การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก รายชื่อพายุหมุนเขตร้อน)

ดูบทความหลักที่: พายุหมุนเขตร้อน

เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียคนหนึ่งชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน

เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ

จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2493 ได้มีการตกลงกันว่าให้ตั้งชื่อพายุไล่ตามตัวอักษร A-Z (เช่น Able, Baker, Charlie…) แต่อีก 3 ปีต่อมาก็เปลี่ยนใจเลือกแต่เฉพาะชื่อสตรี (ตัวอย่าง Alice, Barbara...) วิธีการนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2521 (บ้างก็ว่า 2522) จึงได้มีชื่อบุรุษเป็นชื่อพายุบ้าง

จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง) โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ

เนื้อหา

[แก้] ลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 หรือ 27 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่

  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 องศา เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม
  • มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
  • บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
  • บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาหรับ เรียกว่า "ไซโคลน"
  • มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 องศา เรียกว่า "ไซโคลน"
  • มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลีวิลลี"

พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้

  • พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป

[แก้] รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนและการนำไปใช้

เป็นรายชื่อพายุที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ โดยมีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ร่วมกันเสนอบัญชีรายชื่อเอาไว้ทั้งหมด 5 ชุดด้วยกัน ประเทศที่เสนอชื่อมี 14 ประเทศ (และดินแดน) ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

รายชื่อพายุมี 140 ชื่อ นำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศ (และดินแดน) ที่เสนอมาตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้

ประเทศที่ส่งชื่อ
ชุดที่ 1

ชุดที่ 2

ชุดที่ 3

ชุดที่ 4

ชุดที่ 5

ดอมเรย

กองเรน

นากรี

กรอวาญ (กระวาน)

สาลิกา

ไห่คุ้ย

ยู่ทู่

ฟงเฉิน

ตู้เจี้ยน

ไหหม่า

ไคโรจิ

โทราจิ

คัลเมจิ

มูจิแก

มิอะริ

ฮ่องกง (จีน)

ไคตั๊ก

มานหยี่

ฟองวอง

ฉอยหวั่น

หมาง้อน

เทมบิง

อุซางิ

คัมมุริ

คอบปุ

โทะคาเงะ

โบลาเวน

ปาบึก (ปลาบึก)

พันฝน

กิสนา (กฤษณา)

นกเตน (นกกระเต็น)

มาเก๊า (จีน)

ซานปา

หวู่ติ๊บ

หว่องฟง

ป้าหม่า

หมุ่ยฟ้า

เจอลาวัต

เซอปัต

นูรี

เมอโลร์

เมอร์บุก

เอวิเนียร์

ฟิโทว์

ซินลากอ

เนพาร์ตัก

นันมาดอล

มาลิกซี

ดานัส

ฮากุปิต

ลูปีต

ตาลัส

เกมี

นารี

ชังมี

มีรีแน

โนรู

พระพิรุณ

วิภา

เมขลา

นิดา

กุหลาบ

มาเรีย

ฟรานซิสโก

ฮีโกส

โอไมส์

โรคี

เซินติญ

เลกีมา

บาหวี่

โกนเซิน

เซินกา

โบพา

กรอซา

ไม้สัก

จันทู

เนสาด

หวู่คง

ไห่เยี่ยน

ไห่เฉิน

เตี้ยนหมู่

เตี้ยนหมู่

โซนามุ

โพดอล

โนล

มินดอลเล

นาลแก

ฮ่องกง (จีน)

ซานซาน

เหล่งเหลง

ดอลฟิน

ไลออนร็อก

บันยัน

ยางิ

คะจิกิ

คุจิระ

คอมปาซุ

วาชิ

หลี่ผี

ฟ้าใส

จันหอม (จันทน์หอม)

น้ำเทิน

ปาข่า (ปลาข่า)

มาเก๊า (จีน)

เบบินคา

เพผ่า

หลิ่นฟ้า

หม่าโหล

ซันหวู่

รุมเบีย

ตาปาห์

นังกา

เมอรันตี

มาวาร์

ซูลิก

มิแทก

เซาเดโลร์

ฟานาปี

กูโชล

ซิมารอน

ฮากิบิส

โมลาเว

มาลากัส

ตาลิม

เชบี

โนกูรี

โคนี

เมกี

ทกซุริ

มังคุด

รามสูร

มรกต

ชบา

ขนุน

อูตอร์

มัตโม

เอตาว

แอรี

วีเซนเต

จ่ามี

หะลอง

หว่ามก๋อ

ซงด่า

ซาวลา

ข้อตกลงคือ พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือดอมเรย ลูกต่อไปก็จะชื่อ ไห่คุ้ย, ไคโรจิ, ... ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก

