ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินโดนีเซีย
Shirt badge/Association crest
ฉายา Merah Putih
สมาคม สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ตำแหน่งว่าง
ติดทีมชาติสูงสุด Kurniawan Dwi Yulianto (60)
ทำประตูสูงสุด Kurniawan Dwi Yulianto (33)
รหัสฟีฟ่า IDN
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
Flag of the Republic of China จีน 2 - 0 ดัตช์อีสต์อินดีส์ Flag of the Netherlands
(ฟิลิปปินส์; 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2477)
Flag of อินเดีย อินเดีย 3 - 0 อินโดนีเซีย Flag of อินโดนีเซีย
(เดลี ประเทศอินเดีย; 4 มีนาคม พ.ศ. 2494)
ชนะสูงสุด
Flag of อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 13 - 0 ฟิลิปปินส์ Flag of the Philippines
(จาการ์ตา อินโดนีเซีย; 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545)
แพ้สูงสุด
Flag of เดนมาร์ก เดนมาร์ก 9 - 0 อินโดนีเซีย Flag of อินโดนีเซีย
(โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก; 3 กันยายน พ.ศ. 2517)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม 1 (ครั้งแรกเมื่อ 1938)
ผลงานดีที่สุด รอบแรก 1938
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม 3 (ครั้งแรกเมื่อ 1996)
ผลงานดีที่สุด รอบแรก 1996, 2000, 2004

ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ทีมชาติอินโดนีเซียเป็นทีมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงไม่กี่ทีมที่เคยร่วมเล่นฟุตบอลโลก โดยเล่นในฟุตบอลโลก 1938 และยังไม่มีผลงานที่โดดเด่นในระดับเอเชีย ส่วนในระดับอาเซียน ทีมอินโดนีเซียได้อันดับรองชนะเลิศไทเกอร์คัพ 3 ครั้ง

ในช่วงแรกทีมชาติอินโดนีเซียได้ร่วมเล่นในฟุตบอลโลกในตัวแทนของ ดัตช์อีสต์อินดีส์ ซึ่งเป็นชื่อของอินโดนีเซียในช่วงที่เป็นเมืองขึ้นของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทีมนี้เป็นทีมในทวีปเอเชียทีมแรกที่ได้ร่วมเล่นฟุตบอลโลก โดยเข้าเล่นในฟุตบอลโลก 1938 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ[1]

เนื้อหา

[แก้] ผลงาน

[แก้] ฟุตบอลโลก

  • 1930, 1934, 1954 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1938 - รอบแรก (ในนาม ดัตช์อีสต์อินดีส)
  • 1950, 1958, 1962 - ถอนตัว
  • 1966, 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1974 - 2006 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

[แก้] เอเชียนคัพ

  • 1956 - 1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1968 - 1992 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1996 - 2004 - รอบแรก
  • 2007 - ร่วมเล่นในฐานะเจ้าภาพร่วม

[แก้] อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ

  • 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 1998 - อันดับ 3
  • 2000-2004 - รองชนะเลิศ
  • 2007 - รอบแรก

[แก้] ผลงานอื่น

  • ซีเกมส์ - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 1987 (จาการ์ตา), 1991 (มะนิลา)
  • คิงส์คัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง ใน คิงส์คัพ ครั้งที่ 1 (2511)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ อิเหนากับบอลโลก 1938