วิกฤตการณ์อิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


แผนที่แสดงบริเวณขัดแย้ง (area of conflict)

ความขัดแย้งอิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549 หรือ ความขัดแย้งเฮซบอลลาห์-อิสราเอล พ.ศ. 2549 เป็นชุดของการปฏิบัติการและการปะทะทางทหาร ที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศเลบานอนและตอนเหนือของประเทศอิสราเอล โดยผู้มีส่วนร่วมคือฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มเฮซบอลลาห์ และกองทหารอิสราเอล

ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 9:05 น. ตามเวลาท้องถิ่น (0605 GMT) ฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มเฮซบอลลาห์ เริ่ม ปฏิบัติการสัจจสัญญา (Operation Truthful Promise[1]) ทำการโจมตีข้ามพรมแดน มีนายทหารอิสราเอล 8 นายเสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกัน 2 นาย จากนั้นจึงตามมาด้วยการแก้แค้นของฝ่ายอิสราเอล ในชื่อ ปฏิบัติการตอบแทนอย่างสาสม (Operation Just Reward[2]) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ปฏิบัติการการเปลี่ยนทิศ (Operation Change of Direction[3])

รัฐบาลเลบานอนได้ประกาศไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นกับปฏิบัติการของเฮซบอลลาห์ และได้เรียกร้องให้องค์กรนานาชาติช่วยเหลือเพื่อให้สงครามยุติโดยทันที.[4]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง

บรรยากาศงานศพของทหารอิสราเอลที่ถูกสังหารโดยเฮซบอลลาห์


ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2006 เวลา 9:05 นาฬิกาของเวลาท้องถิ่น, กลุ่มทหารภาคพื้นดินของเฮซบอลลาห์ได้เข้าโจมตีนายทหารอิสราเอล ขณะลาดตระเวณอยู่บริเวณชายแดนของสองประเทศ ส่งผลให้นายทหารอิสราเอลเสียชีวิต 3 นาย และถูกจับกุมไป 2 นาย[12]. หลังจากนั้น 5 นายทหารอิสราเอลที่ถูกส่งไปช่วยเหลือทหารที่ถูกจับกุมได้ถูกสังหารทั้งหมด.[13] กองกำลังตำรวจเลบานอน และ เฮซบอลลาห์รายงานว่า นายทหารอิสราเอลถูกจับกุมเนื่องจากพยายามที่จะแทรกซึมเข้าไปในเมือง Ayta al-Sha`b ของเลบานอน.[14]

จากนั้น วันที่ 13 กรกฎาคม กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ได้ยืนยันการถูกจับกุมของสองนายทหารและคาดว่าจะเป็นนาย Ehud Goldwasser และ Eldad Regev. [15]

การโจมตีของเฮซบอลลาห์ถูกตั้งชื่อว่า "พันธะสัญญา" โดย ผู้นำของกลุ่ม ชีค ฮัซซัน นาซรัลลาห์ เพื่อที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนเชลยระหว่างนายทหารอิสราเอล กับนักโทษเลบานอนซึ่งถูกจับกุมอยู่ในอิสราเอล. [16][2][3]

เฮซบอลลาห์ได้แถลงการว่า "Implementing our promise to free Arab prisoners in Israeli jails, our strugglers have captured two Israeli soldiers in southern Lebanon". (เพื่อทำสัญญาที่จะปล่อยนักโทษอาหรับในกรงขังอิสราเอล นักสู้ของเราได้จับตัวสองนายทหารอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอน) [17] หลังจากนั้น ซายิด ฮัซซัน นาสรัลลาห์ ได้ประกาศว่า "No military operation will return them… The prisoners will not be returned except through one way: indirect negotiations and a trade of prisoners." (ไม่มีปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ที่นำพวกเขากลับไปได้ นักโทษจะไม่ถูกปล่อยตัว ยกเว้นเพียงหนทางเดียว คือ การเจรจาแลกเปลี่ยนนักโทษ) [18]


เด็กหญิงชาวเลบานอนที่เสียชีวิตใน ปฏิบัติการถล่มคานาของอิสราเอล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2006.

[แก้] ฮิซบอลเลาะห์

ดูบทความหลักที่ ฮิซบอลเลาะห์

กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ หรือในภาษาอาหรับมีความหมายว่า (แปล:พรรคของพระผู้เป็นเจ้า) เป็นองค์กรอิสลามนิกายชีอะห์ที่ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1982 มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการยึดครองของอิสราเอลโดยเฉพาะ [91]. นโยบายของเฮซบอลลาห์ได้ถูกกล่าวอย่างชัดเจนเสมอมา คือ เพื่อป้องกันและทำลายอิสราเอล [91] ปัจจุบันมีผู้นำคือ ซายิด ฮัซซัน นาซรัลลาห์.

องค์กรนี้มีทั้งกองทหาร และพลเรือน โดยกลุ่มพลเรือนได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาของเลบานอน โดยมีเสียงอยู่ราว ๆ 18% ในสภา (23 จาก 128 ที่นั่งในสภา) และยังพรรคที่องค์กรนี้ร่วมกันจัดตั้งกับองค์กรอื่นคือ "Resistance and Development Bloc" (พรรคเพื่อการป้องกันและพัฒนา) มีเสียงอยู่ราว 30% (35 ที่นั่ง) (ดูบทความการเลือกตั้งทั่วไปในเลบานอน ค.ศ. 2005). ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภา

[แก้] ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสงคราม

  • กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอลโจมตี โรงงานไฟฟ้า Jiyeh ในวันที่ 13 และ 15 กรกฎาคม ส่งผลให้น้ำมัน 25,000 ตันทะลักเข้าไปในทะเลเมติเทอเรเนียน และทำให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น. ในเวลานี้น้ำมันได้ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งของเลบานอนเป็นบริเวณ 80 กิโลเมตร จากบริเวณชายฝั่งทั้งหมด 200 กิโลเมตร. การทะลักของน้ำมันก่อให้เกิดปัญหาทางเดินหายใจ สังหารสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยเฉพาะปลา และคาดว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อเต่าสีเขียวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น [80][81] [82]
  • การใช้หัวรบขีปนาวุธที่ทำจากยูเรเนียม เช่น GBU-28 "Bunker Buster" ของทหารอิสราเอล ทำให้เกิดสารพิษตกค้างสะสมในสิ่งแวดล้อม[83]. กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอลประกาศว่าได้ใช้ GBU-28 เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์ที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งของเฮซบอลลาห์ [84]
  • CNN รายงานว่าจรวดของเฮซบอลลาห์ที่พลาดเป้าหมายโจมตี มักไปทำลายป่าไม้ทางตอนเหนือของอิสราเอล [citation needed]

[แก้] อ้างอิง

ประวัติศาสตร์ วิกฤตการณ์อิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549 เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ วิกฤตการณ์อิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549 ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์