[แก้] การตั้งชื่อพายุ

  1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กลายเป็นพายุโซนร้อน) พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
  2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ชื่อบนสุดของคอลัมน์หรือชุดที่ 1 ก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 เป็นตัวแรกของปี พายุลูกนั้นจะมีชื่อว่า "ดอมเรย"
  3. เมื่อมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 พายุลูกนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในชุดที่ 1 เช่น พายุลูกที่ 2 จะมีชื่อว่า "ไห่คุ้ย"
  4. เมื่อใช้จนหมดชุดแรกให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "จ่ามี" จะใช้ชื่อ "กองเรย"
  5. เมื่อใช้จนหมดชุดที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "ซาวลา" จะใช้ชื่อ "ดอมเรย"

[แก้] ความหมายและที่มาของพายุ

[แก้] ชุดที่ 1

ชุดที่ 1

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

ดอมเรย

Damrey

ช้าง

กัมพูชา

ไห่คุ้ย

Haikui

ดอกไม้ทะเล

จีน

ไคโรจิ

Kirogi

ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วงและอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น)

เกาหลีเหนือ

ไคตั๊ก

Kai-tak

ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง

ฮ่องกง (จีน)

เทมบิง

Tembin

คันชั่ง; กลุ่มดาวคันชั่ง

ญี่ปุ่น

โบลาเวน

Bolaven

ชื่อที่ราบสูงทางภาคใต้ของลาว

ลาว

ซานปา

Sanba

ชื่อสถานที่ในมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

เจอลาวัต

Jelawat

ชื่อปลาน้ำจืด

มาเลเซีย

เอวิเนียร์

Ewiniar

ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ (ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก)

ไมโครนีเซีย

มาลิกซี

Maliksi

คำคุณศัพท์ในภาษาฟิลิปิโน แปลว่า "เร็ว"

ฟิลิปปินส์

เกมี

Gaemi

มด

เกาหลีใต้

พระพิรุณ

Prapiroon

ชื่อเทพเจ้าแห่งฝน

ไทย

มาเรีย

Maria

ชื่อผู้หญิงในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เซินติญ

Son Tinh

เทพเจ้าแห่งขุนเขาในเทวตำนานของเวียดนาม

เวียดนาม

โบพา

Bopha

ชื่อดอกไม้; ชื่อเด็กหญิง

กัมพูชา

หวู่คง (หงอคง)

Wukong

ชื่อลิงในตำนานที่เดินทางไปกับพระถังซัมจั๋งและคณะ เพื่อไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดีย

จีน

โซนามุ

Sonamu

ต้นสน

เกาหลีเหนือ

ซานซาน

Shanshan

ชื่อหญิงสาว

ฮ่องกง (จีน)

ยางิ

Yagi

แพะ; กลุ่มดาวแพะทะเล

ญี่ปุ่น

หลี่ผี

Leepi

ชื่อน้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของลาว

ลาว

เบบินคา

Bebinca

ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

รุมเบีย

Rumbia

ปาล์มสาคู

มาเลเซีย

ซูลิก

Soulik

ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป

ไมโครนีเซีย

ซิมารอน

Cimaron

วัวป่าในฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์

เชบี

Jebi

นกนางแอ่น

เกาหลีใต้

มังคุด

Mangkhut

ชื่อผลไม้

ไทย

อูตอร์

Utor

แนวพายุฝนฟ้าคะนอง (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์)

สหรัฐอเมริกา

จ่ามี

Trami

ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลกุหลาบ

เวียดนาม

[แก้] ชุดที่ 2

ชุดที่ 2

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

กองเรย

Kong-rey

ชื่อสาวงามในตำนาน; ชื่อภูเขา

กัมพูชา

ยู่ทู่

Yutu

กระต่ายในตำนาน

จีน

โทราจิ

Toraji

ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา

เกาหลีเหนือ

มานหยี่

Man-yi

ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ

ฮ่องกง (จีน)

อุซางิ

Usagi

กระต่าย; กลุ่มดาวกระต่ายป่า

ญี่ปุ่น

ปาบึก (ปลาบึก)

Pabuk

ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่

ลาว

หวู่ติ๊บ

Wutip

ผีเสื้อ

มาเก๊า (จีน)

เซอปัต

Sepat

ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน

มาเลเซีย

ฟิโทว์

Fitow

ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป)

ไมโครนีเซีย

ดานัส

Danas

ประสบ; รู้สึก

ฟิลิปปินส์

นารี

Nari

ดอกไม้

เกาหลีใต้

วิภา

Wipha

ชื่อผู้หญิง

ไทย

ฟรานซิสโก

Francisco

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เลกีมา

Lekima

ชื่อผลไม้

เวียดนาม

กรอซา

Krosa

ปั้นจั่น

กัมพูชา

ไห่เยี่ยน

Haiyan

ชื่อนกทะเล

จีน

โพดอล

Podul

ต้นหลิว (ต้นไม้ที่มักพบในเกาหลี)

