ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    
ปฏิทิน
ปฏิทินสากล ฮิจญ์เราะหฺ · เกรโกเรียน · ISO · ปีสุริยคติ
ประเภทปฏิทิน
สุริยจันทรคติ · สุริยคติ · จันทรคติ

ปฏิทินอื่นๆ อาร์เมเนีย · บาฮาอี · เบงกาลี · พุทธ · จีน · คอปติก · เอธิโอเปีย · เจอร์เมนิก · ฮีบรู · ฮินดู · อินเดีย · อิหร่าน · ไอริช · ญี่ปุ่น · ชวา · เกาหลี · มายา · เนปาล · ทมิฬ · ไทย (จันทรคติสุริยคติ) · ทิเบต · ตุรกี · เวียดนาม· โยรูบา · โซโรอัสเตอร์ · ฮิจญ์เราะหฺ
ประเภทปฏิทิน
จูเลียนต้นฉบับ · รูน

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาอิสลาม


Mosque02.svg
ประวัติศาสนาอิสลาม
พระเจ้า
อัลลอฮฺ
ศาสดา
มุฮัมมัด
การปฏิบัติ
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์
บุคคลสำคัญ
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นุหฺ
คัมภีร์และหนังสือ
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร
จุดแยกอะกีดะห์
ซุนนี · ชีอะหฺ
สังคมศาสนาอิสลาม
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล
ดูเพิ่มเติม
จิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม

ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ และ หิจญ์เราะหฺศักราช เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ นั่นคือ จะใช้ดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ดังนั้นในหนึ่งปีจันทรคติจึงมี 354 วันหากเป็นปีปกติสุรทิน และ 355 วันหากเป็นปีอธิกสุรทิน ดังนั้น ในรอบ 30 ปีจะมีปกติสุรทิน 19 ครั้ง และอธิกสุรทิน 11 ครั้ง ชนมุสลิมใช้ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจนถึงทุกวันนี้

เนื้อหา

[แก้] ความหมาย

คำว่า หิจญเราะหฺ แปลว่า การอพยพ ผู้เริ่มกำหนดใช้ศักราชหิจญ์เราะหฺเป็นคนแรกคือ อิมามอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบในสมัยการปกครองของอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ (คอลีฟะหฺคนที่ 2) ซึ่งประกาศใช้ในปีที่ 17 หลังการอพยพ โดยยึดปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอิสลาม อพยพออกจากเมืองมักกะหฺ(เมกกะ) สู่มะดีนะหฺ ในปี ค.ศ. 622 (พ.ศ. 1165) เป็นต้นศักราชฮิจญ์เราะห อักษรย่อ ฮิจญ์เราะหฺ คือ ฮ.ศ. ในภาษาอังกฤษนิยมใช้ H.E. (Hijrah Era) หรือ A.H. (Anno Hejira)

[แก้] รายละเอียดของปฏิทิน

ในแต่ละเดือนจะมี 29 วัน และ 30 วันสลับกันไป บางทีมี 30 วันซ้อนกัน 2 ครั้ง แต่จะไม่มี 29 วัน ซ้อนกัน 2 เดือนเป็นอันขาด ส่วนซุลหิจญะห์ของปีอธิกสุรทินนั้นจะกำหนดให้มี 30 วันเสมอ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ดวงจันทร์โคจรรอบจุดศูนย์กลางของมูลร่วม (Bary center) โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลักนั้น ใช้เวลา 29 วัน 12 ชม. 44 นาที 2.82 วินาที (29.) หรือ 354 วัน 8 ชม. 48 นาที 33.6 วินาทีในหนึ่งปี

