สงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Cquote1.svg

สงครามคือกิจกรรมของมนุษย์

Cquote2.svg
นิคโคโล มาเคียเวลลี
บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์
ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นะงะซะกิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

สงคราม คือ ความขัดแย้งเป็นวงกว้าง และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรง สงครามนั้นเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งและไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีสันติ สุดท้ายจึงลงเอยด้วยการทำสงครามหรือการใช้กำลัง เพื่อลิดรอนหรือกำจัดบทบาททางการเมืองของรัฐอื่น สงครามนั้นเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ สงครามนั้นมีตั้งแต่ระดับ รัฐ ชาติและจักรวรรดิ

ทหารผู้ทำการรบและกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิบัติการทางบกนั้นถูกเรียกว่า กองทัพบก การปฏิบัติการทางทะเลเรียกว่า กองทัพเรือ และการปฏิบัติการทางอากาศเรียกว่า กองทัพอากาศ สงครามนั้นอาจจะดำเนินไปในหลายยุทธบริเวณในเวลาเดียวกันก็ได้ ซึ่งในขอบเขตดังกล่าวนั้นก็อาจประกอบด้วยหลาย ๆ การทัพ ติดต่อกัน การรณรงค์ทางการทหารนั้นมิใช่เพียงแต่การรบ แต่ว่าเป็นการต่อสู้ทั้งทางด้านข่าวกรอง การเคลื่อนทัพ การสะสมเสบียง การโฆษณาชวนเชื่อ และอีกหลายปัจจัยเข้ามาร่วมด้วย ความขัดแย้งที่เกิดต่อเนื่องกันนั้นเดิมมักจะเรียกว่า การรบ แต่ว่าการใช้คำดังกล่าวก็ไม่ได้รวมไปถึงการใช้เครื่องบิน จรวด ขีปนาวุธและการทิ้งระเบิดเพียงอย่างเดียว โดยปราศจากกองทัพบกและกองทัพเรือเสมอไป

มนุษย์นั้นเคยคิดว่าตนเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวซึ่งก่อสงคราม ทว่าภายหลังการสังเกตการชีวิตของสัตว์โลกหลายชนิดก็ทำให้เราทราบว่าสงครามนั้นยังเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วย เช่น การต่อสู้ระหว่างอาณานิคมของมด และการต่อสู้ระหว่างเผ่าของลิงชิมแปนซี รวมไปถึงสัตว์อีกหลายชนิดที่ไม่ได้มีการบันทึไว้[1][2][3]

องค์การสหประชาชาติได้เรียกสงครามว่าเป็น "ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มติดอาวุธ" "การรุกรานรัฐ" และ "อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ"

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์การทำสงคราม

ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์การทหาร
รูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่สอง ขณะรบในสงครามคาเดช

ก่อนหน้าที่จะมีความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ สงครามประกอบไปด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น พบว่าชาวนูเบียประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตเพราะความรุนแรง จนกระทั่งเมื่อถึงยุคการปกครองแบบรัฐเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว กิจการทหารได้แพร่ขยายไปทั่วโลก การคิดค้นดินปืนและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำไปสู่การรบสมัยใหม่ในที่สุด

ในหนังสือเรื่อง Why Nations Go to War โดย จอห์น จี. สโทสซิงเกอร์ ได้กล่าวว่า ฝ่ายคู่สงครามทั้งสองฝ่ายจะกล่าวอ้างว่าตนเป็นฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อคุณธรรม เขายังกล่าวอีกว่าสาเหตุเพื่อจะจุดชนวนสงครามขึ้นอยู่กับการประเมินในแง่ดีที่คาดว่าจะเป็นผลที่ได้รับจากความเป็นปรปักษ์นั้น (อันได้แก่มูลค่าและความสูญเสีย)

