กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก กระทรวงมหาดไทย)
กระทรวงมหาดไทย
ราชอาณาจักรไทย
กท.มหาดไทย.jpg
ตรา
กองบัญชาการ
Flag of ไทย
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ 10200
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749
ภาพรวมของหน่วยงาน
วันก่อตั้ง 1 เมษายน พ.ศ. 2435
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 183,998,707,100 บาท (พ.ศ. 2553)[1]
รัฐมนตรีว่าการ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล, รัฐมนตรี
ถาวร เสนเนียม, รัฐมนตรีช่วย 1
บุญจง วงศ์ไตรรัตน์, รัฐมนตรีช่วย 2
ผู้บริหาร มานิต วัฒนเสน, ปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
MOI.go.th

กระทรวงมหาดไทยแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Interior of Thailand) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอด

เนื้อหา

[แก้] ประวัติกระทรวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลัมภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่

ในปี พ.ศ. 2435 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรมการจังหวัด และประธานคณะกรมการอำเภอ ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่าง ๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย

หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการแบ่งส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้ง จนในปัจจุบัน

[แก้] หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย

เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ ประกอบด้วยแล้ว ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ

  1. ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
  2. ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการต่า ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และการชลประทานราษฎร์ เป็นต้น
  3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
  4. ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น

[แก้] หน่วยงานในสังกัด

กระทรวงมหาดไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 8 กรม 5 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

ก. ส่วนราชการระดับกรม The Ministry of Interior has 8 department level agencies, namely :

  1. สำนักงานรัฐมนตรี: Office of the Minister
  2. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย : Office of the Permanent Secretary for Interior
  3. กรมการปกครอง : Department of Provincial Administration
  4. กรมการพัฒนาชุมชน : Community Development Department
  5. กรมที่ดิน : Department of Lands
  6. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย : Department of Disaster Prevention and Mitigation
  7. กรมโยธาธิการและผังเมือง : Department of Public Works and Town and Country Planning
  8. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : Department of Local Administration

ข. รัฐวิสาหกิจ There are 5 state-enterprise agencies under the Ministry of Interior, namely :

  1. การไฟฟ้านครหลวง : Metropolitan Electricity Authority
  2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : Provincial Electricity Authority
  3. การประปานครหลวง : Metropolitan Waterworks Authority
  4. การประปาส่วนภูมิภาค : Provincial Waterworks Authority
  5. องค์การตลาด : Marketing Organization

ค. หน่วยงานอื่นๆ

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. เมืองพัทยา

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749

ภาษาอื่น