  1. เดือนที่หนึ่ง 29 วัน 12 ชม. 44 นาที + เดือนที่สอง 29 วัน 12 ชม. 44 นาที = 59 วัน 1 ชม. 28 นาที หากกำหนดให้เดือนที่ 1 (มฺฮัรรอม) มี 30 วัน และเดือนที่ 2 มี (ศอฟัร) มี 29 วัน ก็ยังเหลือเศษอีก 1 ชม. 28 นาทีเศษนี้ ก็จะรวมเข้ากับเดือนที่ 3 และ 4 เรื่อยไป จนกระทั่งเมื่อครบปี ก็จะมีเศษเหลือจาก 354 วัน = 8 วัน 48 นาที ซึ่งไม่ถึงครึ่งวัน ปีแรกจึงเป็นปีธิกสรุทิน
  2. และเมื่อเอาเศษที่เหลือจากปีแรก บวกกับเศษปีที่สอง (8 ชม. 48 นาที + 8 ชม. 48 นาที) ได้เท่ากับ 17 ชม. 36 นาที ซึ่งมากกว่าครึ่งวัน ปีที่ 2 จึงกลายเป็นปีอธิกสุรทินโดยการปัดเศษนั้นขึ้นเป็น 1 วัน โดยการกำหนดให้ซุลฮิจญะหฺ มี 30 วันเศษของปีจะรวมต่อไป เมื่อถึงปีที่ 5 เศษ ของปีจะเป็น 18 ชม.ปีที่ 5 จึงเป็นปีอธิกสุรทินอีกเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนครบรอบ 30 ปี จึงเรียกว่า 1 รอบน้อย
  3. เดือนจะมีการสลับระหว่าง 30 และ 29 วัน โดยการยึดถือเศษของแต่ละเดือน ถ้าหากว่าเดือนใดมีเศษมากกว่าครึ่งวันก็จะปัดขึ้นเป็น 1 วัน ยกตัวอย่างเช่น พอสิ้น เดือนญุมาดัลอูลา ของปีที่ 2 มีเศษเหลือ 44 นาที เมื่อบวกกับเดือนต่อมา 29 วัน 12 ชม. 44 นาที จึงมีค่า = 29 วัน 13 ชม. 28 นาที จึงบัดนี้ขึ้นเป็น 30 วัน เดือนถัดจากนั้นก็เป็น 29 วันและ 30 วันสลับกันไปอีก จนกว่าจะมีเศษที่ที่ปัดขึ้นเป็น 1 วันเต็มอีก
  4. เดือนที่ 17 ถัดจากเดกือนเริ่มต้นปฏิทินจะมี 30 วัน แล้วนับต่อไปอีก 17 เดือน ถึงเดือนใด เดือนนั้นจะมี 30 วัน แล้วนับต่อไปอีก 15 เดือนถึงเดือนใด เดือนนั้นจะมี 30 วันอีกเช่นกัน ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนครบ 30 ปี (นับ 17 สองครั้งสลับด้วยนับ 5 หนึ่งครั้ง) เมื่อเดือนใดมี 30 วัน ซ้อนกัน 2 เดือน ๆ ถัดมาต้องเป็น 29 วัน
  5. 1 ปี จันทรคติมี 354 วัน 8 ชม. 48 นาที ในรอบ 30 ปี จึงมี 10631 วัน ด้วยเหตุนี้จึงถึงว่าเป็น 1 รอบ (น้อย) เพราะเศษของวันลงตัวพอดี (มีเศษเป็นวินาที ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก)
  6. เนื่องจากทุก ๆ 1 รอบน้อย เริ่มต้นด้วยชื่อวันต่าง ๆ การที่จะให้เริ่มต้นครบด้วยชื่อวัน 7 วัน ย่อมต้องใช้เวลา 7 รอบน้อย (210 ปี) ซึ่งก็จะกลายเป็น 1 รอบใหญ่ ในการเขียนปฏิทินจะกำหนดวันดังนี้
    • รอบน้อยที่ 1 เริ่มด้วยวันพฤหัส
    • รอบน้อยที่ 2 เริ่มด้วยวันอังคาร
    • รอบน้อยที่ 3 เริ่มด้วยวันอาทิตย์
    • รอบน้อยที่ 4 เริ่มด้วยวันศุกร์
    • รอบน้อยที่ 5 เริ่มด้วยวันพุธ
    • รอบน้อยที่ 6 เริ่มด้วยวันจันทร์
    • รอบน้อยที่ 7 เริ่มด้วยวันเสาร์
  7.  :เพื่อสะดวกในการจำ 1 - ทุก ๆ รอบจะเริ่มต้นด้วยวันที่ห้าหลังจากวันแรกของรอบที่แล้ว เช่น รอบน้อยที่ 3 เริ่มด้วยวันอาทิตย์ ร้อยน้อยที่ 4 ก็ต้องเป็นวันศุกร์ด้วยการนับเพิ่ม 5 วัน
  8. ทุก ๆ ปีจะเริ่มต้นด้วยวันที่สี่ของปีที่แล้ว ถ้าหากว่าปีที่แล้วเป็นปีปกติและจะเริ่มต้นด้วยวันทีห้าของปีที่แล้ว หากปีที่แล้วเป็นปีอธิกสุรทินตัวอย่างเช่น ปีที่ 7 ก็ต้องเริ่มด้วยวันอังคารด้วยการนับเพิ่ม 4 วันและเมื่อทราบว่าปีที่ 7 เป็นอธิกสุรทิน ปีที่ 8 ก็ต้องเริ่มด้วยวันอาทิตย์ ด้วยการนับเพิ่ม 5 วันเป็นต้น