เกาหลีเหนือ

เหล่งเหลง

Lingling

ชื่อหญิงสาว

ฮ่องกง (จีน)

คะจิกิ

Kajiki

ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ; กลุ่มดาวปลากระโทงแทง

ญี่ปุ่น

ฟ้าใส

Faxai

ชื่อผู้หญิง

ลาว

เพผ่า

Peipah

ชื่อปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงในมาเก๊า

มาเก๊า (จีน)

ตาปาห์

Tapah

ชื่อปลาน้ำจืด

มาเลเซีย

มิแทก

Mitag

ชื่อผู้หญิง (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป); "ดวงตาของฉัน"

ไมโครนีเซีย

ฮากิบิส

Hagibis

รวดเร็ว; ว่องไว

ฟิลิปปินส์

โนกูรี

Noguri

สุนัขพันธุ์ราคูน

เกาหลีใต้

รามสูร

Rammasun

ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย

ไทย

มัตโม

Matmo

ฝนตกหนัก

สหรัฐอเมริกา

หะลอง

Halong

ชื่ออ่าวที่สวยงามแห่งหนึ่งในเวียดนาม

เวียดนาม

[แก้] ชุดที่ 3

ชุดที่ 3

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

นากรี

Nakri

ชื่อดอกไม้

กัมพูชา

ฟงเฉิน

Fengshen

ชื่อเทพเจ้าแห่งลม

จีน

คัลเมจิ

Kalmaegi

นกนางนวล (สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล)

เกาหลีเหนือ

ฟองวอง

Fung-wong

ชื่อยอดเขา แปลว่า "นกฟีนิกซ์"

ฮ่องกง (จีน)

คัมมุริ

Kammuri

มงกุฎ; กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ

ญี่ปุ่น

พันฝน

Phanfone

สัตว์

ลาว

หว่องฟง

Vongfong

ตัวต่อ (แมลง)

มาเก๊า (จีน)

นูรี

Nuri

นกแก้วชนิดหนึ่ง

มาเลเซีย

ซินลากอ

Sinlaku

ชื่อเทพธิดาในนิยายของชาวเกาะคอสไร

ไมโครนีเซีย

ฮากุปิต

Hagupit

เฆี่ยนตี

ฟิลิปปินส์

ชังมี

Jangmi

กุหลาบ

เกาหลีใต้

เมขลา

Mekkhala

ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย

ไทย

ฮีโกส

Higos

มะเดื่อ (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

บาหวี่

Bavi

ชื่อทิวเขาในภาคเหนือของเวียดนาม

เวียดนาม

ไม้สัก

Maysak

ชื่อต้นไม้

กัมพูชา

ไห่เฉิน

Haishen

ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล

จีน

โนอุล

Noul

แสงวาบ; ท้องฟ้าสีแดง

เกาหลีเหนือ

ดอลฟิน

Dolphin

โลมาขาวที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำฮ่องกงและเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของฮ่องกง

ฮ่องกง (จีน)

คุจิระ

Kujira

วาฬ; กลุ่มดาววาฬ

ญี่ปุ่น

จันหอม (จันทน์หอม)

Chan-hom

ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง

ลาว

หลิ่นฟ้า

Linfa

ดอกบัว

มาเก๊า (จีน)

นังกา

Nangka

ขนุน

มาเลเซีย

เซาเดโลร์

Soudelor

ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป

ไมโครนีเซีย

โมลาเว

Molave

ไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง นิยมใช้ทำเครื่องเรือน

ฟิลิปปินส์

โคนี

Goni

หงส์

เกาหลีใต้

มรกต

Morakot

มรกต

ไทย

เอตาว

Etau

เมฆพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา)

สหรัฐอเมริกา

หว่ามก๋อ

Vamco

ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม

เวียดนาม

[แก้] ชุดที่ 4

ชุดที่ 4

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

กรอวาญ (กระวาน)

Krovanh

ชื่อต้นไม้

กัมพูชา

ตู้เจี้ยน

Dujuan

ชื่อไม้ดอก

จีน

มูจิแก

Mujigae

รุ้ง

เกาหลีเหนือ

ฉอยหวั่น

Choi-wan

เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม

ฮ่องกง (จีน)

คอบปุ

Koppu

ถ้วย; กลุ่มดาวถ้วย

ญี่ปุ่น

กิสนา (กฤษณา)

Ketsana

ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง

ลาว

ป้าหม่า

Parma

อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยแฮม ตับไก่ และเห็ด

มาเก๊า (จีน)

เมอโลร์

Melor

ดอกมะลิ

มาเลเซีย

เนพาร์ตัก

Nepartak

นักรบผู้มีชื่อเสียงชาวเกาะคอสไร

ไมโครนีเซีย

ลูปีต

Lupit

ความโหดร้ายทารุณ

ฟิลิปปินส์

มีรีแน

Mirinae

ทางช้างเผือก

เกาหลีใต้

นิดา

Nida

ชื่อผู้หญิง

ไทย

โอไมส์

Omais

การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา)

