ดวงจันทร์ของดาวเสาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม)
วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดวงจันทร์ไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดวงจันทร์เอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่

ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 60 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่มีชื่อเสียงอย่างดวงจันทร์ไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดวงจันทร์เอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น

ดวงจันทร์ 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดวงจันทร์โทรจัน (หมายถึงกลุ่มดวงจันทร์เล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดวงจันทร์ร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)

ส่วนดวงจันทร์ที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่

วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดวงจันทร์แล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดวงจันทร์เล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น

ดวงจันทร์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดวงจันทร์ 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดวงจันทร์ดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดวงจันทร์ดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร

[แก้] ตารางรายชื่อดวงจันทร์

ลำดับ ชื่อ (ตัวหนาคือดวงจันทร์ที่มีลักษณะทรงกลม) ภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง
(ก.ม.)
กึ่งแกนเอก
(ก.ม.)
คาบดาราคติ
(วัน)
ความเอียงของวงโคจร
(°)
ตำแหน่ง ปีที่ค้นพบ
0 (ดวงจันทร์เล็ก ๆ) moonlets
First moonlets PIA07792 (closeup).jpg
0.04 ถึง 0.5 ~130 000 ภายในวงแหวนเอ 2006[1][2][3]
1 XVIII แพน Pan
Pan side view.jpg
30 (35 × 35 × 23) [4] 133 584 [5] +0.575 05 [5] 0.001° ในช่องแบ่งเองเคอ 1990
2 XXXV แดฟนิส Daphnis
PIA06237.jpg
6 − 8 136 505 [5] +0.594 08 [5] ≈ 0° ในช่องว่างคีลเลอร์ 2005
3 XV แอตลัส Atlas
Cassini Atlas N00084634 CL.png
31 (46 × 38 × 19) [4] 137 670 [5] +0.601 69 [5] 0.003° ควบคุมวงแหวนเอด้านนอก 1980
4 XVI โพรมีเทียส Prometheus
Prometheus moon.jpg
86 (119 × 87 × 61) [4] 139 380 [5] +0.612 99 [5] 0.008° ควบคุมวงแหวนเอฟด้านใน 1980
5 XVII แพนดอรา Pandora
Pandora PIA07632.jpg
81 (103 × 80 × 64) [4] 141 720 [5] +0.628 50 [5] 0.050° ควบคุมวงแหวนเอฟด้านนอก 1980
6 XI เอพิมีเทียส Epimetheus PIA09813 Epimetheus S. polar region.jpg 113 (135 × 108 × 105) [4] 151 422 [5] +0.694 33 [5] 0.335° มีวงโคจรร่วมกัน 1980
7 X เจนัส Janus
Janus moon.jpg
179 (193 × 173 × 137) [4] 151 472 [5] +0.694 66 [5] 0.165° 1966
8 I ไมมัส Mimas
Mimas moon.jpg
397 (415 × 394 × 381) [6] 185 404 [7] +0.942 422 [8] 1.566°   1789
9 XXXII มีโทนี Methone
Methone (frame 15).jpg
3 194 440 [5] +1.009 57 [5] 0.007° (แอลไคโอนีเดส) 2004
10 XLIX แอนที Anthe
S2007 S 4 PIA08369.gif
~2 197 700 +1.036 50 0.1° 2007
11 XXXIII พาลลีนี Pallene
S2004s2 040601.jpg
4 212 280 [5] +1.153 75 [5] 0.181° 2004
12 II เอนเซลาดัส Enceladus 504 (513 × 503 × 497) [6] 237 950 [7] +1.370 218 [8] 0.010° ควบคุมวงแหวนอี 1789
13 III ทีทิส Tethys
Tethys PIA07738.jpg
1066 (1081 × 1062 × 1055) [6] 294 619 [7] +1.887 802 [8] 0.168°   1684
13a XIII เทเลสโต Telesto
Telesto cassini closeup.jpg
24 (29 × 22 × 20) [4] 1.158° โทรจันที่โคจรนำหน้าทีทิส 1980
13b XIV คาลิปโซ Calypso
Calypso image PIA07633.jpg
21 (30 × 23 × 14) [4] 1.473° โทรจันที่โคจรตามหลังทีทิส 1980
16 IV ไดโอนี Dione
Dione color.jpg
1123 (1128 × 1122 × 1121) [6] 377 396 [7] +2.736 915 [8] 0.002°   1684
16a XII เฮเลนี Helene
Cassini Helene N00086698 CL.jpg.jpg
33 (36 × 32 × 30) 0.212° โทรจันที่โคจรนำหน้าไดโอนี 1980
16b XXXIV พอลีดีวซีส Polydeuces
Polydeuces.jpg
3.5 [9] 0.177° โทรจันที่โคจรตามหลังไดโอนี 2004
19 V เรีย Rhea
Rhea (moon) thumb.jpg
1529 (1535 × 1525 × 1526) [6] 527 108 [10] +4.518 212 [10] 0.327°   1672
