที่ 2008-11-08
  10. ^ Obama (1995) , pp. 9–10. For book excerpts, see "Barack Obama: Creation of Tales", East African, 2004-11-01. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  11. ^ Tim Jones. "Obama's mom: Not just a girl from Kansas: Strong personalities shaped a future senator", 'Chicago Tribune, reprinted in The Baltimore Sun', 2007-03-27. สืบค้นวันที่ 2008-10-27
  12. ^ Ripley, Amanda. "The Story of Barack Obama's Mother", Time, 2008-04-09. สืบค้นวันที่ 2007-04-09
  13. ^ Obama (1995) , pp. 125–126. See also: Jones, Tim. "Obama's Mom: Not Just a Girl from Kansas", Chicago Tribune, 27 มีนาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  14. ^ Serafin, Peter. "Punahou Grad Stirs Up Illinois Politics", Honolulu Star-Bulletin, 21 มีนาคม ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  15. ^ Oxy Remembers "Barry" Obama '83. Occidental College (29 มกราคม ค.ศ. 2007). สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  16. ^ Boss-Bicak, Shira. "Barack Obama ’83: Is He the New Face of The Democratic Party?", Columbia College Today, January 2005. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  17. ^ Obama, McCain talk issues at pastor's forum - CNN.com. cnn.com (2008-08-17). สืบค้นวันที่ 2008-08-29
  18. ^ Barack Obama, asked about drug history, admits he inhaled. International Herald Tribune (2006-10-25). สืบค้นวันที่ 2008-08-31
  19. ^ Secter, Bob; McCormick, John. "Portrait of a pragmatist", Chicago Tribune, 2007-03-30, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-06-06 Lizza, Ryan. "The Agitator: Barack Obama's Unlikely Political Education" (alternate link), New Republic, 2007-03-19. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 Obama (1995), pp. 140–295; Mendell (2007), pp. 63–83.
  20. ^ Matchan, Linda. "A Law Review breakthrough" (paid archive), The Boston Globe, 1990-02-15, p. 29. สืบค้นวันที่ 2008-06-06 Corr, John. "From mean streets to hallowed halls" (paid archive), The Philadelphia Inquirer, 1990-02-27, p. C01. สืบค้นวันที่ 2008-06-06
  21. ^ Obama, Barack (August–September 1988). "Why organize? Problems and promise in the inner city". Illinois Issues 14 (8–9): 40–42. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-06  reprinted in: Knoepfle, Peg (ed.) (1990). After Alinsky: community organizing in Illinois. Springfield, IL: Sangamon State University. pp. pp. 35–40. ISBN 0962087335.  Tayler, Letta; Herbert, Keith. "Obama forged path as Chicago community organizer", Newsday, 2008-03-02, p. A06. สืบค้นวันที่ 2008-06-06
  22. ^ Obama (1995), pp. 299–437.
  23. ^ Levenson, Michael; Saltzman, Jonathan. "At Harvard Law, a unifying voice", The Boston Globe, 2007-01-28. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Kantor, Jodi. "In law school, Obama found political voice", The New York Times, 2007-01-28, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Kodama, Marie C. "Obama left mark on HLS", The Harvard Crimson, 2007-01-19. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Mundy, Liza. "A series of fortunate events", The Washington Post, 2007-08-12, p. W10. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Heilemann, John (2007-10-22). "When they were young". New York 40 (37): 32–7, 132–3. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-15  Mendell (2007), pp. 80–92.
  24. ^ Butterfield, Fox. "First black elected to head Harvard's Law Review", The New York Times, 1990-02-06, p. A20. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Ybarra, Michael J. "Activist in Chicago now heads Harvard Law Review" (paid archive), Chicago Tribune, 1990-02-07, p. 3. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Matchan, Linda. "A Law Review breakthrough" (paid archive), The Boston Globe, 1990-02-15, p. 29. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Corr, John. "From mean streets to hallowed halls" (paid archive), The Philadelphia Inquirer, 1990-02-27, p. C01. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Drummond, Tammerlin. "Barack Obama's Law; Harvard Law Review's first black president plans a life of public service" (paid archive), Los Angeles Times, 1990-03-12, p. E1. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Evans, Gaynelle. "Opening another door: The saga of Harvard's Barack H. Obama", Black Issues in Higher Education, 1990-03-15, p. 5. สืบค้นวันที่ 2008-11-15 Pugh, Allison J. (Associated Press). "Law Review's first black president aims to help poor" (paid archive), The Miami Herald, 1990-04-18, p. C01. สืบค้นวันที่ 2008-06-15
  25. ^ Aguilar, Louis. "Survey: Law firms slow to add minority partners" (paid archive), Chicago Tribune, 1990-07-11, p. 1 (Business). สืบค้นวันที่ 2008-06-15
  26. ^ Adams, Richard. "Barack Obama", The Guardian, 2007-05-09. สืบค้นวันที่ 2008-10-26
  27. ^ Mendell, David. Barack Obama (American politician). สืบค้นวันที่ 2008-10-26
  28. ^ Kodama, Marie C. "Obama Left Mark on HLS", Harvard Crimson, 19 มกราคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 See also: Obama (1995) , p. xiii and Reynolds, Gretchen. "Vote of Confidence", Chicago Magazine, มกราคม ค.ศ. 1993. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  29. ^ Barman, Ari (1 พฤษภาคม, ค.ศ. 2008). Obama Under the Weather. The Nation. สืบค้นวันที่ 2008-05-05
  30. ^ University of Chicago Law School (2008-03-27). Statement regarding Barack Obama. University of Chicago Law School. สืบค้นวันที่ 2008-06-10 Miller, Joe (2008-03-28). Was Barack Obama really a constitutional law professor?. FactCheck.org. สืบค้นวันที่ 2008-06-10 Holan, Angie Drobnic (2008-03-07). Obama's 20 years of experience. PolitiFact.com. สืบค้นวันที่ 2008-06-10
  31. ^ Robinson, Mike (Associated Press). "Obama got start in civil rights practice", The Boston Globe, 2007-02-10. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Pallasch, Abdon M. "As lawyer, Obama was strong, silent type; He was 'smart, innovative, relentless,' and he mostly let other lawyers do the talking", Chicago Sun-Times, 2007-12-17, p. 4. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 "People" (paid archive), Chicago Tribune, 1993-06-27, p. 9 (Business). สืบค้นวันที่ 2008-06-15 "(Business%20appointments) %20AND%20date (7/5/1993%20to%207/5/1993) &p_field_date-0=YMD_date&p_params_date-0=date:B,E&p_text_date-0=7/5/1993%20to%207/5/1993) &p_field_advanced-0=&p_text_advanced-0= (Business%20appointments) &xcal_numdocs=20&p_perpage=10&p_sort=YMD_date:D&xcal_useweights=no Business appointments" (paid archive), Chicago-Sun-Times, 1993-07-05, p. 40. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Miner, Barnhill & Galland (2008). About Us. Miner, Barnhill & Galland – Chicago, Illinois. สืบค้นวันที่ 2008-06-15 Obama (1995) , pp. 438–439, Mendell (2007) , pp. 104–106.