[แก้] เดือนตามระบบปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ

ในหนึ่งปีฮิจญ์เราะหฺมี 12 เดือน คือ

  1. มุฮัรรอม
  2. ศอฟัร
  3. รอบีอุลเอาวัล
  4. รอบีอุษษานี
  5. ญุมาดัลอูลา
  6. ญุมาดัษษานียะหฺ
  7. รอญับ
  8. ชะอฺบาน
  9. รอมะฎอน
  10. เชาวาล
  11. ซุลกิอฺดะหฺ
  12. ซุลฮิจญะหฺ

[แก้] "เดือน"ในอัลกุรอาน

[แก้] "เดือน"ในนิติศาสตร์อิสลาม

[แก้] วันในสัปดาห์

ภาษาอาหรับ ภาษาไทย ภาษาฮินดี ภาษาเบงกาลี ภาษาฮีบรู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาอูรดู ภาษาเปอร์เซีย
1 Yawm al-Aḥad
يوم الأحد
(วันแรก)
วันอาทิตย์ Ravivaar
रविवार
রবিবার Yom Rishon
יום ראשון
Minggu Ahad Itwaar
اتوار
Yek-Shanbeh
یکشنبه
2 Yawm al-Ithnayn
يوم الاثنين
(วันที่สอง)
วันจันทร์ Somvaar
सोमवार
সোমবার Yom Sheni
יום שני
Senin Isnin Pîr
پير
Do-Shanbeh
دوشنبه
3 Yawm ath-Thulaathaaʼ
يوم الثلاثاء
(วันที่สาม)
วันอังคาร Mangalvaar
मंगलवार
মঙ্গলবার Yom Shlishi
יום שלישי
Selasa Selasa Mangl
منگل
Seh-Shanbeh
سه شنبه
4 Yawm al-Arba'aa'
يوم الأربعاء
(วันที่สี่)
วันพุธ Budhvaar
बुधवार
বুধবার Yom Revi'i
יום רבעי
Rabu Rabu Budh
بدھ
Chahar-Shanbeh
چهارشنبه
5 Yawm al-Khamīs
يوم الخميس
(วันที่ห้า)
วันพฤหัสบดี Guruvaar
गुरुवार
বৃহস্পতিবার Yom Khamishi
יום חמישי
Kamis Khamis Jumahraat
جمعرات
Panj-Shanbeh
پنجشنبه
6 Yawm al-Jumu'ah
يوم الجمعة
(gathering day)
วันศุกร์ Shukravaar
शुक्रवार
শুক্রবার Yom Shishi
יום ששי
Jumat Jumaat Jumah
جمعہ
Jom'e or Adineh
جمعه or آدينه
7 Yawm as-Sabt
يوم السبت
(วันสะบาโต)
วันเสาร์ Shanivaar
शनिवार
শনিবার Yom Shabbat
יום שבת
Sabtu Sabtu Hafta
ہفتہ
Shanbeh
شنبه

[แก้] การเปลี่ยนระหว่าง ฮ.ศ. และ ค.ศ.

