โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29

Beijing 2008 logo.gif
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29
“ ‘同一个世界 同一个梦想’
«One World One Dream»
สัญลักษณ์: ปักกิ่งร่ายรำ[1]
Olympic rings.svg โอลิมปิกฤดูร้อน 2008
IOC · COC · SF&OCHK · BOCOG

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ประจำปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) (จีน: 2008年 夏季奥林匹克运动会, เอ้อร์หลิงหลิงปาเหนียน เซี่ยจี้อ้าวหลินผี่เค่อยวื่นต้งฮุ่ย; อังกฤษ: Games of the XXIX Olympiad) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ฮ่องกง ชิงเต่า ชิงหวงเต่า เซี่ยงไฮ้ และเสิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (การแข่งขันฟุตบอลจัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ตามมาด้วยพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 17 กันยายน การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่สามที่มีเจ้าภาพอยู่ในทวีปเอเชีย (ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และครั้งที่สอง ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531) โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในเวลา 20 นาฬิกา (8 นาฬิกาตอนกลางคืน) 8 นาทีตามเวลากรุงปักกิ่ง (19 นาฬิกา 8 นาที ตามเวลาแห่งประเทศไทย) โดยเลข 8 นี้เป็นเลขนำโชคของชาวจีนซึ่งเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขมงคลมากที่สุด เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฟา (發/发) ที่หมายถึง ร่ำรวย

นายหวัง ฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[2] เลยก็ว่าได้

กีฬาโอลิมปิก 2008 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้

เนื้อหา

[แก้] การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

ปักกิ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 112 ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2
ปักกิ่ง Flag of the People's Republic of China จีน 44 56
โตรอนโต ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 20 22
ปารีส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 15 18
อิสตันบูล ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 17 9
โอซากา ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6 -


[แก้] การพัฒนาและการเตรียมการ

[แก้] สถานที่

นอกจากการก่อสร้างกลุ่มสนามกีฬา และหมู่บ้านนักกีฬาแล้ว ยังมีการก่อสร้างวนอุทยานโอลิมปิค (Olympic Forest Park) บนพื้นที่ด้านเหนือของกลุ่มสนามกีฬา (Sport Complex)บนพื้นที่ราว 4,000 ไร่ รวมทั้งพื้นที่สวนโอลิมปิกสีเขียว บนแนวแกนเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียว อันประกอบด้วยการจัดภูมิทัศน์ เป็นลานเอนกประสงค์, สวนประติมากรรม, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน, เวทีกลางแจ้ง ฯลฯ

ภูมิทัศน์ริมถนน ได้รับการออกแบบเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกต้นไม้ ชุมชนแออัดสองข้างถนนสายหลักมีการรื้อถอน อาคารเก่าๆได้รับการปรับปรุงรวมทั้งทาสีใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้

[แก้] สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ดูบทความหลักที่ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ศูนย์กลางการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "รังนก" เนื่องจากรูปแบบโครงสร้างที่คล้ายรังนก [3] การสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เดิมทีทางการจีนมีแผนที่จะใช้สนามกีฬาแห่งชาติกวางตุ้งเป็นสถานที่แข่งขันโอลิมปิก ดังนั้นสนามกีฬาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นและเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ทว่าทางการจีนเปลี่ยนการตัดสินใจและสร้างสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ในปักกิ่ง[4] ต่อมาทางการจีนเปิดการแข่งขันออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติที่จะสร้างขึ้นใหม่ในปักกิ่ง บริษัทสัญชาติสวิส Herzog & de Meuron Architekten AG ในความร่วมมือกับกลุ่มออกแบบและค้นคว้าสถาปัตยกรรมจีนชนะการประกวด โดยสนามกีฬามีลักษณะเป็นโครงคอนกรีตคล้ายตาข่ายและจะสามารถจุผู้คนได้ถึง 90,000 คนในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิก โดยเดิมสถาปนิกพรรณาถึงลักษณะการออกแบบที่คล้ายคลึงกับรังนกพร้อมด้วยรูโล่งอันใหญ่โตที่มีเพดานสนามที่หดตัวด้วยเหนือสนามกีฬา อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 ความคิดที่ให้มีเพดานสนามที่หดตัวได้ถูกยกเลิกไปเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัย สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งจะเป็นสถานที่ที่ทำพิธีเปิดและปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เช่นเดียวกับเป็นสถานที่แข่งขันกรีฑาและฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ ผู้ออกแบบสนามกีฬา อ้าย เหวยเหว่ย ถอนตัวจากการสนับสนุนจีนสำหรับโอลิมปิก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า "เขาไม่ต้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้อีกแล้ว"[5][6]

ขณะที่หมู่บ้านโอลิมปิกปักกิ่งเปิดขึ้นแล้ว ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเปิดสำหรับสาธารณชนในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