สหรัฐอเมริกา

โกนเซิน

Conson

ชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

เวียดนาม

จันทู

Chanthu

ชื่อดอกไม้

กัมพูชา

เตี้ยนหมู่

Dianmu

เจ้าแม่สายฟ้า

จีน

มินดอลเล

Mindulle

แดนดิไลออน ดอกไม้เล็ก ๆ สีเหลือง บานในฤดูใบไม้ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี

เกาหลีเหนือ

ไลออนร็อก

Lionrock

ชื่อหินบนเขาแห่งหนึ่งในฮ่องกง รูปร่างคล้ายสิงโตหมอบ

ฮ่องกง (จีน)

คอมปาซุ

Kompasu

วงเวียน; กลุ่มดาววงเวียน

ญี่ปุ่น

น้ำเทิน

Namtheun

ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง

ลาว

หม่าโหล

Malou

หินโมรา

มาเก๊า (จีน)

เมอรันตี

Meranti

ชื่อต้นไม้

มาเลเซีย

ฟานาปี

Fanapi

หมู่เกาะปะการัง (อะทอลล์) เล็ก ๆ

ไมโครนีเซีย

มาลากัส

Malakas

แข็งแกร่ง; เต็มไปด้วยพลัง

ฟิลิปปินส์

เมกี

Megi

ปลาดุก

เกาหลีใต้

ชบา

Chaba

ชื่อดอกไม้; ชื่อผู้หญิง

ไทย

แอรี

Aere

ลมพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์)

สหรัฐอเมริกา

ซงด่า

Songda

ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำแดง

เวียดนาม

[แก้] ชุดที่ 5

ชุดที่ 5

ชื่อพายุ

ความหมาย

ที่มา (ประเทศ)

สาลิกา

Sarika

ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง

กัมพูชา

ไหหม่า

Haima

ม้าน้ำ

จีน

มิอะริ

Meari

เสียงสะท้อน (หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่นก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก)

เกาหลีเหนือ

หมาง้อน

Ma-on

ชื่อยอดเขา แปลว่า "อานม้า"

ฮ่องกง (จีน)

โทะคาเงะ

Tokage

สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก; กลุ่มดาวกิ้งก่า

ญี่ปุ่น

นกเตน (นกกระเต็น)

Nock-ten

ชื่อนก

ลาว

หมุ่ยฟ้า

Muifa

ดอกบ๊วย

มาเก๊า (จีน)

เมอร์บุก

Merbok

ชื่อนกชนิดหนึ่ง

มาเลเซีย

นันมาดอล

Nanmadol

โบราณสถานที่มีชื่อเสียงบนเกาะโปนเป ได้ชื่อว่าเป็น "เวนิสแห่งแปซิฟิก"

ไมโครนีเซีย

ตาลัส

Talas

ความแหลม; ความคม

ฟิลิปปินส์

โนรู

Noru

กวาง

เกาหลีใต้

กุหลาบ

Kulap

ชื่อดอกไม้

ไทย

โรคี

Roke

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

เซินกา

Sonca

ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง

เวียดนาม

เนสาด

Nesat

การทำประมง

กัมพูชา

ไห่ถาง

Haitang

ชื่อผลไม้ของจีน

จีน

นาลแก

Nalgae

ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ)

เกาหลีเหนือ

บันยัน

Banyan

ชื่อต้นไม้

ฮ่องกง (จีน)

วาชิ

Washi

นกอินทรี; กลุ่มดาวนกอินทรี

ญี่ปุ่น

ปาข่า (ปลาข่า)

Pakhar

โลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตอนล่าง

ลาว

ซันหวู่

Sanvu

หินปะการัง

มาเก๊า (จีน)

มาวาร์

Mawar

กุหลาบ

มาเลเซีย

กูโชล

Guchol

ขมิ้น (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป)

ไมโครนีเซีย

ตาลิม

Talim

แหลมคมหรือด้านคมของใบมีด

ฟิลิปปินส์

ทกซุริ

Doksuri

นกอินทรี

เกาหลีใต้

ขนุน

Khanun

ชื่อผลไม้

ไทย

วีเซนเต

Vicente

ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา)

สหรัฐอเมริกา

ซาวลา

Saola

วัวป่าชนิดหนึ่งที่เพิ่งค้นพบในเวียดนาม

เวียดนาม

[แก้] กฎน่ารู้

มีกฎย่อยอยู่ข้อหนึ่งว่า หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นไป แล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน ตัวอย่างเช่น เฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Andrew) ซึ่งโดนปลดมาแล้วในบ้านเรา คือ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้

[แก้] อ้างอิง