หากต้องการทราบว่าวันเดือนปีใน ค.ศ. xxxx ตรงกับวันเดือนปีใดใน ฮ.ศ. ให้ทำดังนี้

[แก้] วิธีที่ 1

  1. เปลี่ยนค่า ปี เดือน และวัน ที่ต้องการนั้นให้มีจำนวนเป็นวัน โดยการนำเอาปีนั้นมาลบด้วย 1 แล้วคูณด้วย 365.25 แล้วเอาจำนวนเดือนและวันที่เหลือมาบวก
  2. เอาผลลัพธ์นั้นลบด้วยค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. และ ฮ.ศ. คือ 227015 วัน
  3. เอาผลลัพธ์หารด้วย 10631 (อันเป็นเวลา 1 รอบน้อย)
  4. เอาผลลัพธ์คูณด้วย 30 และเอาเศษที่เป็นวันนั้น ทำเป็นปีและเดือน ตามกฎของปีปกติและอธิกสุรทิน และบวกเข้ากับผลลัพธ์
  5. เอาหนึ่งบวกกับผลลัพธ์ที่เป็นปีและเอาเศษผลลัพธ์ที่เป็นนั้นนั้นทำเป็นเดือน

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 ม.ค. 1992

1992 – 1 = 1991

1991 x 365.25 = 727212.75 + 11 = 727223

727226 – 227015 = 500208

10631 = 47 รอบ เศษ 551 x 30 = 1410 + 1 + 1 ปีเศษ 197 วัน = 2523 ปี 197 วัน

1411 + 1 ปี = 1412 ปี 197 วัน

197 30 + 29 + 30 + 29 + 30 + 30 + 19 = Rajab 1412

[แก้] วิธีที่ 2

โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นหลัก

  1. วันที่ 1 มุฮัรรอม 01 ตรงกับ 16 กค. 622
  2. ปีจันทรคติ ฮ.ศ. มี 354.36666 วัน
  3. ปีสุรยคติเกรกอเรียนมี 365.2425 วัน จูเลียน = 365.25
  4. 1 ปี จันทรคติมีค่า = 0.070223 = 0.97
  5. 1 ปี สุริยคติมีค่า = 1.0306909 = 1.0307121

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มค. 1992

  1. ลบปีที่ต้องการซึ่งยังไม่บริบูรณ์นั้นด้วย 1992 – 1 = 1991
  2. ความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. และ ฮ.ศ. ด้วย 1991 – 622 = 1369 ด้วยการหาผลลัพธ์นั้นด้วย 622
  3. ระหว่าง 16 กค. ถึง 11 มค. เป็นเวลา = 179 วัน
  4. เอาผลลัพธ์จากข้อ 2 ซึ่งเป็นปีนั้นคูณด้วย 1.0306909 = 1411.0158
  5. ทศนิยมจากเศษนั้นเปลี่ยนเป็นโดยการคูณกับ 354.3666 1.0307121 = 1411.0448 = 1411 ปี 5.59 วัน
  6. เอาผลลัพธ์จากข้อ 3 และ 4 รวมกัน ปี 1412 ปี 15.87 วัน +
  7. บวกค่าความแตกต่างระหว่าง ก.ค. ถึงเดือนที่ต้องการ 179 วัน ปี 1412 วัน
  8. บวกค่าความแตกต่างระหว่าง J และ G = 13 วัน = 19 Rajab 1442
  9. เปลี่ยนผลลัพธ์จากวันเป็นเดือนและวัน

