พรรคมหาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัญลักษณ์พรรคมหาชน

พรรคมหาชน (Mahachon Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 โดยพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากพ้นกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากแจ้งบัญชีทรัพย์สินไม่ถูกต้อง

นโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือ และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง [ต้องการอ้างอิง]

เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่นายศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงยกให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [1]

เนื้อหา

[แก้] การเลือกตั้ง พ.ศ. 2548

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ส่งตัวแทนสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 นำเสนอนโยบายที่ใช้ชื่อ "สองนคราประชาธิปไตย" และประกาศตัวพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่ง แม้กระทั่งในเขตจังหวัดพิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชายพลตรีสนั่น ก็ยังไม่ได้รับเลือก ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคได้คะแนนเสียงระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5% ทำให้ทั้งนายเอนก และพลตรีสนั่น ไม่ได้เป็น ส.ส.

หลังการเลือกตั้ง ดร.เอนก ในฐานะหัวหน้าพรรคมีปัญหากับกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้ พลตรีสนั่น รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อ

การที่พรรคมี ส.ส. เพียงสองคน โดยที่หัวหน้าพรรค และประธานที่ปรึกษาพรรคเป็น ส.ส.สอบตก ทำให้ ส.ส.ของพรรคคือ นายตุ่น จินตเวช จากจังหวัดอุบลราชธานี และนางทัศนียา รัตนเศรษฐ์ จากจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการทางการเมืองเป็นอิสระ และหันไปสนันสนุนพรรคไทยรักไทย โดยที่ทางหัวหน้าพรรคก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เพราะในระเบียบระบุว่าการประชุมพรรคเพื่อขับสมาชิกพรรค (คือนายตุ่น และนางทัศนียา) ต้องมี ส.ส.ของพรรคร่วมอยู่ด้วย

[แก้] การเลือกตั้งซ่อมจังหวัดพิจิตร

[แก้] การเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 พรรคมหาชนร่วมกับ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย ขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่าจะจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง พรรคจึงมีมติไม่ส่งผู้สมัคร

[แก้] การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

ในปลายเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น หัวหน้าพรรคได้นำเอาสมาชิกพรรคจำนวน 15 คน ไปสังกัดกับทางพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า พรรคมหาชนเป็นพรรคขนาดเล็กคงไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่ถึงอย่างไร พลตรีสนั่นก็ยังคงจะบริหารพรรคมหาชนต่อไป

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "ชาติไทย-มหาชน" จับขั้วไร้เงื่อนไข
Scale of justice.svg พรรคมหาชน เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พรรคมหาชน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น