กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งราชอาณาจักรไทย
Science.png
กองบัญชาการ
Flag of ไทย
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ภาพรวมของหน่วยงาน
วันก่อตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2522
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 7,159,701,100บาท (พ.ศ. 2553)[1]
รัฐมนตรีว่าการ กัลยา โสภณพนิช, รัฐมนตรี
ผู้บริหาร สุจินดา โชติพานิช, ปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
MOST.go.th

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Science and Technology of Thailand) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีประวัติการก่อตั้งเริ่มแต่สมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่ง คณะอนุกรรมการ วางนโยบาย และแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน ได้เสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน

รัฐบาลชุดถัดมาของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ได้ดำเนินการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๔๐ และมีผล 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 [2]

ในภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีผลเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2535[3] และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 [4] ภายใต้รัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีตั้งอยู่ที่ ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

[แก้] ทศวรรษแรก (พ.ศ. 2522 - 2533)

[แก้] ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2533 - 2543)

ช่วงทศวรรษที่สองของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและชื่อกระทรวงเป็นครั้งแรก โดยในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการพัฒนากำลังคน ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งต่อมา ได้มีการผลักดันเป็นแผนพัฒนาสำคัญๆ หลายแผนด้วยกัน

ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม และมีการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมอีกหลายหน่วยงาน ดังนี้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ ได้แก่

  • กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดตั้งในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยรับโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ยุบไป
  • องค์การจัดการน้ำเสีย จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ตามพระราชกฤษฎีกา เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานด้านสาธารณูปการ ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการจัดการน้ำเสียและดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาค จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่นอันนำไปสู่การแก้ไขและปฏิบัติให้ได้ผลอย่างแท้จริง โดยตั้งที่จังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ. 2536 ได้ขยายไปตั้งใน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชลบุรี

หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่

  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 ที่มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระและความคล่องตัวสูงโดยไม่ผูกพันไว้กับกฏระเบียบการปฏิบัติของราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นหน่วยงานที่สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป

[แก้] ทศวรรษที่สาม (พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน)

[แก้] วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างปัญญาในสังคม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

[แก้] พันธกิจ

  • เสนอแนะนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • ริเริ่ม เร่งรัด ผลักดันและดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สร้างคนดีและเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ
  • สร้างระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างปัญญา เข้าถึงความรู้ใหม่ๆ และนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ผสมผสานกันได้
  • สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งบริการสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

[แก้] หน่วยงานในสังกัด

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น