[แก้] ปัจจัยที่นำไปสู่สงคราม

สงครามนั้นเกิดขึ้นหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แต่ว่าสงครามโดยทั่วไปนั้นไม่จำเป็นต้องกระทำก็ได้ ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยการทำสงครามนั้นมิได้อธิบายถึงการทำสงครามแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น แต่ว่ายังกล่าวถึงภาวะสันติภาพด้วย มันจะต้องอธิบายไม่เพียงเฉพาะว่าสงครามนั้นเกิดขึ้นในหลายชั่วอายุคนและเกิดขึ้นในเกือบทุกพื้นที่บนโลก และนอกจากนั้น ยังต้องกล่าวถึงตัวอย่างของสันติภาพที่เกืดขึ้นภายหลังสงครามด้วย เช่น สันติภาพโรมัน และสันติภาพของทวีปยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เจตนาที่ก่อให้เกิดสงครามนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสงครามมากกว่างานของสงคราม สำหรับรัฐที่ต้องการทำสงครามนั้นต้องมีการสนับสนุนผู้นำ กำลังทหารและประชากรของรัฐ ยกตัวอย่างเช่น ในสงครามพิวนิคครั้งที่สาม[4] ผู้นำของโรมันนั้นต้องการทำสงครามกับคาเธจ ด้วยจุดประสงค์ที่จะไม่ให้คาเธจฟื้นตัวจากความเสียหายเดิม ขณะที่ทหารโรมันแต่ละนายนั้นอาจมีความต้องการที่จะยุติการฝึกโดยการเสียสละเด็ก หลังจากที่คนจำนวนมากได้เข้ามาพัวพันกับสงคราม สงครามนั้นก็จะมีชีวิตเป็นของมันเอง จากหลากหลายสาเหตุที่มารวมกัน

[แก้] เป้าหมายและผลประโยชน์ของสงคราม

สงครามไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายและผลประโยชน์ที่ได้รับจากสงครามสามารถเรียงเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

  1. เพื่อปกป้องเกียรติภูมิของชาติจากการรุกรานของต่างชาติ
  2. เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ด้วยการยึดครองทรัพยากรธรรมชาติ หรือการประกาศอิสรภาพ
  3. เพื่อลงโทษแนวคิดที่เห็นว่าผิดหรือเห็นว่าไม่เหมาะสม

แต่สงครามทุกครั้งก็ไม่อาจบรรยายได้ตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สงครามเย็น ซึ่งทำให้ประชาชนหลายล้านคนเสียชีวิต

[แก้] ทฤษฎีจิตวิทยา

นักจิตวิทยานั้นได้โต้เถียงว่ามวลมนุษยชาตินั้นชื่นชอบความรุนแรงโดยสันดาน ขณะที่ตัวเองจะระงับความรุนแรงลงในสังคมปกติ ซึ่งบางครั้งก็จำเป็นต้องระบายออกด้วยการทำสงคราม ซึ่งประกอบกับความรู้สึกอื่น อย่างเช่น ความไม่พอใจ ซึ่งมนุษย์ได้มี อคติ และ ความเกลียดชัง กับ มนุษยชาติกลุ่มอื่น รัฐ ลัทธิ และ แนวคิดอื่นๆ ซึ่งแตกต่างไปจากตน ขณะที่ทฤษฎีเหล่านี้อาจมีการอธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดสงคราม แต่ว่ามันก็มิได้ระบุว่าสงครามเกิดขึ้นเมื่อไหร่และอย่างไร และมิได้อธิบายถึงความมีอยู่ของวัฒนธรรมมนุษยชาติหากปราศจาสงคราม ถ้าหากว่าเนื้อหาของทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นก็จะขัดกับทฤษฎีที่กล่าวไว้ก่อนแล้ว นักวิชาการทหารผู้ยิ่งใหญ่จึงมีแนวคิดว่า "สันติภาพนั้นแท้จริงแล้วไม่มีอยู่จริง" ช่วงเวลาซึ่งคนทั่วไปส่วนใหญ่มองว่าเป็นช่วงเวลาแห่งสันติภาพนั้นที่จริงก็คือการเตรียมตัวทำสงครามในภายหลังหรือการเข้าระงับสงครามของชาติมหาอำนาจ เช่น สันติภาพอังกฤษ

ถ้าหากสงครามนั้นเป็นสันดานของมนุษย์โดยธรรมชาติ ดังที่ทฤษฎีจิตวิทยาจำนวนมากได้กล่าวไว้ เช่นนั้นแล้วเราก็มีความหวังเพียงน้อยนิดที่จะพยายามหลีกหนีสงคราม นักจิตวิทยาได้โต้เถียงว่าขณะที่อารมณ์ของมนุษย์ได้ทำให้เกิดสงคราม แต่มันก็เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อประชาชนในชาติไม่สามารถควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจได้อย่างสมดุล แนวคิดนี้ได้อ้างเหตุผลว่าผู้นำประเทศซึ่งแสวงหาสงคราม อย่างเช่น จักรพรรดินโปเลียนที่ 1, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และโจเซฟ สตาลินนั้นมีจิตใจที่ผิดปกติวิปลาส แต่ล้มเหลวที่จะพยายามหาเหตุผลมาอธิบายเหตุผลที่คนจิตปกติและเป็นอิสระหลายพันคนที่ทำสงครามตามคำสั่งหรือพระบรมราชโองการ