  32. ^ ARDC Individual Attorney Record of Public Registration and Public Disciplinary and Disability Information as of October 17, 2008 at 12:52:13 PM. Attorney Registration and Disciplinary Commission of the Supreme Court of Illinois. สืบค้นวันที่ 2008-10-19
  33. ^ Public Allies (2008). Fact Sheet on Public Allies' History with Senator Barack and Michelle Obama. Public Allies. สืบค้นวันที่ 2008-06-06
  34. ^ Slevin, Peter. "Obama Forged Political Mettle in Illinois Capitol", Washington Post, 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 Helman, Scott. "In Illinois, Obama Dealt with Lobbyists", Boston Globe, 23 กันยายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 See also: "Obama Record May Be Gold Mine for Critics", Associated Press, CBS News, 17 มกราคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 "In-Depth Look at Obama's Political Career" (video), CLTV, Chicago Tribune, 9 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  35. ^ Scott, Janny. "In Illinois, Obama Proved Pragmatic and Shrewd", The New York Times, 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 See also: Pearson, Rick, Ray Long. "Careful Steps, Looking Ahead", Chicago Tribune, 3 เมษายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  36. ^ Allison, Melissa. "State takes on predatory lending; Rules would halt single-premium life insurance financing", Chicago Tribune, 2000-12-15, p. 1 (Business). สืบค้นวันที่ 2008-06-01 Long, Ray; Allison, Melissa. "Illinois OKs predatory loan curbs; State aims to avert home foreclosures.", Chicago Tribune, 2001-04-18, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-06-01
  37. ^ 13th District: Barack Obama (archive). Illinois State Senate Democrats (2000-08-24). สืบค้นจาก the original วันที่ 2000-04-12 สืบค้นวันที่ 2008-04-20 13th District: Barack Obama (archive). Illinois State Senate Democrats (2004-10-09). สืบค้นจาก the original วันที่ 2004-08-02 สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  38. ^ Federal Elections 2000: U.S. House Results - Illinois. Federal Election Commission. สืบค้นวันที่ 2008-04-24. See also: Obama's Loss May Have Aided White House Bid. and Scott, Janny. "A Streetwise Veteran Schooled Young Obama", The New York Times, 9 กันยายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  39. ^ McClelland, Edward. "How Obama Learned to Be a Natural", Salon, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 See also: Wolffe, Richard, Daren Briscoe. "Across the Divide", Newsweek, MSNBC, 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 Helman, Scott. "Early Defeat Launched a Rapid Political Climb", Boston Globe, 12 ตุลาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 and Obama learned from failed Congress run.
  40. ^ Calmes, Jackie. "Statehouse Yields Clues to Obama", Wall Street Journal, 2007-02-23. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  41. ^ Tavella, Anne Marie. "Profiling, taping plans pass Senate", Daily Herald, 2003-04-14, p. 17. สืบค้นวันที่ 2008-06-01 Haynes, V. Dion. "Fight racial profiling at local level, lawmaker says; U.S. guidelines get mixed review", Chicago Tribune, 2003-06-29, p. 8. สืบค้นวันที่ 2008-06-01 Pearson, Rick. "Taped confessions to be law; State will be 1st to pass legislation", Chicago Tribune, 2003-07-17, p. 1 (Metro). สืบค้นวันที่ 2008-06-01
  42. ^ Youngman, Sam, Aaron Blake. "Obama's Crime Votes Are Fodder for Rivals", The Hill, 14 มีนาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20 See also: "US Presidential Candidate Obama Cites Work on State Death Penalty Reforms", Associated Press, International Herald Tribune, 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  43. ^ Coffee, Melanie. "Attorney Chosen to Fill Obama's State Senate Seat", Associated Press, HPKCC, 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  44. ^ Pallasch, Abdon M. "Professor Obama was a Listener, Students Say", Chicago Sun-Times, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  45. ^ Helman, Scott. "Early Defeat Launched a Rapid Political Climb", Boston Globe, 12 ตุลาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  46. ^ Davey, Monica. "Closely Watched Illinois Senate Race Attracts 7 Candidates in Millionaire Range", The New York Times, 7 มีนาคม ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  47. ^ Wallace-Wells, Ben. "Obama's Narrator", นิตยสารนิวยอร์กไทมส์, 1 เมษายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  48. ^ Davey, Monica. "From Crowded Field, Democrats Choose State Legislator to Seek Senate Seat", New York Times, 17 มีนาคม ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 See also: Jackson, John S. "The Making of a Senator: Barack Obama and the 2004 Illinois Senate Race", Occasional Paper of the Paul Simon Public Policy Institute, Southern Illinois University, August 2006. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  49. ^ "Ryan Drops Out of Senate Race in Illinois", CNN, 25 มิถุนายน ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  50. ^ Bernstein, David. "The Speech", Chicago Magazine, June 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  51. ^ Obama, Barack (27 กรกฎาคม ค.ศ. 2004). Keynote Address at the 2004 Democratic National Convention (text or video). BarackObama.com. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  52. ^ Archibold, Randal C. "The Illinois Candidate; Day After, Keynote Speaker Finds Admirers Everywhere", The New York Times, 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 Roach, Ronald. "Obama Rising", Black Issues In Higher Education, DiverseEducation.com, 7 ตุลาคม ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  53. ^ Lannan, Maura Kelly. "Alan Keyes Enters U.S. Senate Race in Illinois Against Rising Democratic Star", Associated Press, Union-Tribune (San Diego), 9 สิงหาคม, ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  54. ^ Liam, Ford, David Mendell. "Keyes Sets Up House in Cal City", Chicago Tribune, 13 สิงหาคม, ค.ศ. 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  55. ^ "America Votes 2004: U.S. Senate / Illinois", CNN. สืบค้นวันที่ 2008-04-13 Slevin, Peter. "For Obama, a Handsome Payoff in Political Gambles", The Washington Post, 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-13