20 VI ไททัน Titan
Titan in natural color Cassini.jpg
5151 1 221 930 [7] +15.945 42 0.3485°   1655
21 VII ไฮพีเรียน Hyperion
Hyperion true.jpg
292 (360 × 280 × 225) 1 481 010 [7] +21.276 61 0.568°   1848
22 VIII ไอแอพิตัส Iapetus 1472 (1494 × 1498 × 1425) [6] 3 560 820 +79.321 5 [11] 7.570°   1671
23 XXIV คีเวียก Kiviuq ~16 11 294 800 [10] +448.16 [10] 49.087° กลุ่มอินูอิต 2000
24 XXII อีเยราก Ijiraq ~12 11 355 316 [10] +451.77 [10] 50.212° 2000
25 IX ฟีบี Phoebe
Phoebe cassini.jpg
220 (230 × 220 × 210) 12 869 700 −545.09[11][12] 173.047° กลุ่มนอร์ส 1899
26 XX พอเลียก Paaliaq ~22 15 103 400 [10] +692.98 [10] 46.151° กลุ่มอินูอิต 2000
27 XXVII สกาที Skathi ~8 15 672 500 [10] −732.52 [8][12] 149.084° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2000
28 XXVI แอลบีออริกซ์ Albiorix ~32 16 266 700 [10] +774.58 [10] 38.042° กลุ่มแกลิก 2000
29   S/2007 S 2 ~6 16 560 000 −792.96 176.68° กลุ่มนอร์ส 2007
30 XXXVII เบวีนน์ Bebhionn ~6 17 153 520 [10] +838.77 [10] 40.484° กลุ่มแกลิก 2004
31 XXVIII แอร์รีแอปัส Erriapus ~10 17 236 900 [10] +844.89 [10] 38.109° 2000
32 XLVII สกอลล์ Skoll ~6 17 473 800 [7] −862.37 [10] 155.624° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
33 XXIX ซีอาร์นาก Siarnaq ~40 17 776 600 [10] +884.88 [10] 45.798° กลุ่มอินูอิต 2000
34 LII ทาร์เคก Tarqeq ~7 17 910 600 [13] +894.86 [10] 49.904° 2007
35   S/2004 S 13 ~6 18 056 300 [10] −905.85 [8][12] 167.379° กลุ่มนอร์ส 2004
36 LI เกรป Greip ~6 18 065 700 [7] −906.56 [10] 172.666° 2006
37 XLIV ฮีร็อกคิน Hyrrokkin ~8 18 168 300 [7] −914.29 [10] 153.272° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
38 L ยาร์นแซกซา Jarnsaxa ~6 18 556 900 [7] −943.78 [10] 162.861° กลุ่มนอร์ส 2006
39 XXI ทาร์วัส Tarvos ~15 18 562 800 [10] +944.23 [10] 34.679° กลุ่มแกลิก 2000
40 XXV มูนดิลแฟรี Mundilfari ~7 18 725 800 [10] −956.70 [8][12] 169.378° กลุ่มนอร์ส 2000
41   S/2006 S 1 ~6 18 930 200 [7] −972.41 [10] 154.232° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
42   S/2004 S 17 ~4 19 099 200 [10] −985.45 [8][12] 166.881° กลุ่มนอร์ส 2004
43 XXXVIII แบร์เยลมีร์ Bergelmir ~6 19 104 000 [10] −985.83 [8][12] 157.384° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
44 XXXI นาร์วี Narvi ~7 19 395 200 [10] −1008.45 [8][12] 137.292° กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2003
45 XXIII ซูตทุงการ์ Suttungr ~7 19 579 000 [10] −1022.82 [8][12] 174.321° กลุ่มนอร์ส 2000
46 XLIII ฮาตี Hati ~6 19 709 300 [10] −1033.05 [8][12] 163.131° 2004
47   S/2004 S 12 ~5 19 905 900 [10] −1048.54 [8][12] 164.042° 2004
48 XL ฟาร์เบาตี Farbauti ~5 19 984 800 [10] −1054.78 [8][12] 158.361° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
49 XXX ทริมาร์ Thrymr ~7 20 278 100 [10] −1078.09 [8][12] 174.524° กลุ่มนอร์ส 2000
50 XXXVI ไอเออร์ Aegir ~6 20 482 900 [10] −1094.46 [8][12] 167.425° 2004
51   S/2007 S 3 ~5 20 518 500 ~ −1100 177.22° 2007
52 XXXIX เบสต์ลา Bestla ~7 20 570 000 [10] −1101.45 [8][12] 147.395° กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2004
53   S/2004 S 7 ~6 20 576 700 [10] −1101.99 [8][12] 165.596° กลุ่มนอร์ส 2004
54   S/2006 S 3 ~6 21 076 300 [7] −1142.37 [10] 150.817° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
55 XLI เฟนรีร์ Fenrir ~4 21 930 644 [10] −1212.53 [8][12] 162.832° กลุ่มนอร์ส 2004
56 XLVIII ซัวร์เตอร์ Surtur ~6 22 288 916 [7] −1242.36 [10] 166.918° 2006
57 XLV คารี Kari ~7 22 321 200 [7] −1245.06 [10] 148.384° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
58 XIX อีมีร์ Ymir ~18 22 429 673 [10] −1254.15 [8][12] 172.143° กลุ่มนอร์ส 2000
59 XLVI ลอยเอ Loge ~6 22 984 322 [7] −1300.95 [10] 166.539° 2006
60 XLII ฟอร์นยอต Fornjot ~6 24 504 879 [10] −1432.16 [8][12] 167.886° 2004