สาขาที่แตกต่างกันของทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องการทำสงคราม นั้นคือเหตุผลที่ตั้งอยู่บน จิตวิทยาวิวัฒน์ แนวคิดนี้มีความเห็นว่าสงครามนั้นคือนิสัยของสัตว์ที่เพิ่มขึ้นมา อย่างเช่น การยึดครองดินแดนและ การแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ขณะที่สงครามนั้นมีสาเหตุโดยธรรมชาติ การพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ได้เร่งนิสัยการชอบทำลายของมนุษย์ขึ้นไปจนถึงขั้นปราศจากเหตุผลและสร้างความเสียหายต่อสายพันธุ์มนุษย์ มนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณคล้ายกับลิงชิมแปนซี แต่ว่ามีความรุนแรงกว่ามาก ผู้สนับสนุนคนแรกของทฤษฎีนี้คือ คอนราด ลอเรนซ์ ทฤษฎีเหล่านี้ได้รับคำวิจารณ์จากผู้รู้อย่างเช่น จอห์น จี. เคนเนดี้ ซึ่งได้กล่าวว่าสงครามซึ่งมีแบบแผนและไม่มีวันสิ้นสุดของมนุษย์นั้นเป็นมากกว่าเพียงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนเหมือนกับสัตว์ทั่วไป

[แก้] ทฤษฎีสังคมวิทยา

ภาควิชาสังคมวิทยานั้นได้เป็นห่วงเกี่ยวกับจุดกำเนิดของสงครามมานานแล้ว และทฤษฎีจำนวนมากเป็นหลายพันได้ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งทฤษฎีจำนวนมากเหล่านั้นก็มักจะขัดแย้งกันเอง วิชาสังคมวิทยานั้นได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแนวคิดและการอบรม หนึ่ง Primat der Innenpolitik (ความเป็นเอกด้านการปกครองบ้าน) ซึ่งการอบรมนั้นตั้งอยู่บนผลงานของ Eckart Kehr และ Hans-Ulrich Wehler ได้มองสงครามว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขการปกครองภายใน แต่ว่ามีเป้าหมายที่ก้าวร้าวรุนแรงและเป็นความตั้งใจแน่วแน่ของความจริงจังจากนานาชาติ ดังนี้ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จึงมิใช่ผลของความขัดแย้งของนานาชาติ สนธิสัญญาลับหรือสมดุลแห่งอำนาจ แต่ว่าเป็นผลจากเศรษฐกิจ สังคมและสถานการณ์ทางการเมืองภายในรัฐที่มีส่วนพัวพันในสงคราม

แนวคิดแรกนั้นตรงกันข้ามกับแนวคิดที่สองซึ่งเป็นแนวคิดดั้งเดิม Primat der Außenpolitik (ความเป็นเอกด้านการเมืองระหว่างประเทศ) เริ่มจาก Carl von Clausewitz และ Leopold von Ranke ซึ่งได้แย้งว่าการตัดสินใจของรัฐบาลและสถานการณ์ของการเมืองอิงภูมิศาสตร์ต่างหากที่ได้นำไปสู่สงคราม

[แก้] ทฤษฎีประชากรศึกษา

จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับสงครามของแกรี่ มัลเชอร์ ปี 1896


[แก้] ทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒน์

สงครามนั้นนั้นถูกมองว่าเป็นผลจากลักษณะของทฤษฎีจิตวิทยาวิวิฒน์ซึ่งเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการถูกโจมตีหรือความเข้าใจของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับอนาคตภายภาคหน้า ทฤษฎีดังกล่าวนั้นได้ให้เหตุผลสำหรับไออาร์เอ

[แก้] ทฤษฎีเหตุผล

[แก้] ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

ส่วนสถาบันการศึกษาอีกแห่งหนึ่งได้กล่าวแย้งว่า จุดเริ่มต้นของสงครามนั้นเกิดจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจในการแข่งขันระหว่างประเทศ ถ้าหากมองในแง่ดังกล่าวแล้ว สงครามจะเกิดขึ้นจากการแสวงหาตลาดแห่งใหม่ เพื่อทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง แม้ว่าทฤษฎีดังกล่าวสามารถอธิบายกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้หลายครั้ง แต่ว่าทฤษฎีดังกล่าวเริ่มมีความเชื่อถือน้อยลง เนื่องจากคุณธรรมเงินทุนและระดับการเฉลี่ยเงินทุนทั่วโลก ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าความแตกต่างระหว่างเงินทุนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแนวคิดการเมืองขวาจัด อย่างเช่น ลัทธิฟาสซิสต์ โดยการรักษาสิทธิ์ในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติให้แก่รัฐที่เข้มแข็งกว่า เนื่องจากรัฐที่อ่อนแอไม่สามารถดูแลรักษาแหล่งทรัพยากรดังกล่าวได้ นอกจากนี้ การเมืองสายกลาง นายทุน ผู้นำโลก รวมไปถึงประธานาธิบดีและผู้นำทางการทหารของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวสนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวด้วยเช่นกัน