  56. ^ About Barack Obama. Barack Obama U.S. Senate Office. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  57. ^ Babington, Charles, Shailagh Murray. "For Now, an Unofficial Rivalry", Washington Post, 8 ธันวาคม ค.ศ. 2006. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 Dorning, Mike. "Obama's Policy Team Loaded with All-Stars", Chicago Tribune, 17 กันยายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  58. ^ Enda, Jodi. "Great Expectations", The American Prospect, 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 Bacon Jr., Perry. "The Outsider's Insider", Washington Post, 27 สิงหาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  59. ^ Traub, James. "Is (His) Biography (Our) Destiny?", The New York Times, 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 King, Neil. "Obama Tones Foreign-Policy Muscle", Wall Street Journal, 5 กันยายน ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 Sweet, Lynn. "Obama Taps Influential Foreign Policy Experts", Chicago Sun-Times, 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  60. ^ Breaking New Ground: African American Senators. U.S. Senate Historical Office. สืบค้นวันที่ 2008-06-25
  61. ^ Member Info. Congressional Black Caucus. สืบค้นวันที่ 2008-06-25 See also: Zeleny, Jeff. "When It Comes to Race, Obama Makes His Point—With Subtlety", Chicago Tribune, 26 มิถุนายน ค.ศ. 2005. สืบค้นวันที่ 2008-06-25
  62. ^ Nather, David. "The Space Between Clinton and Obama", CQ Weekly, 14 มกราคม ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-25 See also: Curry, Tom. "What Obama's Senate Votes Reveal", MSNBC, 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-25
  63. ^ "Obama: Most Liberal Senator In 2007", National Journal, 31 มกราคม ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-25
  64. ^ "Obama Interview" (transcript), WJLA-TV, Politico, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-25 See also: Toner, Robin. "Obama's Promise of a New Majority", International Herald Tribune, also NYT version (published 2008-03-25), 23 มีนาคม ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-25
  65. ^ Mason, Jeff (2008-11-16). Obama resigns Senate seat, thanks Illinois. The Washington Post. The Washington Post Company. สืบค้นวันที่ 2008-11-21
  66. ^ Sidoti, Liz (2008-11-13). Obama to Resign Senate Seat on Sunday. Time. Time Inc.. สืบค้นวันที่ 2008-11-22
  67. ^ Baker, Peter (2008-11-14). ON THE WHITE HOUSE; If the Senate Reconvenes, Two Seats May Be Empty. The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นวันที่ 2008-11-21
  68. ^ President Bush Signs Federal Funding Accountability and Transparency Act. White House (26 กันยายน ค.ศ. 2006).
  69. ^ U.S. Senate, 109th Congress, 1st Session (12 พฤษภาคม ค.ศ. 2005). S. 1033, Secure America and Orderly Immigration Act. Thomas. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  70. ^ "Immigration Bill Divides House, Senate", USA Today, 22 กันยายน ค.ศ. 2006. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: Obama Statement on Senate Passage of Immigration Reform Bill. Barack Obama U.S. Senate Office (25 พฤษภาคม ค.ศ. 2006). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  71. ^ "Latinos Upset Obama Voted for Border Fence", CBS 2 (Chicago), 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  72. ^ Nunn–Lugar Report (PDF). Richard Lugar U.S. Senate Office (August 2005). สืบค้นวันที่ 2008-04-30
  73. ^ Lugar–Obama Nonproliferation Legislation Signed into Law by the President. Richard Lugar U.S. Senate Office (11 มกราคม ค.ศ. 2007). สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: Lugar, Richard G, Barack Obama. "Junkyard Dogs of War", Washington Post, 3 ธันวาคม ค.ศ. 2005. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 The Lugar–Obama initiative subsequently received $48 million in funding. Obama, Lugar Secure Funding for Implementation of Nonproliferation Law. Richard Lugar U.S. Senate Office (28 มิถุนายน ค.ศ. 2007). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  74. ^ McCormack, John. "Google Government Gone Viral", Weekly Standard, 21 ธันวาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: President Bush Signs Coburn–Obama Transparency Act. Tom Coburn U.S. Senate Office (26 กันยายน ค.ศ. 2006). สืบค้นวันที่ 2008-04-27 The site provides the name and location of each entity receiving a Federal award, the funding agency, and the amount of the grant or contract. About This Site. USAspending.gov. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  75. ^ McIntire, Mike. "Nuclear Leaks and Response Tested Obama in Senate", The New York Times, 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  76. ^ Dobbs, Michael. "Obama's 'Backroom Deal'?", Washington Post, 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  77. ^ Democratic Republic of the Congo. United States Conference of Catholic Bishops (April 2006). สืบค้นวันที่ 2008-04-27 The IRC Welcomes New U.S. Law on Congo. International Rescue Committee (5 มกราคม ค.ศ. 2007). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  78. ^ Weixel, Nathaniel. "Feingold, Obama Go After Corporate Jet Travel", The Hill, 2007-11-15. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 Weixel, Nathaniel. "Lawmakers Press FEC on Bundling Regulation", The Hill, 2007-12-05. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: "Federal Election Commission Announces Plans to Issue New Regulations to Implement the Honest Leadership and Open Government Act of 2007", Federal Election Commission, 2007-09-24. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  79. ^ Stern, Seth. "Obama–Schumer Bill Proposal Would Criminalize Voter Intimidation", CQPolitics.com, The New York Times, 2007-01-31. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 U.S. Senate, 110th Congress, 1st Session (2007-01-31). S. 453, Deceptive Practices and Voter Intimidation Prevention Act of 2007. Thomas. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: "Honesty in Elections" (editorial), The New York Times, 2007-01-31. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  80. ^ Krystin, E. Kasak. "Obama Introduces Measure to Bring Troops Home", Medill News Service, The Times (Munster, Indiana), 2007-02-07. สืบค้นวันที่ 2008-04-27 "Latest Major Action: 1/30/2007 Referred to Senate committee." U.S. Senate, 110th Congress, 1st Session (2007-01-30). S. 433, Iraq War De-Escalation Act of 2007. Thomas. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  81. ^ Obama, Bond Hail New Safeguards on Military Personality Disorder Discharges, Urge Further Action. Kit Bond U.S. Senate Office (2007-10-01). สืบค้นวันที่ 2008-04-27 See also: Dine, Philip. "Bond Calls for Review of Military Discharges", St. Louis Post-Dispatch, 2007-12-23. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  82. ^ Obama, Bond Applaud Senate Passage of Amendment to Expedite the Review of Personality Disorder Discharge Cases.