[แก้] การคมนาคม

การเตรียมการทางด้านการคมนาคมของกรุงปักกิ่งเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ได้แก่ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 3, รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียวซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่วนอุทยานโอลิมปิค (Olympic Forest Park) และสายรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อไปยังสายเขียว

[แก้] การตลาด

ฝูหวา

สัญลักษณ์ประจำโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถูกเรียกว่า ปักกิ่งร่ายรำ (จีนตัวย่อ: 舞动的北京, ‘Dancing Beijing’) สัญลักษณ์รวมตราสัญลักษณ์จีนดั้งเดิมและตัวละครจากพู่กันจีน จิง (京 ที่แปลว่า "เมืองหลวง" ซึ่งอยู่ในคำว่า "เป่ยจิง" ชื่อปักกิ่งภาษาจีน) ในลักษณะของนักกรีฑา แขนที่เปิดอ้าของคำว่า จิง มีความหมายเสมือนการเชื้อเชิญจากประเทศจีนไปทั่วโลกในการที่จะแบ่งปันวัฒนธรรมจีน ประธานของ IOC ฌาคส์ รอกก์ ดีใจมากกับสัญลักษณ์ และให้สัมภาษณ์ว่า "สัญลักษณ์ใหม่ของคุณนำพาไปยังความสวยงามที่ดีเยี่ยมและพลังของประเทศจีนซึ่งอยู่ในมรดกและคนของคุณในทันที"[7]

สโลแกนของโอลิมปิก 2008 คือ "One World One Dream" (จีนตัวเต็ม: 同一個世界 同一個夢想; จีนตัวย่อ: 同一个世界 同一个梦想; พินอิน: tóng yīgè shìjiè tóng yīgè mèngxiǎng, ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง) [8] แปลว่า หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน สโลแกนนี้ถูกเลือกจากการเสนอมากกว่า 210,000 รายการจากทั่วโลก[3] มีความหมายเป็นการเรียกร้องให้ทั้งโลกเข้าร่วมจิตวิญญาณแห่งโอลิมปิกและสร้างอนาคตที่ดีขึ้นเพื่อมวลมนุษยชน

[แก้] แมสคอต

ดูบทความหลักที่ ฝูหวา

[แก้] การถ่ายทอด

กีฬาเหล่านี้จะมีการถ่ายทอดสดในรูปแบบของโทรทัศน์ความละเอียดสูงทั้งหมดเป็นครั้งแรก และมีตัวเลขประมาณการณ์ผู้เข้าชมมากกว่า 4 สิบล้านคน [9] ในระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2544 ปักกิ่งยืนยันว่าจะ "ไม่มีการเข้มงวดในการรายงานข่าวและการเคลื่อนไหวของนักข่าวที่เกี่ยวกับโอลิมปิก 2008" [10] แต่ตามรายงานของ The New York Times กล่าวว่า "การให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นจริง โดยมีระเบียบวีซ่าที่เข้มงวดมาก กระบวนการสมัครที่ยาวนาน และความกังวลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล

[แก้] ปัญหาของเมือง

[แก้] การเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดงาน

คณะกรรมการจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกสากลประกาศเลื่อนการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปักกิ่งปี 2008 ออกไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 8-24 สิงหาคม

ทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไปว่า เนื่องจากกำหนดการแข่งขันเดิมคือ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมนั้น นครปักกิ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จนหลายฝ่ายวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของนักกีฬา

ภายหลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลปรึกษากับคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศของแต่ละชาติ และคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งปักกิ่งแล้ว ก็ได้บรรลุข้อตกลงเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 2 สัปดาห์

นายหวัง เหว่ย รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกปักกิ่ง แสดงความพอใจกับผลสรุปครั้งนี้ แต่ก็ชี้ว่า หากมีการเลื่อนการแข่งขันฯออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นราวกลางเดือนสิงหาคมไปถึงต้นกันยายน ก็จะยิ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีต่อการแข่งขันของนักกีฬา

[แก้] ปัญหาอื่น ๆ

เรื่องที่ปักกิ่งอาจเสียหน้าก็มีหลายเรื่อง เรื่องแรกคือ เรื่องรถติด เคาต์ดาวน์ครั้งนี้ปักกิ่งถือโอกาสซักซ้อมแผนลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวลงครึ่งหนึ่งเป็นเวลา 4 วัน โดยให้รถทะเบียนเลขคู่และเลขคี่สลับกันวิ่งคนละวัน แล้วเพิ่มรถเมล์เข้าไปให้บริการแทนวันละ 722 คัน การก่อสร้างรถใต้ดินอีก 6 สาย ก็กำลังลุยเต็มที่ ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ปักกิ่งมีเส้นทางรถใต้ดิน “ยาวที่สุดในโลก” 550 กิโลเมตร

