วิธีใช้:การอ้างอิงแหล่งที่มา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดียส่งเสริมให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภายในบทความ ด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาในบทความแต่ละเรื่อง เชื่อถือได้และสามารถพิสูจน์ยืนยันได้
  • เพื่อให้ภาพลักษณ์ของวิกิพีเดียน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • เพื่อแสดงว่าการแก้ไขของคุณไม่ใช่ข้อคิดเห็นของคุณคนเดียว คนบางกลุ่ม หรือเป็นงานวิจัยต้นฉบับ
  • เพื่อลดการโต้เถียงอันเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
  • เพื่อให้เกียรติผู้เขียนแหล่งอ้างอิงนั้น และหลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อเขียนของเขา
  • เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงได้

เนื้อหา

การอ้างอิง

เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความทรงจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่ออ้างถึงมัน แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่าน และผู้เขียนคนอื่น ๆ

การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หลีกเลี่ยงการใช้คำกล่าวเลื่อนลอย ถ้อยคำคลุมเครือ หรือถ้อยคำกำกวม (weasel word) เช่น "บางคนกล่าวว่า…" หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า…" แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย โปรดจำไว้ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว

เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะ เติมป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน เพื่อรอจนกว่าจะพบแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

เมื่อใดที่ควรอ้างอิง

  • เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหา
  • เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
  • ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
  • เนื้อหาที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
  • เมื่อคุณอ้างอิงคำพูด จากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
  • เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรือ อ้างถึงอันดับ หรือ ความเป็นที่สุด
  • เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง

แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย

แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ ไม่อ้างอิงบทความอื่นในวิกิพีเดียไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม

แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด

แหล่งอ้างอิง กับ แหล่งข้อมูลอื่น ต่างกันอย่างไร

แหล่งอ้างอิง (references หรือ sources) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น

สำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น

วิธีการอ้างอิง

อ้างอิงจุดเดียวในบทความ

หลังจากประโยค หรือย่อหน้าที่อ้างอิง ให้ใส่:

<ref>ที่มาของแหล่งอ้างอิง (เว็บไซต์/หนังสือ) </ref>

อ้างอิงหลายจุดในบทความ จากแหล่งเดียวกัน

หลังจากประโยค หรือย่อหน้าที่อ้างอิง ในครั้งแรก ให้ใส่: โดยให้ใส่ตัวแปร "name" และระบุชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนี้

<ref name="ชื่อ">ที่มาของแหล่งอ้างอิง (เว็บไซต์/หนังสือ) </ref>

การอ้างอิงครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อหนังสือ ให้ใส่เพียง:

<ref name="ชื่อ" />

ตัวอย่างการอ้างอิง

โค้ดตัวอย่างที่ใส่:

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือพิมพ์มติชน<ref>[http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0603011149&srcday=2006/11/01&search=no" นายเตี่ย" ต้นตระกูล อึ๊งภากรณ์"]. [[มติชนกรุ๊ป]]. เรียกข้อมูลวันที่ [[6 พฤศจิกายน|6 พย.]] [[พ.ศ. 2549|2549]].</ref>

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย<ref name="โฉมหน้าศักดินาไทย">จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้าศักดินาไทย, สำนักพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2500, หน้า 5</ref>

ประโยคที่สองนี้อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเช่นกัน<ref name="โฉมหน้าศักดินาไทย"/>

ประโยคที่สามนี้อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเช่นกัน<ref name="โฉมหน้าศักดินาไทย"/>

ผลลัพธ์ที่ได้:

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือพิมพ์มติชน[1]

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย[2]

ประโยคที่สองนี้อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเช่นกัน[2]

ประโยคที่สามนี้อ้างอิงมาจากหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเช่นกัน[2]

แสดงรายชื่อแหล่งที่อ้างอิง

ในส่วนท้ายของบทความ หัวข้อ อ้างอิง ให้ใส่

{{รายการอ้างอิง}}

โดยรายชื่อแหล่งอ้างอิงจะแสดงและเรียงลำดับให้โดยอัตโนมัติ

หากส่วนอ้างอิงกินเนื้อที่มากเกินไป แลดูไม่สวยงาม สามารถใช้

ในกรณีที่มีรายชื่ออ้างอิงจำนวนมาก และต้องการแบ่งการแสดงผลเป็นสอง หรือสามคอลัมน์ ให้ใส่

{{รายการอ้างอิง|2}}

หรือ

{{รายการอ้างอิง|3}}

สำหรับบางหัวข้อที่ไม่ได้อ้างอิงตรงตามตำแหน่งในบทความ แต่ใส่ไว้แยกต่างหาก สามารถใช้

{{เริ่มอ้างอิง}}
* แหล่งอ้างอิง
* แหล่งอ้างอิง
* แหล่งอ้างอิง
{{จบอ้างอิง}}

เพื่อจัดรูปแบบให้เข้ากับ {{รายการอ้างอิง}} ได้ (ดูตัวอย่างใน โดราเอมอน#อ้างอิง)

ตัวอย่างผลลัพธ์รายชื่อแหล่งอ้างอิงที่แสดง

  1. ^ " นายเตี่ย" ต้นตระกูล อึ๊งภากรณ์". มติชนกรุ๊ป. เรียกข้อมูลวันที่ 6 พย. 2549.
  2. ^ 2.0 2.1 2.2 จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้าศักดินาไทย, สำนักพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2500, หน้า 5

อ้างอิง

มี 3 วิธีระบุแหล่งอ้างอิง

  • ลิงก์
  • ชื่อหนังสือ-ปี
  • เชิงอรรถ (วิธีแนะนำ)
วิธี ต้องการที่จะอ้างอิง คำสั่งที่พิมพ์ ผลที่เกิด หมายเหตุ
ลิงก์ เว็บไซต์ http://www.matichon.co.th/art/ [www.matichon.co.th/art/] [1]
ชื่อหนังสือ-ปี หนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หน้า 5 (โฉมหน้าศักดินาไทย, 2500: 5) (โฉมหน้าศักดินาไทย, 2500: 5) ท้ายบทความ ในส่วน "แหล่งอ้างอิง" ควรระบุข้อมูลอ้างอิงเต็มดังนี้
* จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้าศักดินาไทย, สำนักพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2500
เชิงอรรถ หนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หน้า 5 <ref>จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้าศักดินาไทย, สำนักพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2500, หน้า 5</ref> [1] ท้ายบทความ ในส่วน "แหล่งอ้างอิง" ควรพิมพ์คำสั่ง <references /> เพื่อระบุข้อมูลอ้างอิงเต็ม แบบอัตโนมัติ

วิธีระบุว่าบทความขาดอ้างอิง

คำสั่งที่พิมพ์ โอกาสที่ใช้ ผลลัพธ์
  • {{ต้องการอ้างอิง}}
  • {{ขาดอ้างอิง}}
  • {{unreferenced}}
ใส่ไว้บนสุดของบทความ หรือใส่ภายในหัวข้อที่ต้องการอ้างอิงโดยเฉพาะ
  • {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
  • {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
  • {{อ้างอิง}}
  • {{citation needed}}
  • {{fact}}
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง ในจุดที่เป็นข้อกังขา [ต้องการอ้างอิง]
  • {{ใครกล่าว}}
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง และเป็นถ้อยคำคลุมเครือ [ใครกล่าว?]

อ้างอิง

  1. ^ จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้าศักดินาไทย, สำนักพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2500, หน้า 5

ดูเพิ่ม