  83. ^ Graham-Silverman, Adam. "Despite Flurry of Action in House, Congress Unlikely to Act Against Iran", CQ Today, 2007-09-12. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  84. ^ Obama, Schiff Provision to Create Nuclear Threat Reduction Plan Approved. Barack Obama U.S. Senate Office (2007-12-20). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  85. ^ Senate Passes Obama, McCaskill Legislation to Provide Safety Net for Families of Wounded Service Members. Barack Obama U.S. Senate Office (2007-08-02). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  86. ^ Committee Assignments (archive). Barack Obama U.S. Senate Office (2006-12-09). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  87. ^ Obama Gets New Committee Assignments. Associated Press. Barack Obama U.S. Senate Office (2006-11-15). สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  88. ^ Baldwin, Tom. "Stay-At-Home Barack Obama Comes Under Fire for a Lack of Foreign Experience", Sunday Times (UK), 2007-12-21. สืบค้นวันที่ 2008-04-27
  89. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named Kenyan
  90. ^ "Obama Launches Presidential Bid", BBC News, 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 Video at Brightcove.TV.
  91. ^ "Presidential Campaign Announcement" (video), Obama for America, Brightcove.TV, 2007-02-10. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  92. ^ "Obama: I'm running for president", 2007-02-10
  93. ^ โอบามากล่าวว่า "ใต้ร่มเงาของอาคาร Old State Capitol ที่ที่ประธานาธิบดีลินคอล์นเรียกร้องให้บ้านที่แตกแยกนั้นปรองดองกัน ที่ที่ยังเปี่ยมไปด้วยความหวังธรรมดาๆ ความฝันธรรมดาๆ ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ นี่คือเหตุผลที่ผมมายืนต่อหน้าท่านทั้งหลาย ผมมาเพื่อประกาศว่า ผมจะสมัครเป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา""Presidential Campaign Announcement" (video), Obama for America, Brightcove.TV, 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  94. ^ "Barack Obama at the DNC Winter 2007 Meeting" (video), Democratic National Committee, 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 Full text from CQ Transcripts Wire. Retrieved on 2008-01-14. See also: Harris, Paul. "The Obama Revolution", Guardian Unlimited, 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  95. ^ "Barack Obama on the Issues: What Would Be Your Top Three Overall Priorities If Elected?", Washington Post. สืบค้นวันที่ 2008-04-14 See also: Falcone, Michael. "Obama's 'One Thing'", The New York Times, 2007-12-21. สืบค้นวันที่ 2008-04-14
  96. ^ Malone, Jim. "Obama Fundraising Suggests Close Race for Party Nomination", Voice of America, July 2, 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  97. ^ Cummings, Jeanne. "Small Donors Rewrite Fundraising Handbook", Politico, September 26, 2007. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  98. ^ Cadei, Emily. "Obama Outshines Other Candidates in January Fundraising", CQ Politics, February 21, 2008. สืบค้นวันที่ 2008-02-24
  99. ^ Salant, Jonathan D.. "Obama Won't Accept Public Money in Election Campaign", Bloomberg, June 19, 2008. สืบค้นวันที่ 2008-06-19
  100. ^ 2008 Democratic Delegates. RealClearPolitics. สืบค้นวันที่ 2008-03-25
  101. ^ Brian Knowlton. "Make That 11 for Obama", The New York Times, 2008-02-21. สืบค้นวันที่ 2008-03-18
  102. ^ "Results: March 4 - Multi-State Events", CNN, 2008-03-04. สืบค้นวันที่ 2008-03-04
  103. ^ "Superdelegates put Obama within reach", The Associated Press, MSNBC.com, 2008-05-12. สืบค้นวันที่ 2008-05-13
  104. ^ "Clinton Wins Puerto Rico Primary", The Associated Press, Free Internet Press, 2008-06-01. สืบค้นวันที่ 2008-06-01
  105. ^ "Obama: I will be the Democratic nominee", CNN.com, 2008-06-04. สืบค้นวันที่ 2008-06-06
  106. ^ John Whitesides in Washington. "Obama clinches nomination", Herald Sun (Australia), 2008-06-04. สืบค้นวันที่ 2008-06-06
  107. ^ Zeleny, Jeff and Michael Luo. "Obama Clinches Nomination", The New York Times, 2008-06-04. สืบค้นวันที่ 2008-06-04
  108. ^ Sidoti, Liz, Fouhy, Beth (Associated Press). "Obama picks Biden for veep", San Francisco Chronicle, 2008-08-22. สืบค้นวันที่ 2008-09-20
  109. ^ Tom Baldwin. "Hillary Clinton: 'Barack is my candidate'", TimesOnline, 2008-08-27. สืบค้นวันที่ 2008-08-27
  110. ^ Nagourney, Adam. "Obama Wins Hard-Fought Nomination as Biden and Bill Clinton Rally the Party", The New York Times, 2008-08-27. สืบค้นวันที่ 2008-08-27
  111. ^ "Obama accepts Democrat nomination", BBC News, BBC, 2008-08-29. สืบค้นวันที่ 2008-08-29
  112. ^ Marks, Alexandra. "Soaring speech from Obama, plus some specifics", The Christian Science Monitor, 2008-08-29. สืบค้นวันที่ 2008-09-20
  113. ^ "Obama's grandmother dies after battle with cancer", CNN, November 3, 2008
  114. ^ McCain pledges to help Obama lead. CNN (2008-11-04). สืบค้นวันที่ 2008-11-04
  115. ^ Commission on Presidential Debates Announces Sites, Dates, Formats and Candidate Selection Criteria for 2008 General Election. Commission on Presidential Debates (2007-11-19). สืบค้นวันที่ 2008-07-06
  116. ^ "Gun Ruling Reverberates", The Hartford Courant, 2008-06-27. สืบค้นวันที่ 2008-07-06
  117. ^ "Scenes of joy across the US", Canberra Times, 2008-11-06
  118. ^ CNN Electoral Map Calculator - Election Center 2008. CNN.com (2008). สืบค้นวันที่ 2008-12-14
  119. ^ BBC NEWS | World | Americas | US Elections 2008 | Obama wins historic US election. News.bbc.co.uk (November 5, 2008). สืบค้นวันที่ 2008-11-05
  120. ^ Nagourney, Adam. "Obama Elected President as Racial Barrier Falls", The New York Times, November 4, 2008. สืบค้นวันที่ 2008-11-05
  121. ^ Obama: 'This is your victory'. CNN (November 5, 2008). สืบค้นวันที่ 2008-11-05
  122. ^ Wallsten, Peter. "White Americans play major role in electing the first black president", Los Angeles Times, November 5, 2008
  123. ^ Johnson, Wesley. "Change has come, says President-elect Obama", The Independent, November 5, 2008. สืบค้นวันที่ 2008-11-05
  124. ^ Congress meets to count electoral votes. (2009, January 8). MSNBC. Retrieved January 8, 2009.