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Matthew S. Tiscareno et al. (2006). "100-metre-diameter moonlets in Saturn's A ring from observations of 'propeller' structures". Nature 440: 648–650. doi:10.1038/nature04581 
  2. ^ Miodrag Sremčević et al. (2007). "A belt of moonlets in Saturn's A ring". Nature 449: 1019–1021. doi:10.1038/nature06224 
  3. ^ Matthew S. Tiscareno et al. (2008). "The population of propellers in Saturn's A Ring". Astronomical Journal 135: 1083–1091. doi:10.1088/0004-6256/135/3/1083 
  4. ^ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 C.C. Porco et al. (2006). "Physical characteristics and possible accretionary origins for Saturn's small satellites". Bulletin of the American Astronomical Society 37: 768 
  5. ^ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 J.N. Spitale et al (2006). "The orbits of Saturn's small satellites derived from combined historic and Cassini imaging observations". The Astronomical Journal 132: 692 
  6. ^ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Source: Thomas et al. 2006
  7. ^ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 Computed from the period using the IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service µ value
  8. ^ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 Source: NASA
  9. ^ Source: Porco et al. 2005
  10. ^ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 10.15 10.16 10.17 10.18 10.19 10.20 10.21 10.22 10.23 10.24 10.25 10.26 10.27 10.28 10.29 10.30 10.31 10.32 10.33 10.34 10.35 10.36 10.37 10.38 10.39 10.40 10.41 10.42 10.43 10.44 Source: IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service
  11. ^ 11.0 11.1 Computed from the semi-major axis using the IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service µ value
  12. ^ 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 12.17 คาบการโคจรที่เป็นลบ แสดงว่าดาวนั้นโคจรทวนกับดาวดวงอื่นที่มีคาบเป็นบวก
  13. ^ MPEC 2007-G38