[แก้] ทฤษฎีลัทธิมาร์กซิสม์

ทฤษฎีมาร์กซิสต์ ได้กล่าวว่า สงครามทุกครั้งเกิดขึ้นจากการแบ่งแยกทางชนชั้น ซึ่งเห็นว่ามันเป็นความพยายามที่จะขยายอำนาจตามลัทธิจักรวรรดินิยม ของชนชั้นปกครอง และแยกเอาชนชั้นใต้ปกครองให้ฆ่าฟันกันเองจากแนวคิดชาตินิยมหรือศาสนาจอมปลอมที่ประดิษฐ์ขึ้น และสงครามจะเกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ จากการค้าตลาดเสรีและระบบชนชั้น จนกว่าการปฏิวัติโลกของลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบผลสำเร็จ

[แก้] ทฤษฎีการเมือง

[แก้] สงครามเรียงตามประเภทและกลยุทธ์สงคราม

[แก้] คุณธรรมยามสงคราม

[แก้] ปัจจัยที่นำไปสู่การยุติสงคราม

[แก้] รายชื่อของสงครามเรียงตามผู้เสียชีวิต

[แก้] รายชื่อสงครามที่สำคัญในประวัติศาสตร์

[แก้] บรรณานุกรม

  • Angelo Codevilla and Paul Seabury, War: Ends and Means (Potomac Books, Revised second edition by Angelo Codevilla, 2006) ISBN-X
  • Angelo M. Codevilla, No Victory, No Peace (Rowman and Littlefield, 2005) ISBN
  • Barzilai Gad, Wars, Internal Conflicts and Political Order: A Jewish Democracy in the Middle East (Albany: State University of New York Press, 1996)
  • Fry, Douglas P., 2005, The Human Potential for Peace: An Anthropological Challenge to Assumptions about War and Violence, Oxford University Press
  • Gat, Azar 2006 War in Human Civilization, Oxford University Press
  • Gunnar Heinsohn, Söhne und Weltmacht: Terror im Aufstieg und Fall der Nationen ("Sons and Imperial Power: Terror and the Rise and Fall of Nations"), Orell Füssli (September 2003), ISBN, สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ (ภาษาเยอรมัน)
  • Fabio Maniscalco, (2007). World Heritage and War - monographic series "Mediterraneum", vol. VI. Massa, Naples. ISBN. 
  • Kelly, Raymond C., 2000, Warless Societies and the Origin of War, University of Michigan Press
  • Small, Melvin & Singer, David J. (1982). Resort to Arms: International and Civil Wars,. Sage Publications. ISBN. 
  • Otterbein, Keith, 2004, How War Began. Texas A&M University Press
  • Turchin, P. 2005. War and Peace and War: Life Cycles of Imperial Nations. New York, NY: Pi Press. ISBN
  • Van Creveld, Martin The Art of War: War and Military Thought London: Cassell, Wellington House
  • Fornari, Franco (1974). The Psychoanalysis of War. Tr. Alenka Pfeifer. Garden City, New York: Doubleday Anchor Press. ISBN: . Reprinted (1975) Bloomington: Indiana University Press. ISBN
  • Keeley, Lawrence. War Before Civilization, Oxford University Press, 1996
  • Zimmerman, L. The Crow Creek Site Massacre: A Preliminary Report, US Army Corps of Engineers, Omaha District, 1981
  • Chagnon, N. The Yanomamo, Holt, Rinehart & Winston,1983
  • Pauketat, Timothy. North American Archaeology 2005. Blackwell Publishing
  • Wade, Nicholas. Before the Dawn, Penguin: New York 2006
  • Rafael Karsten, Blood revenge, war, and victory feasts among the Jibaro Indians of eastern Ecuador (1923)
  • S. A. LeBlanc, Prehistoric Warfare in the American Southwest, University of Utah Press (1999)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ [1]
  2. ^ [2]
  3. ^ [3]
  4. ^ Turnbull, Colin (1987), "The Forest People" (Touchstonbe Books)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
สงคราม


Scale of justice.svg สงคราม เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงคราม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