  125. ^ "Obama asks Pentagon for responsible Iraq drawdown", China Daily, January 23, 2009. สืบค้นวันที่ September 4, 2009
  126. ^ Glaberson, William. "Obama Orders Halt to Prosecutions at Guantánamo", The New York Times, January 21, 2009. สืบค้นวันที่ February 3, 2009
  127. ^ Executive Order—Presidential Records. สืบค้นวันที่ January 22, 2009
  128. ^ Doyle, Michael. "Obama restores some of the 'Freedom' to FOIA", McClatchy Newspapers, January 23, 2009. สืบค้นวันที่ January 24, 2009
  129. ^ Gerstein, Josh. "Obama: End Abortion 'Politicization'", Politico.com, January 24, 2009
  130. ^ "Obama Signs Equal-Pay Legislation", New York Times. สืบค้นวันที่ June 15, 2009
  131. ^ "Obama signs into law expansion of SCHIP health-care program for children", Chicago Tribune. สืบค้นวันที่ June 15, 2009
  132. ^ Obama overturns Bush policy on stem cells
  133. ^ "Senate confirms Sotomayor for Supreme Court", CNN.com, 6 August 2009. สืบค้นวันที่ 6 August 2009
  134. ^ Obama nominates Sotomayor to Supreme Court, CNN, accessed May 26, 2009.
  135. ^ http://www.nytimes.com/2009/10/01/science/earth/01epa.html?hp
  136. ^ http://www.latimes.com/news/nationworld/nation/la-na-epa-climate1-2009oct01,0,5195916.story
  137. ^ http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5ip53lrBGDBrm5QYg-npRkHn4ggRA
  138. ^ "Stimulus package en route to Obama's desk", CNN, Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นวันที่ March 29, 2009
  139. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named direct_assistance
  140. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named markets_opened
  141. ^ "White House questions viability of GM, Chrysler", The Huffington Post, March 30, 2009
  142. ^ "Chrysler and Union Agree to Deal Before Federal Deadline"
  143. ^ John Hughes, Caroline Salas, Jeff Green, and Bob Van Voris. "GM Begins Bankruptcy Process With Filing for Affiliate", Bloomberg.com, June 1, 2009
  144. ^ "Obama Presses Cabinet to Speed Stimulus Spending", Wall Street Journal, June 9, 2009
  145. ^ Dana Hedgpeth. "U.S. Says 'Cash for Clunkers' Program Will End on Monday", The Washington Post, 2009-08-21. สืบค้นวันที่ 2010-03-26
  146. ^ JOSEPH R. SZCZESNY. "Was Cash for Clunkers a Success?", Time, 2009-08-26. สืบค้นวันที่ 2010-03-26
  147. ^ 147.0 147.1 Sweet, Lynn, "Obama July 22, 2009 press conference. Transcript", Chicago Sun-Times, July 22, 2009
  148. ^ "Obama, Armed With Details, Says Health Plan Is Necessary", September 9, 2009
  149. ^ "Obama will hedge on public option" – Politico.com. Retrieved September 9, 2009.
  150. ^ "Obama calls for Congress to face health care challenge", CNN, September 9, 2009. สืบค้นวันที่ September 9, 2009
  151. ^ Hulse, Carl, Robert Pear. "Sweeping Health Care Plan Passes House", The New York Times, November 7, 2009. สืบค้นวันที่ November 8, 2009
  152. ^ Herszenhorn, David M., Jackie Calmes. "Abortion Was at Heart of Wrangling", The New York Times, December 7, 2009. สืบค้นวันที่ December 6, 2009
  153. ^ Hensley, Scott. "Senate Says Yes To Landmark Health Bill", National Public Radio, December 24, 2009. สืบค้นวันที่ December 24, 2009
  154. ^ "Health Care Reform, at Last", March 21, 2010. สืบค้นวันที่ March 22, 2010
  155. ^ Gay Stolberg, Sheryl. "Obama Signs Landmark Health Care Bill", March 23, 2010. สืบค้นวันที่ March 23, 2010
  156. ^ Mayer, William. "Kerry's Record Rings a Bell", Washington Post, 2004-03-28. สืบค้นวันที่ 2008-06-07
  157. ^ 2005 U.S. Senate Votes. American Conservative Union. สืบค้นวันที่ 2008-09-20; 2006 U.S. Senate Votes. American Conservative Union. สืบค้นวันที่ 2008-09-20; 2007 U.S. Senate Votes. American Conservative Union. สืบค้นวันที่ 2008-09-20
  158. ^ ADA's 2005 Congressional Voting Record (PDF). Americans for Democratic Action. สืบค้นวันที่ 2008-09-20; ADA's 2006 Congressional Voting Record (PDF). Americans for Democratic Action. สืบค้นวันที่ 2008-09-20; ADA's 2007 Congressional Voting Record (PDF). Americans for Democratic Action. สืบค้นวันที่ 2008-09-20
  159. ^ Strausberg, Chinta. "Opposition to war mounts" (paid archive), Chicago Defender, 2002-09-26, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-02-03
  160. ^ Glauber, Bill. "War protesters gentler, but passion still burns" (paid archive), Chicago Tribune, 2003-10-03, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-02-03 Strausberg, Chinta. "War with Iraq undermines U.N.", Chicago Defender, 2002-10-03, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-02-03 Bryant, Greg. "300 protesters rally to oppose war with Iraq", Medill News Service, 2002-10-02. สืบค้นวันที่ 2008-02-03 Katz, Marilyn (2007-10-02). Five Years Since Our First Action. Chicagoans Against War & Injustice. สืบค้นวันที่ 2008-02-17 Mendell (2007) , pp. 172–177.
  161. ^ Obama, Barack. "Remarks of Illinois State Sen. Barack Obama Against Going to War with Iraq", BarackObama.com, 2002-10-02. สืบค้นวันที่ 2008-02-03
  162. ^ Glauber, Bill. "War protesters gentler, but passion still burns" (paid archive), Chicago Tribune, 2003-10-03, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-02-03 Strausberg, Chinta. "War with Iraq undermines U.N.", Chicago Defender, 2002-10-03, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-10-28 Bryant, Greg. "300 protesters rally to oppose war with Iraq", Medill News Service, 2002-10-02. สืบค้นวันที่ 2008-02-03 Katz, Marilyn (2007-10-02). Five Years Since Our First Action. Chicagoans Against War & Injustice. สืบค้นวันที่ 2008-02-17 Bryant, Greg; Vaughn, Jane B.. "300 attend rally against Iraq war" (paid archive), Daily Herald (Arlington Heights), 2002-10-03, p. 8. สืบค้นวันที่ 2008-10-28 Mendell (2007), pp. 172–177.
  163. ^ Obama, Barack. "Remarks of Illinois State Sen. Barack Obama Against Going to War with Iraq", BarackObama.com, 2002-10-02. สืบค้นวันที่ 2008-02-03
  164. ^ McCormick, John. "Obama marks '02 war speech; Contender highlights his early opposition in effort to distinguish him from his rivals" (paid archive), Chicago Tribune, 2007-10-03, p. 7. สืบค้นวันที่ 2008-10-28 Pallasch, Abdon M.. "Obama touts anti-war cred; Kicks off tour 5 years after speech critical of going to Iraq" (paid archive), Chicago Sun-Times, 2007-10-03, p. 26. สืบค้นวันที่ 2008-10-28
  165. ^ Office of the Press Secretary (2003-03-16). President Bush: Monday "Moment of Truth" for World on Iraq. The White House. สืบค้นวันที่ 2008-02-17 Associated Press. "'Moment of truth for the world'; Bush, three allies set today as final day for Iraq to disarm or face massive military attack" (paid archive), Chicago Sun-Times, 2003-03-17, p. 1. สืบค้นวันที่ 2008-02-03
  166. ^ Ritter, Jim. "Anti-war rally here draws thousands" (paid archive), Chicago Sun-Times, 2003-03-17, p. 3. สืบค้นวันที่ 2008-02-03
  167. ^ US election: Barack Obama wobbles on withdrawing Iraq troops, telegraph.co.uk, July 4, 2008
  168. ^ Barack Obama. (2007-10-22). Obama-Caucus4Priorities (flv). Obama '08. Retrieved on 2008-05-18.
  169. ^ "Rally at Coastal Carolina University in Conway, SC" (video), Obama for America, Brightcove.TV, August 23, 2007. สืบค้นวันที่ 2008-02-17
  170. ^ For audio and text, see: Obama, Barack (2006-11-20). A Way Forward in Iraq. Chicago Council on Global Affairs. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  171. ^ Obama, Barack (2007-03-02). AIPAC Policy Forum Remarks. Barack Obama U.S. Senate Office. สืบค้นวันที่ 2008-01-30 For Obama's 2004 Senate campaign remarks on possible missile strikes against Iran, see: Mendell, David. "Obama Would Consider Missile Strikes on Iran" (paid archive), 'Chicago Tribune', 2004-09-25. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  172. ^ Barack Obama and Joe Biden's Plan to Secure America and Restore Our Standing. Obama for America. สืบค้นวันที่ 2008-09-22
  173. ^ Gordon, Michael R. and Zeleny, Jeff. "Obama Pledges 'Aggressive' Iran Diplomacy", The New York Times, 2007-11-02. สืบค้นวันที่ 2008-06-17
  174. ^ "Transcript of fourth Democratic debate", The New York Times, 2007-07-24. สืบค้นวันที่ 2008-06-17
  175. ^ "Obama Warns Pakistan on Al-Qaeda", BBC News, 2007-08-01. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 For video and text of the speech, see: "Policy Address on Terrorism by The Honorable Barack Obama, United States Senator from Illinois", Woodrow Wilson International Center for Scholars, 2007-08-01. สืบค้นวันที่ 2008-01-30 For details of the aborted 2005 military operation, see Mazzetti, Mark. "Rumsfeld Called Off 2005 Plan to Capture Top Qaeda Figures", International Herald Tribune, 2007-07-08. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  176. ^ Obama, Barack, Sam Brownback. "Policy Adrift on Darfur", The Washington Post, 2005-12-27. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 Doyle, Jim. "Tens of Thousands Rally for Darfur", San Francisco Chronicle, 2006-05-01. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  177. ^ Kuhnhenn, Jim (Associated Press). "Giuliani, Edwards Have Sudan Holdings", San Francisco Chronicle, 2007-05-17. สืบค้นวันที่ 2008-01-14; Obama, Barack. "Hit Iran Where It Hurts", New York Daily News, 2007-08-30. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  178. ^ Obama, Barack (July–August 2007). "Renewing American Leadership". Foreign Affairs 86 (4). เรียกข้อมูลวันที่ 2008-01-14 
  179. ^ Franklin, Ben A. "The Fifth Black Senator in U.S. History Makes F.D.R. His Icon", Washington Spectator, 2005-06-01. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  180. ^ Zeleny, Jeff. "Judicious Obama Turns Up Volume", Chicago Tribune, 2005-09-12. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  181. ^ Pickler, Nedra. "Obama Calls for Universal Health Care within Six Years", Associated Press via Union-Tribune (San Diego), 2007-01-25. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  182. ^ Davis, Teddy, Sunlen Miller. "Obama Bucks Party Line on Education", ABC News, 2007-11-20. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  183. ^ "A Speech On the Economy, Opportunity and Tax Policy with Senator Barack Obama", Tax Policy Center, 2007-09-18. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  184. ^ "Study:Bush tax cuts favor wealthy", CBS, 2004-08-13. สืบค้นวันที่ 2008-04-05