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รัฐบาลนครปักกิ่งประกาศทุ่มเงิน 180,000 ล้านหยวน เพื่อแก้ไขสภาพการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนนในกรุงปักกิ่ง และหลีกเลี่ยงปัญหาปริมาณการจราจรสะสมในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008

ปักกิ่งมีเป้าหมายด้านเส้นทางคมนาคมพื้นฐานว่า จะขยายเส้นทางการจราจรจาก 95 กิโลเมตร เป็น 300 กิโลเมตร ขยายเส้นทางบนทางด่วนจาก 463 กิโลเมตรเป็น 890 กิโลเมตร ขยายทางด่วนในเมืองจาก 210 กิโลเมตรเป็น 280 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีแผนจะปรับปรุงประสิทธิภาพของสถานที่ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ลานจอดรถ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ปักกิ่งยังมีแผนศึกษาการจราจรจากเมืองต่างๆที่ประสบความสำเร็จในการจัดกีฬาโอลิมปิก และจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคมทั่วโลกมาเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลปักกิ่งเตรียมจะปฏิรูประบบการลงทุน ให้มีความหลากหลายและมั่นคง รวมถึง ส่งเสริมให้ภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้เข้าร่วมในโครงการคมนาคมนี้ด้วยก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ

ทั้งนี้ รัฐบาลปักกิ่งยังได้ออกมาตรการเพื่อปรับปรุงสภาพการจราจรที่มีปัญหาอีก 7 ประการ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึง การพัฒนาเส้นทางจราจรและระบบขนส่งมวลชน ปรับระบบการคมนาคมให้สอดคล้องกับการพัฒนาของตัวเมือง พัฒนาเมืองรอบๆปักกิ่ง แก้ไขสถานการณ์การกระจุกตัวของประชากรและตำแหน่งงาน โดยทางการปักกิ่งมีความเชื่อมั่นว่า มาตรการดังกล่าว จะสามารถควบคุมสภาพการจราจรในปักกิ่งอย่างได้ผลภายใน 1-3 ปี และคาดว่าก่อนปี 2008 จะสามารถทำให้เครือข่ายการจราจรทั้งหมดในปักกิ่งมีประสิทธิภาพเด่นชัดมากขึ้น ในส่วนกีฬาการแข่งขันกีฬาบางชนิดกลับโดนปรับลดความสำคัญ เช่นเพาะกายและบาคาร่า ได้ถูกบรรจุเป็นกีฬาสาธิตเท่านั้น

อากาศเสียก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ปักกิ่งถูกโจมตีหนัก นอกจากเอารถออกจากถนนครึ่งหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ต้นปีหน้า ปักกิ่งจะบังคับให้รถทุกคัน ติดตั้งระบบปล่อยควันเสียตามมาตรฐานยูโร 4 และเตรียมโละรถเมล์เก่า 19,000 คันในปักกิ่งออก เอารถใหม่และรถใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าไปแทน

เรื่องต่อมาก็คือ เรื่องสูบบุหรี่ไม่เลือกที่ ถ่มน้ำลายไม่เลือกทาง พูดเสียงดัง เข้าคิวไม่เป็น เข้าส้วมไม่ราด ฯลฯ นิสัยที่ติดตัวมานับพันๆปีพวกนี้ เป็นสิ่งที่แก้ยาก แต่ถ้าแก้ไม่แล้วเจ้าภาพอาจเสียหน้าได้ ปักกิ่งจึงจัดสัปดาห์รณรงค์ปลูกฝังวัฒนธรรมให้คนปักกิ่งด้วยความอดทน

[แก้] สัญลักษณ์โอลิมปิก 2008

สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า 'ปักกิ่งร่ายรำ' [1] จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว ‘จิง’ (京) ซึ่งอยู่ในคำว่า เป่ยจิง (ปักกิ่ง) อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบทอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ

ด้านล่างตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนจากปลายพู่กันจีน คำว่า ‘Beijing 2008 ’ถัดลงไปเป็นสัญลักษณ์ 5 ห่วงของโอลิมปิก

ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก ปักกิ่งร่ายรำ บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น

[แก้] คำขวัญประจำการแข่งขัน

การประกาศสโลแกนมหกรรมกีฬาโลก โอลิมปิกปี 2008 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สนามกีฬากรรมาชนกรุงปักกิ่ง บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกครื้น สโลแกนที่พิชิตใจกรรมการได้แก่ “One World One Dream” หรือในภาษาจีน 同一个世界 同一个梦想 ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง ซึ่งหมายถึง หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน

สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก

[แก้] การวิ่งคบเพลิง

เส้นทางการวิ่งคบเพลิงทั่วโลก

เส้นทางวิ่งส่งต่อคบเพลิง เริ่มจากกรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮเลนิก เดินทางโดยเครื่องบินถึงกรุงปักกิ่งในเดือนมีนาคม แล้วส่งต่อผ่าน 22 เมือง 5 ทวีป และอีก 113 เมืองของจีนเอง รวมระยะทาง 137,000 กิโลเมตร นอกจากนี้เส้นทางวิ่งคบเพลิงจะวกเข้าไปในธิเบต และขึ้นสู่ยอดเขา “จูมูลังมา” (เอเวอเรสต์) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วย

[แก้] สรุปเหรียญการแข่งขัน

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
อันดับ ประเทศ ภาพเหรียญทอง ภาพเหรียญเงิน ภาพเหรียญทองแดง รวม
1 จีน 51 21 28 100
2 สหรัฐอเมริกา 36 38 36 110
3 รัสเซีย 23 21 28 72
4 สหราชอาณาจักร 19 13 15 47
5 เยอรมนี 16 10 15 41
6 ออสเตรเลีย 14 15 17 46
7 เกาหลีใต้ 13 10 8 31
8 ญี่ปุ่น 9 6 10 25
9 อิตาลี 8 10 10 28
10 ฝรั่งเศส 7 16 17 40

[แก้] พิธีเปิด

[แก้] ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนเหรียญทองที่ชิงชัย ส่วนภาพแสดงสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น ๆ

[แก้] ประเทศที่ร่วมแข่งขัน

โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 204 ประเทศ ยกเว้นประเทศบรูไนที่ไม่ได้ร่วมเข้าแข่งขัน (รวมทั้งหมดเป็น 205 ประเทศในประวัติการณ์) รายชื่อประเทศที่เข้าสู่สนามในพิธีเปิดได้เรียงตามลำดับขีดจากน้อยไปมากของอักษรจีนตัวย่อ เว้นแต่ประเทศกรีซซึ่งจัดให้เป็นอันดับแรกเนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก จึงทำให้ประเทศกินี (几内亚) ได้เข้าสู่สนามเป็นอันดับแรกถัดจากกรีซ (2 ขีด) และประเทศออสเตรเลีย (澳大利亚) ต่อด้วยประเทศแซมเบีย (赞比亚) เป็นอันดับสุดท้ายตามลำดับ (15 และ 16 ขีด) และปิดท้ายด้วยประเทศจีนในฐานะประเทศเจ้าภาพ

List of Participating NOCs

Below is a list of all the participating NOCs (the number of competitors per delegation is indicated in parentheses)

[แก้] สนามแข่งขัน

การเตรียมงานของเจ้าภาพจีนในโอลิมปิกเกมส์นั้น ได้เตรียมสนามแข่งขันรวมทั้งหมด 31 แห่ง เป็นการสร้างใหม่ 15 แห่ง รื้อถอนปรับปรุงใหม่ 16 แห่ง ในการแข่งขันนี้กีฬาทางน้ำจะถูกจัดที่เมืองชายหาดที่เมืองชิงเต่า และกีฬาแข่งม้าจะถูกจัดที่ฮ่องกง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 เล่มโปรด, ปีที่ 8 ฉบับที่ 86. สิงหาคม 2551.
  2. ^ วิภา อุตมฉันท์, บทความ: จีนที่กำลังเปลี่ยน: อภิมหาโอลิมปิค!, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1411 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  3. ^ 3.0 3.1 "The Olympic Games en route for Beijing", International Olympic Committee, 2007-07-13. สืบค้นวันที่ 2007-07-16 (อังกฤษ)
  4. ^ ArchitectureWeek - Design - China's Banner Stadium - 2002.0501 (อังกฤษ)
  5. ^ "Stadium designer blasts China Olympics", Aljazeera, 2007-08-12. สืบค้นวันที่ 2007-07-16 (อังกฤษ)
  6. ^ Chinese architect slams Olympic 'pretend smile'. Reuters. สืบค้นวันที่ 2007-08-16 (อังกฤษ)
  7. ^ "Rogge's Message for Beijing Olympics Emblem Unveiling", People's Daily Online, 2003-08-03. สืบค้นวันที่ 2006-12-19 (อังกฤษ)
  8. ^ "'One World One Dream' selected as the Theme Slogan for Beijing 2008 Olympic Games", BOCOG, 2005-12-25. สืบค้นวันที่ 2007-05-05 (อังกฤษ)
  9. ^ "Seeing clearly: Panasonic ushers in first HDTV Game", China Daily, 2007-07-06. สืบค้นวันที่ 2008-03-24 (อังกฤษ)
  10. ^ Report of the IOC Evaluation Commission for the Games of the XXIX Olympiad in 2008, pg.73 (อังกฤษ)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons