สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

The Duke of Windsor (1945).jpg
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร
พระบรมนามาภิไธย เอ็ดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร
พระนาม สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร
พระอิสริยยศ เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์
ดยุคแห่งยอร์ค
ดยุคแห่งคอร์นวอลล์และยอร์ค
เจ้าชายแห่งเวลส์
สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งอังกฤษ
ราชวงศ์ วินด์เซอร์
ระยะครองราชย์ 20 มกราคม พ.ศ. 247911 ธันวาคม พ.ศ. 2479
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 (เอ็ดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด; ต่อมาทรงเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งวินด์เซอร์; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) ทรงเป็นสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ดินแดนของอังกฤษในโพ้นทะเลต่างๆ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2479 จนกระทั่งการสละราชสมบัติของพระองค์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 พระองค์ทรงเป็นพระประมุของค์ที่สองในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งพระบรมราชชนกทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา เมื่อปี พ.ศ. 2460

ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งยอร์ค เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งยอร์คและคอร์นวอลล์ ดยุคแห่งคอร์นวอลล์ ดยุคแห่งโรธเซย์ และเจ้าชายแห่งเวลส์ (ในชั้นเจ้าฟ้า) ขณะทรงเป็นชายแรกรุ่น พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยการเสด็จเยือนต่างประเทศแทนพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนกและทรงข้องเกี่ยวกับหญิงสาวสูงวัยที่แต่งงานแล้วมากมาย

ช่วงเวลาหลายเดือนในรัชกาล พระองค์ทรงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในรัฐธรรมนูญ ได้ชื่อว่าวิกฤตการณ์สละราชสมบัติด้วยการขออภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายหย่าร้างชาวอเมริกัน แม้ว่าทางกฎหมายแล้วพระองค์จะอภิเษกสมรสกับนางซิมป์สันและคงเป็นกษัตริย์อยู่ได้ แต่คณะรัฐมนตรีของพระองค์ได้คัดค้านการอภิเษกสมรสโดยโต้แย้งว่าประชาชนจะไม่ยอมรับเธอเป็นพระราชินีได้เลย พระองค์ทรงทราบดีว่ารัฐบาลของสแตนเลย์ บาลด์วิน นายกรัฐมนตรีจะลาออกถ้าการอภิเษกสมรสยังคงดำเนินต่อไป อันจะทำให้ลากพระองค์ไปสู่การเลือกทั่วไปซึ่งจะเป็นการทำลายสถานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็นกลางทางการเมืองของพระองค์อย่างไม่สามารถแก้ไขได้ แทนที่จะเลิกกับนางซิมป์สัน แต่พระองค์กลับทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงเป็นพระประมุของค์เดียวของสหราชอาณาจักรที่ทรงสละราชบัลลังก์อย่างสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระประมุขที่ทรงครองราชสมบัติสั้นที่สุดพระองค์ในประวัติศาสตร์อังกฤษ และมิได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเลย

หลังจากการสละราชสมบัติ พระองค์ทรงเปลี่ยนกลับไปใช้พระอิสริยยศของพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด และทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น ดยุคแห่งวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2480 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ประจำการในกองกำลังทหารอังกฤษในประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากข้อกล่าวหาลับต่างๆ ที่ว่าพระองค์ทรงเข้าข้างฝ่ายนาซีเยอรมัน ก็ทรงถูกย้ายไปยังบาฮามาสในฐานะข้าหลวงใหญ่และผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลังจากสิ้นสุดสงคราม พระองค์ก็ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งทางราชการอื่นใดอีกและทรงใช้เวลาที่เหลือในพระชนม์ชีพด้วยความสันโดษ

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร สมัยถัดไป
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 2leftarrow.png UK Royal Coat of Arms.svg
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
(ราชวงศ์วินด์เซอร์)

(20 มกราคม ค.ศ. 193611 ธันวาคม ค.ศ. 1936)
2rightarrow.png สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
Star-of-India-gold-centre.svg
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย
(20 มกราคม ค.ศ. 193611 ธันวาคม ค.ศ. 1936)


Crystal Clear app Login Manager.png สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์