  185. ^ "Obama Tax Plan: $80 Billion in Cuts, Five-Minute Filings", CNN, 2007-09-18. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  186. ^ Zeleny, Jeff. "Obama Proposes Capping Greenhouse Gas Emissions and Making Polluters Pay", The New York Times, 2007-10-09. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  187. ^ Barack Obama. The Blueprint for Change: Barack Obama's plan for America (PDF). Obama for America. สืบค้นวันที่ 2008-04-20
  188. ^ Lerner, Michael. "U.S. Senator Barack Obama Critiques Democrats' Religiophobia", Tikkun Magazine, 2006-07-03. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 Sen. Barack Obama: Call to Renewal Keynote Address. Beliefnet (2006-06-28). สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  189. ^ Gibson, Manda. "At Global AIDS Summit, Churches Challenged to Take the Lead", PurposeDriven.com, 2006-06-28. สืบค้นวันที่ 2008-01-14(ลิงก์นี้เสีย กรุณาหาลิงก์อื่นทดแทน)
  190. ^ "Screaming Crowds Welcome U.S. Senator 'Home'", CNN, 2006-08-27. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  191. ^ Obama, Barack. "Race Against Time—World AIDS Day Speech", Obama U.S. Senate Office, 2006-12-01. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  192. ^ "Barack Obama: Faith Has Been 'Hijacked'", Associated Press via CBS News, 2007-06-24. สืบค้นวันที่ 2008-01-14 See also: Brody, David. "Obama to CBN News: We're No Longer Just a Christian Nation", Christian Broadcasting Network, 2007-07-30. สืบค้นวันที่ 2008-01-14
  193. ^ Obama (2006) , pp. 327–332. See also: Brown, Sarah. "Obama '85 Masters Balancing Act", Daily Princetonian, 7 ธันวาคม ค.ศ. 2005. สืบค้นวันที่ 2008-04-28 Tucker, Eric. "Family Ties: Brown Coach, Barack Obama", Associated Press, ABC News, 1 มีนาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  194. ^ Obama (2006), p. 329.
  195. ^ Fornek, Scott. "Michelle Obama: 'He Swept Me Off My Feet'", Chicago Sun-Times, 3 ตุลาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  196. ^ Martin, Jonathan (2008-07-04). Born on the 4th of July. The Politico. สืบค้นวันที่ 2008-07-10
  197. ^ Obama (1995) , p. 440, and Obama (2006) , pp. 339–340. See also: Election 2008 Information Center: Barack Obama. Gannett News Service. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  198. ^ Obamas choose private Sidwell Friends School, International Heralrd Tribune, November 22, 2008
  199. ^ "When Barry Became Barack", Newsweek, 2008-03-31. สืบค้นวันที่ 2008-11-06
  200. ^ Zeleny, Jeff. "The First Time Around: Sen. Obama's Freshman Year", Chicago Tribune, 2005-12-24. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  201. ^ "Rezko found guilty in corruption case", The Associated Press, MSNBC.com, 2008-06-04. สืบค้นวันที่ 2008-06-24
  202. ^ Slevin, Peter. "Obama Says He Regrets Land Deal With Fundraiser", The Washington Post, 2006-12-17. สืบค้นวันที่ 2008-06-10
  203. ^ "Obama's Money", CNNMoney.com, 2007-12-07. สืบค้นวันที่ 2008-04-28 See also: Goldfarb, Zachary A. "Measuring Wealth of the '08 Candidates", The Washington Post, 2007-03-24. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  204. ^ Zeleny, Jeff. "Book Sales Lifted Obamas' Income in 2007 to a Total of $4.2 Million", The New York Times, 2008-04-17. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  205. ^ "Senator Barack Obama Visit to CJTF-HOA and Camp Lemonier: August 31—September 1, 2006" (video), Combined Joint Task Force—Horn of Africa, YouTube, 2007-02-06. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  206. ^ Keeping Hope Alive: Barack Obama Puts Family First. The Oprah Winfrey Show (2006-10-18). สืบค้นวันที่ 2008-06-24
  207. ^ Fornek, Scott. "Half Siblings: 'A Complicated Family'", Chicago Sun-Times, 2007-09-09. สืบค้นวันที่ 2008-06-24 See also: Interactive Family Tree. Chicago Sun-Times (2007-09-09). สืบค้นวันที่ 2008-06-24
  208. ^ Fornek, Scott. "Madelyn Payne Dunham: 'A Trailblazer'", Chicago Sun-Times, 2007-09-09. สืบค้นวันที่ 2008-06-24
  209. ^ "Obama's grandmother dies after battle with cancer", CNN, 2008-11-03. สืบค้นวันที่ 2008-11-04
  210. ^ Obama (1995, 2004), p. 13. For reports on Obama's maternal genealogy, including slave owners, Irish connections, and common ancestors with George W. Bush, Dick Cheney, and Harry Truman, see: Nitkin, David, Harry Merritt. "A New Twist to an Intriguing Family History", Baltimore Sun, 2007-03-02. สืบค้นวันที่ 2008-06-24 Jordan, Mary. "Tiny Irish Village Is Latest Place to Claim Obama as Its Own", The Washington Post, 2007-05-13. สืบค้นวันที่ 2008-06-24 "Obama's Family Tree Has a Few Surprises", Associated Press, CBS 2 (Chicago), 2007-09-08. สืบค้นวันที่ 2008-06-24
  211. ^ Obama's great-uncle recalls liberating Nazi camp, USATODAY.com, July 24, 2008
  212. ^ The 89th Infantry Division, United States Holocaust Memorial Museum
  213. ^ Kantor, Jodi. "One Place Where Obama Goes Elbow to Elbow", The New York Times, 2007-06-01. สืบค้นวันที่ 2008-04-28 See also: "The Love of the Game" (video), HBO: Real Sports with Bryant Gumbel, YouTube (BarackObama.com), 2008-04-15. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  214. ^ Parsons, Christi. "Obama Launches an '07 Campaign—To Quit Smoking", Chicago Tribune, 2007-02-06. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  215. ^ "Obama says he won't be smoking in White House", Yahoo!News, 2008-12-07
  216. ^ Obama (2006), pp. 202–208. Portions excerpted in: Obama, Barack. "My Spiritual Journey", Time, 2006-10-23. สืบค้นวันที่ 2008-04-28
  217. ^ Obama, Barack (2006-06-28). 'Call to Renewal' Keynote Address. Barack Obama: U.S. Senator for Illinois (website). สืบค้นวันที่ 2008-06-16
  218. ^ Jodi Kantor. "Barack Obama's search for faith", International Herald Tribune, April 30, 2007 April 30, 2007
  219. ^ Barack Obama. "My Spiritual Journey", Time magazine, October 16, 2006
  220. ^ Obama's Indonesian Redux.