ถ้าจะหา ค.ศ. จาก ฮ.ศ.ทำได้ดังนี้

  1. เอา ฮ.ศ. ปีที่ต้องการนั้นลบด้วย 1
  2. เอาผลลัพธ์ที่ได้คูณด้วย ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปีและทศนิยมของปี
  3. เปลี่ยนทศนิยมของผลลัพธ์เป็นวันด้วยการคูณกับ 365.25
  4. เอาระยะเวลาห่างจาก 1 ม.ค. ถึง 16 ต.ค. (200 วัน) บวกกับผลลัพธ์
  5. เอาค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. และ ฮ.ศ. มาบวก
  6. เอาระยะเวลาจาก 1 มุฮัรรอม ถึงวันที่และเดือนที่ต้องการ
  7. เปลี่ยนค่าของผลลัพธ์เป็นปี – เดือน – และวันที่

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] การคำนวณเกี่ยวกับการเปลี่ยนวัน

หน่วยเวลา: ไมโครวินาที - มิลลิวินาที - วินาที - นาที - ชั่วโมง - วัน - สัปดาห์ - ปักษ์ - เดือน - ไตรมาส - ปี - ทศวรรษ - ศตวรรษ - สหัสวรรษ
วันในสัปดาห์: วันอาทิตย์ - วันจันทร์ - วันอังคาร - วันพุธ - วันพฤหัสบดี - วันศุกร์ - วันเสาร์
วันที่และเดือน:
มกราคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
กุมภาพันธ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
มีนาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
เมษายน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
พฤษภาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
มิถุนายน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
กรกฎาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
สิงหาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
กันยายน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ตุลาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
พฤศจิกายน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ธันวาคม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
วันอื่นที่เกี่ยวข้อง 0 มกราคม · 30 กุมภาพันธ์ · 31 กุมภาพันธ์ · 0 มีนาคม
ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวัน: อาทิตย์ - จันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี - ศุกร์ - เสาร์
ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวัน: อาทิตย์ - จันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี - ศุกร์ - เสาร์
ปีนักษัตร: ชวด - ฉลู - ขาล - เถาะ - มะโรง - มะเส็ง - มะเมีย - มะแม - วอก - ระกา - จอ - กุน
พุทธศักราช: 2541 - 2542 - 2543 - 2544 - 2545 - 2546 - 2547 - 2548 - 2549 - 2550 - 2551 - 2552 - 2553 - 2554 - 2555
คริสต์ศักราช: 1998 - 1999 - 2000 - 2001 - 2002 - 2003 - 2004 - 2005 - 2006 - 2007 - 2008 - 2009 - 2010 - 2011 - 2012
พุทธทศวรรษ: 2450 - 2460 - 2470 - 2480 - 2490 - 2500 - 2510 - 2520 - 2530 - 2540 - 2550 - 2560 - 2570
คริสต์ทศวรรษ: 1900 - 1910 - 1920 - 1930 - 1940 - 1950 - 1960 - 1970 - 1980 - 1990 - 2000 - 2010 - 2020
พุทธศตวรรษ: 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 - 11 - 12 - 13 - 14 - 15 - 16 - 17 - 18 - 19 - 20 - 21 - 22 - 23 - 24 - 25 - 26 - 27 - 28
คริสต์ศตวรรษ: 6 - 5 - 4 - 3 - 2 - 1 - 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 - 11 - 12 - 13 - 14 - 15 - 16 - 17 - 18 - 19 - 20 - 21 - 22 - 23
ปฏิทิน: เกรโกเรียน - จูเลียน - สุริยจันทรคติ - สุริยคติ - จันทรคติ - อาร์เมเนีย - จีน - ฮีบรู - ญี่ปุ่น - มายา - ไทย (สุริยคติ - จันทรคติ) - ฮิจญ์เราะหฺ