มิคาอิล กอร์บาชอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มิคาอิล กอร์บาชอฟ
มิคาอิล กอร์บาชอฟ

เลขาธิการทั่วไปแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2528 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534
สมัยก่อนหน้า กอนสตันติน เชอร์เนนโก
สมัยถัดไป วลาดิเมียร์ อิวาชโก

ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
สมัยก่อนหน้า ตัวเขาเอง (ประธานสูงสุดแห่งโซเวียต)
สมัยถัดไป การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2474 (อายุ 79 ปี)
สหภาพโซเวียต
สังกัดพรรค พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (2494 - 2534)
พรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (2544 - 2547)

มิคาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (รัสเซีย: Михаи́л Серге́евич Горбачёв, อังกฤษ: Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) รัฐบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตรัสเซีย (พ.ศ. 2528-2534) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) (พ.ศ. 2531-2534) ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การยุติสงครามเย็น และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2533

เนื้อหา

[แก้] การศึกษาและการทำงาน

กอร์บาชอฟเกิดที่เมืองปรีวอลโนเย รัสเซีย ศึกษาวิชาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโกและที่สถาบันเกษตรกรรมสตัฟโรโปล และเริ่มทำงานพนักงานเดินเครื่องจักรกลเมื่อปี พ.ศ. 2489 และเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2495 กอร์บาชอฟได้ทำงานก้าวหน้าในตำแหน่งระดับสูงต่าง ๆ ในเมืองสตัฟโรโปลและในองค์กรพรรคประจำอำเภอมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499-2513

[แก้] ความก้าวหน้าทางการเมือง

กอร์บาชอฟได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยผู้บริหารสูงสุดของ "สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต" หรือ Union of Soviet Socialist Republics (USSR)ในปี พ.ศ. 2513 และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี พ.ศ. 2514 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี พ.ศ. 2523-2528 เป็นสมาชิกโปลิตบิวโรในปี พ.ศ. 2533 และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. 2528-2534) แทนเชเนนโกที่เสียชีวิต ได้เป็นประธาธิบดีแห่งประธานโซเวียตสูงสุด (President of the Presidium of the Supreme Soviet) ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนสุดท้ายของระบอบใหม่ก่อนการล่มสลายของสหภาพ

กอร์บาชอฟระหว่างการหารือกับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในช่วงเร่งนโยบาย "เปเรสตรอยกา"

[แก้] การปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมและการเมือง

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค กอร์บาชอฟได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างแบบหน้ามือเป็นหลังมือในระบบเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของโซเวียตที่รู้จักกันในชื่อ "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) มีการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ เพิ่มเสรีภาพแก่สื่อและสิ่งพิมพ์ ปล่อยไห้มีเสรีภาพทางวัฒนธรรม ยอมได้มีการประเมินและแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศภายใต้นโยบายเปิดเสรีด้านข่าวสารหรือ "กลาสนอสต์" (Glasnost)

[แก้] การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร ริเริ่มนโยบาย "หยุดยิง" (Detente) และลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตกพร้อมกับการถอนทหารออกจากการยึดครองประเทศอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2532) กอร์บาชอฟรอดจากการรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2535 มาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ในที่สุดก็ถูกบังคับให้ลาออกหลังจากการยุบพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัวของสหภาพเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2535

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นมา กอร์บาชอฟได้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธินานาชาติเพื่อการศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคมและการเมือง (มูลนิธิกอร์บาชอฟ)

สมัยก่อนหน้า มิคาอิล กอร์บาชอฟ สมัยถัดไป
คอราซอน อากีโน 2leftarrow.png บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1987)
2rightarrow.png โลก
โลก 2leftarrow.png บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
บุคคลแห่งทศวรรษ

(ค.ศ. 1989)
2rightarrow.png จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
Crystal Clear app Login Manager.png มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