  221. ^ Obama: Saya Kangen Nasi Goreng, Bakso, dan Rambutan.
  222. ^ Wallace-Wells, Benjamin. "The Great Black Hope: What's Riding on Barack Obama?", Washington Monthly, November 2004. สืบค้นวันที่ 2008-04-07 See also: Scott, Janny. "A Member of a New Generation, Obama Walks a Fine Line", International Herald Tribune, 2007-12-28. สืบค้นวันที่ 2008-04-07
  223. ^ Payne, Les. "In One Country, a Dual Audience" (paid archive), Newsday, 2007-08-19. สืบค้นวันที่ 2008-04-07
  224. ^ Dorning, Mike. "Obama Reaches Across Decades to JFK" (paid archive), Chicago Tribune, 2007-10-04. สืบค้นวันที่ 2008-04-07 See also: Harnden, Toby. "Barack Obama is JFK Heir, Says Kennedy Aide", Daily Telegraph, 2007-10-15. สืบค้นวันที่ 2008-04-07
  225. ^ "Obama's Win Earns Emotional Reactions, Turns Page in History," PBS NewsHour. November 5, 2008.
  226. ^ Holmes, Stephanie (November 30, 2008). Obama: Oratory and originality. The Age. สืบค้นวันที่ 2008-12-11
  227. ^ Higgans, Charlotte (November 19, 2008). A classic orator, Obama learnt from the masters. BBC. สืบค้นวันที่ 2008-12-11
  228. ^ Strange, Hannah. "Celebrities join YouTube revolution", The Times (UK), 2008-03-05. สืบค้นวันที่ 2008-12-18
  229. ^ Wappler, Margaret. "Emmys give knuckle bump to will.i.am; more videos on the way", Los Angeles Times, 2008-06-20. สืบค้นวันที่ 2008-12-18
  230. ^ New emotion dubbed 'elevation. Toronto Star (December 11, 2008). สืบค้นวันที่ 2008-12-11 (English)
  231. ^ News from Studio Briefing
  232. ^ The Root; USA Today
  233. ^ World wants Obama as president: poll
  234. ^ "Obama to visit nuclear, biological weapons destruction facilities in former Soviet Union" - Senate.gov
  235. ^ Quel giorno di tre anni fa a Washington Barack mi raccontò la sua speranzaRome Mayor's Leadership Bid May Lead to Early Italian Elections; VELTRONI A NEW YORK - Il politico prevale sull' amministratore; Libreria Rizzoli Galleria
  236. ^ "Sarkozy, Obama and McCain" - The Economist
  237. ^ Goodman, Dean. "Obama or Clinton? Grammys go for Obama", Reuters, 2008-02-10. สืบค้นวันที่ 2008-11-24
  238. ^ Von Drehle, David (16 December 2008). Why History Can't Wait (Cover article). Person of the Year 2008. Time Magazine. สืบค้นวันที่ December 17, 2008

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น (ภาษาอังกฤษ)

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
บารัก โอบามา

[แก้] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

[แก้] ลิงก์เกี่ยวกับสภาคองเกรส

[แก้] ไซต์ไดเรคทอรี

[แก้] สื่อสารมวลชน

[แก้] หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Graff, Garrett. "The Legend of Barack Obama", Washingtonian, November 1, 2006. Retrieved on 2008-01-14.
  • Curry, Jessica. "Barack Obama: Under the Lights", Chicago Life, Fall 2004. Retrieved on 2008-01-14.
  • Lizza, Ryan. "Above the Fray", GQ, September 2007. Retrieved on 2008-01-14.
  • Koltun, Dave (2005) "The 2004 Illinois Senate Race: Obama Wins Open Seat and Becomes National Political “Star”" in "The Road to Congress 2004" Editors: Sunil Ahuja (Youngstown State University) and Robert Dewhirst (Truman State University|Northeast Missouri State University) , Nova Science Publishers, Haupauge, New York, Binding: Hardcover Pub. Date: 2005, ISBN: 1-59454-360-7
  • MacFarquhar, Larissa. "The Conciliator: Where is Barack Obama Coming From?", New Yorker, May 7, 2007. Retrieved on 2008-01-14.
  • Mundy, Liza. "A Series of Fortunate Events", The Washington Post Magazine, August 12, 2007. Retrieved on 2008-01-14.
  • Wallace-Wells, Ben. "Destiny's Child", Rolling Stone, February 7, 2007. Retrieved on 2008-01-14.
  • Zutter, Hank De. "What Makes Obama Run?", Chicago Reader, December 8, 1995. Retrieved on 2008-01-14.


สมัยก่อนหน้า บารัก โอบามา สมัยถัดไป
จอร์จ ดับเบิลยู. บุช 2leftarrow.png Seal Of The President Of The Unites States Of America.svg
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 44
(20 มกราคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน)
2rightarrow.png ยังดำรงตำแหน่ง
วลาดิมีร์ ปูติน 2leftarrow.png บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png ยังอยู่ในตำแหน่ง

ภาษาอื่น